Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากห้องยา
•
ติดตาม
3 ธ.ค. 2022 เวลา 08:03 • สุขภาพ
กระท่อมกับเบาหวาน
ขอบคุณภาพน่ารักๆจาก shutterstock
คนทั่วไปมักจะคิดว่าสมุนไพรกินได้ไม่อันตราย ไม่เหมือนยาแผนปัจจุบัน แต่แท้จริงในสมัยก่อนเราก็นำสมุนไพรมาใช้เป็นยา และยาแผนปัจจุบันส่วนหนึ่ง ก็เกิดจากการนำสมุนไพรมาสกัดเป็นตัวยา เพราะเราต้องการสารสำคัญบางอย่างในสมุนไพรนั้น มาทำเป็นยา เพราะฉะนั้น ทั้งยาแผนปัจจุบันหรือสมุนไพรมันก็เป็นเคมีอยู่ดี เพียงแต่ยาแผนปัจจุบันจะมีตัวยาสำคัญซึ่งถูกสกัดออกมาให้บริสุทธิ์ขึ้นมากกว่ายาสมุนไพร เรื่องเล่าในวันนี้จึงเกี่ยวโยงกับ....สิ่งที่คุณก็รู้ว่าคืออะไร555
มันเกิดขึ้นในวันธรรมดาวันหนึ่ง ที่ห้องยาแห่งหนึ่ง มีคนไข้ชาวพม่า ได้รับยาเบาหวาน ในใบสั่งยา ผล DTX 300 กว่า Oh my god !ฉันอุทานลั่นในใจ สูงมากๆ
ในใบสั่งยา มี note ซักประวัติ จากล่าม เขียนว่า ผู้ชายท่านนี้ รับประทานน้ำต้มใบกระท่อมมา
จึงเป็นที่มาของบทความนี้
เอ๊ะๆๆ ตาวิเศษเห็นนะ 555 ก่อนที่จะกล่าวโทษกระท่อม ให้อ่านบทความนี้ให้จบก่อนนะ
ใบกระท่อม มีตัวยาสำคัญ คือ mitragynine (มิตรากัยนีน) มีฤทธิ์แก้ปวดมื่อย บรรเทาอาการไอ อาการท้องเสีย เป็นต้น
ในตำรับยาโบราณ มีการกล่าวถึงการใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาอาการต่างๆ หนึ่งในนั้นมีการใช้เพื่อลดน้ำตาลในเลือด โดยเคี้ยววันละ 1 ใบติดต่อกัน 41 วัน แต่เคี้ยวเสร็จให้คายออก ห้ามกลืนเด็ดขาด อาจทำให้ลำไส้อุดตัน(เรียกว่า ถุงท่อม)หรือเป็นตำรับใช้ต้มเดี่ยวๆหรือรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จากข้อมูลที่อ่านมา คือ สมุนไพรอื่นที่ต้มรวมอาจเพื่อลดผลข้างเคียงจากยา เช่น อาการท้องผูก สาเหตุ จากใบกระท่อมมีแทนนินสูง หรืออาจหวังผลลดอาการข้างเคียงอื่นๆ
(บทความอ้างอิง 5)
ขอบคุณภาพจาก innnews
เนื่องจากงานวิจัยในการนำกระท่อมมารักษาโรคเบาหวานโดยตรงยังไม่แพร่หลาย เพราะเพิ่งถูกปลดล็อกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5
แต่ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยบ้างเหมือนกันนะคะ
จึงขออนุญาตอ้างอิงบทความของอ.จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล เรื่อง พืชกระท่อมกับหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือด ตีพิมพ์ ในปี 2555 ( บทความอ้างอิง 1)
อ.จุไรทิพย์ได้อ้างอืงการทดลองซึ่งจำลองสภาวะเซลล์กล้ามเนื้อในหลอดทดลอง พบว่า สารสำคัญคือมิตรากัยนีน สามารถนำน้ำตาลกลูโคสกลับเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อได้ จึงมีผลทำให้น้ำตาลลดลง ทำให้ เมื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือดคนไข้ หลังจากเคี้ยวใบกระท่อมแล้ว ค่าน้ำตาลในเลือดลดลง แต่กลไกนี้ยังไม่พบความเกี่ยวข้องกับการทำงานของอินซูลินโดยตรง เพราะฉะนั้นอาจจะยังไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ
และในบทความของอ.จุไรทิพย์ ได้อ้างถึงการทดลองในมาเลเซีย เป็นการทดลองในหนู พบว่า ใบกระท่อมมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในตับ จึงอาจมีผลต่อมนุษย์เช่นกัน สำหรับยาเบาหวานส่วนใหญ่ มีผลต่อเอนไซม์ในตับ อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงผ่านกลไกของเอนไซม์เหล่านี้ได้ แต่ก็ยังไม่ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน
จากรายงานการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่จะขอกล่าวถึง คือโครงการวิจัยเรื่องการศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดใบกระท่อมทดลองในหนูขาว
( บทความอ้างอิง 2)
ขอสรุปแบบย่อๆว่า จากการทดลอง ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและพิษของสารสกัดใบกระท่อมต่อหนูขาว ก็ยังไม่ชัดเจนด้วยเช่นกัน ขอย้ำว่าเป็นการทดลองในหนูขาวนะคะ
สำหรับอาการข้างเคียง ที่พบ ในกรณีใช้ในขนาดสูงแบบเฉียบพลัน ถ้าใช้ในชนาดสูงหรือไปผสมกับยาแผนปัจจุบันบางชนิด ยาชูกำลัง น้ำอัดลม ยาแก้ไอ -( ในกลุ่มวัยรุ่นเรียก 4*100) เพื่อต้องการให้เคลิ้ม คึกคะนอง มีความสุข ทำให้กิด อาการ ใจส ั่น มึนงง เวียน ศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระสับกระส่ายความดันสูง ( บทความอ้างอิง 3 และ 4)
ถ้าใช้ ต่อกันนานๆอาจทำให้มีอาการผิวแห้ง ผิวคล้ำ ริมฝีปากคล้ำ ซูบผอม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องผูกได้หรือบางรายอาจจะผิดปกติทางจิต ถ้าเสพติดมานาน ถ้าหยุดกะทันหัน อาจเกิดอาการถอนยาได้เช่นกัน
เนื่องจากใบกระท่อมเคยถูกจัดให้เป็นยาเสพติดดังที่กล่าวมาแล้ว จึงยังมีงานวิจัยค่อนข้างน้อยในเรื่องการนำกระท่อมมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในแง่ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และความปลอดภัยในระยะยาว จึงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมที่มากกว่านี้
และในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังไม่มีการรับรองสรรพคุณนี้ แต่ยังมีการใช้ในตำรับพื้นบ้านอยู่มานานแล้ว
ก่อนที่จะจบบทความ คุณผู้อ่านน่าจะพอจะคาดเดาได้ว่า บทสรุปของผู้ป่วยท่านนี้ ว่าจะจบอย่างไร ตอนเดินออกจากโรงพยาบาล คนไข้ได้รับยาถุงใหญ่กลับบ้านไป
แต่จากข้อจำกัดด้านภาษา ทำให้ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ป่วยท่านนี้ว่า ทำไมน้ำตาลในเลือดสูงขนาดนั้น
แต่อย่างน้อย ได้บทเรียนจากเรื่องนี้ว่า การใช้ยา ไม่ว่าจะเป็น สมุนไพรหรือยาแผนปัจจุบัน จะหวังผลดีเลิศ โดยไม่ควบคุมอาหาร หรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง อาจทำให้เกิดผลเสีย ดังตัวอย่างผู้ป่วยท่านนี้
จริงๆแล้ว ใบกระท่อมอาจจะมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด แต่ทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษในตัวของมันเอง ดาบมีสองคม ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาไปใช้ในทางที่ผิดหรือถูก
ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรหรือยาแผนปัจจุบันมีทั้งคุณและโทษทั้งนั้น จงใช้อย่างเข้าใจและระมัดระวัง เดินในทางสายกลางจะดีที่สุดนะคะ
ขอบคุณที่อ่านบทความคะ ฝากติดตามและเป็นกำลังใจกันด้วยนะคะ ❤❤
บทความอ้างอืง
1.บทความ เรื่องพืชกระท่อม กับ หน้าที่ลดน้ําตาลในเลือด โดย อ.จุไรทิพย์ หวังสินทวี
https://drive.google.com/uc?export=download&id=1TBuzGKCEJm3tyUXlHOwXWv2A71G60I7v
2.โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดใบกระท่อม ภาควิชาเภสัชวิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
https://drive.google.com/uc?export=download&id=1TFHBnz983-D_k3CMGlFtR3ZjvBlsvO6G
3.บทความพิษวิทยาชองพืชกระท่อม
จากวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล
https://drive.google.com/uc?export=download&id=1TGiBvZ-hcMMJ-I4eDyBxte5W_fKl1ILF
4.
https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6063
5.
https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2181425
health
สุขภาพ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย