Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
blue bangkok
•
ติดตาม
9 ธ.ค. 2022 เวลา 01:20 • ไลฟ์สไตล์
ขั้นตอนการถ่ายภาพ
ของที่ระลึกตึกจิ๋ว ฉบับ Blue Bangkok
ในซีรีย์ อาคารโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ปกติเรามักมีปัญหากับการถ่ายภาพ เรื่องการถ่ายภาพคน โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้ชายที่ต้องถ่ายภาพแฟน ความงานงอกจะเกิดหากเธอไม่ปลื้มกับวิธีหรือจริงๆสนใจแต่รูปผลลัพธ์ที่ออกมา คุณจะโดนบ่นจนอาจหูชา หรือโดนทำหน้างอใส่
แต่การถ่ายภาพสิ่งของ เราสนใจ ซึ่งมีวิธีคล้ายกันกับการถ่ายภาพบุคคล ครั้งนี้จึงขอเรียบเรียง การจัดองค์ประกอบภาพ และ ทัศนียภาพ แบบเบื้องต้น ที่เรา Blue Bangkok นิยมใช้ในการถ่ายของที่ระลึกตึกจิ๋ว
ก่อนจะเริ่ม เรานึกถึงเรื่องสมัยเรียนออกแบบช่วงปีแรกๆ องค์ประกอบศิลปะและสุนทรียศาสตร์ เป็นพื้นฐานที่คนเรียนศิลปะหรือออกแบบต้องพบเจอ
พอล เซซาน(ลองค้นหาผลงานดู จะเห็นรูปแบบฝีแปรงรุนแรง ภาพเหลี่ยมตัดเส้น บางคนจัดให้เขาอยู่ใน expression movement กลุ่มเดียวกับ ฟานก๊อธหรือแวนโก๊ะ) ชื่อนี้อ.ที่บรรยายในคาบหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ หยิบยกมาเล่า ว่าเขากล่าวถึงสองสิ่ง ถ้าจะมุ่งไปในแนว จิตกร นักเขียนภาพ นั่นคือ Nude และ Still-Life
Nude ที่เป็นการแสดงความงามของสรีระ อันเปล่าเปลือยของมนุษย์ ไม่ใช่ภาพลามกอนาจารดูแล้วเกิดอารมณ์กำหนัดทางเพศ อุดมคติของกรีก ความเปล่าเปลือยของร่างกายโดยเฉพาะส่วนกล้ามเนื้อที่มีความสมบูรณ์แบบ สมบูรณ์แบบในโลกอุดมคติที่ตาเนื้อไม่มีทางเห็น มันลอยอยู่ในโลกอีกมิติ เราเพียงจำลองมามนรูปลักษณ์ต่างๆ รูปปั้น จริงๆส่วนมากสลัก จึงไม่เน้นความสมจริงของคนต้นแบบ แต่ใช้สัดส่วน เพิ่มเติม คล้ายแนว hyperrealis แต่ไม่เกินเลย
Still-Life วัตถุนิ่ง สิ่งของ ในอดุมคติของกรีกอีกเช่นเคย ที่มีโลกมิติลอยเคว้งคว้าง ตาเนื้อไม่อาจมองผ่านเห็นได้ วัตถุต้นแบบต่างๆนั้นมีอยู่จริง เราได้แต่เป็นสิ่งจำแลง (เพลโต) เรขาคณิต ถือเป็นรูปทรงในอุดมคติที่ดี สิ่งสากลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น เหลี่ยมมุมมีความหมดจรด เหนือกว่าความไม่สมบูรณ์ของกายหยาบธรรมชาติ
(ศิษย์เพลงโต คือ อริสโตเติล มีคนกว่าว่ามีความคิดต่างจากอาจารย์ เพราะเชื่อในตาเนื้อเห็นเป็นจริงมากกว่าสิ่งในอุดมคติ จนมีการถกเถียง เหนือทฤษฎีในภาพเขียน School of Athens ที่เพลโตชี้ขึ้นฟ้า อริสโตเติล ชี้ลงดิน เพราะทั้งสองถือตำราคนละเล่ม)
กฎ 9 ช่อง
จากการแบ่งพื้นที่ ด้วยเส้นตั้ง 2 เส้นนอน 2 จะได้ช่องทั้งหมด 9 ช่อง 4 จุดตัด
ภาพหรือกรอบที่เกิด จะกำหนดพื้นที่ การจัดวางวัตถุภายในนั้น เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ หรือเป็นการแบ่งส่วนการเล่าเนื้อหาภายในภาพ นอกจากนี้อาจแบ่งภาพเป็น 4 ส่วนด้วยเส้นตั้งและนอนอย่างละเส้น มีจุดกึ่งกลางภาพเป็นเป้าสายตา
องค์ประกอบของการจัดวาง มีคำสำคัญที่ควรใส่ใจ
1.จุดเด่น 2.จุดรอง ทั้งสองคำนี้ จะทำให้เกิดความน่าสนใจ นำหนือดึงดูดสายตา โดยแสดงรายละเอียดเป็น การให้น้ำหนักกลุ่มก้อน สลับไปมา ระหว่างมากกับน้อย การรวมกลุ่มแบบเป็นก้อนเดียวหรือรวมตัวแบบกระจาย การใช้สี เส้น จุด ระนาบ ที่ต่างกันทำให้เกิดจุดเด่น และจุดรองในภาพแทบทั้งสิ้น
จุดเด่นควรจะมีเสมอ แม้ไม่มีจุดรอง เพราะจะทำให้ภาพน่าสนใจ เคยมีการทดลอง การกวาดสายตาของผู้คน ผลปรากฏว่า คนมักจะกวาดสายตามอง ไปที่ช่อง 1,3,7,9 ส่วนกึ่งกลางของภาพถ้าไม่มีอะไรรบกวนก็ชวนให้มองเช่นกัน
การจัดองค์ประกอบให้น่าสนใจไม่มีกฎตายตัว เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นไปภายในองค์ประกอบนุันด้วย มีดังนี้ จุด เส้น ระนาบ รูปร่าง รูปทรง สี(ทฤษฎีสีมีเนื้อหาเยอะมาก) พื้นผิวสัมผัส นอกจากนึ้ยังมีลักษณะที่เกี่ยวข้องที่ใช้เรียก คือ ความกลมกลืน ความขัดแย้ง การจัดกึ่งกลาง การจัดแบบแนวแกนกลางเขน การจัดแบบหนักซ้ายหรือขวา การจัดแบบขนานสายตา การเรียงแถว
ทัศนียภาพ
มีการใช้เส้นสมมุติ แนวนอนขนานสายตา เรียกหลายชื่อ เช่น เส้นขอบฟ้า( HL : Herizontal Line) เส้นพื้น (Ground Line) เส้นนี้ให้นึกถึง เส้นตัดระหว่างน้ำทะเลกับท้องฟ้า เราจะพบพระอาทิตย์ขึ้นและตกตรงเส้นนี้เสมอ แต่เส้นเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง
เส้นตั้ง Verticle Line เป็นแกนดิ่งที่ทำให้โครงสร้างตั้งฉากกับเส้นพื้น แสดงถึงความแข็งแรง
เรื่องทัศนียภาพเหล่านี้ กรีกโบราณมีการค้นพบและได้รับการปรับปรุงในช่วงฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ หรือยุคเรเนซองส์ เคยดูสารคดีวิการพาเธนอนส์ ที่สร้างในยุคกรีกโบราณ ใช้เนื่องทัศนียภาพสูงตั้งแต่เส้นขั้นบันไดวิหารหลอกสายตาให้ตรงกลางขั้นบันไดมีความโก่งโป่งพองออก ส่วนปลายขั้นบันไดสองข้างเรียวเล็กกว่าตรงกลาง เพื่อให้วิหารดูสง่า ยามตั้งอยู่บนเนินเขา แหงนมองขึ้นไปจะได้สัดส่วนพอดี
ตรงนี้ช่างไทยโบราณใช้ในงานศิลปะเช่นกัน ดัง การปั้นพระสมัยสุโขทัย ที่ใหญ่โต จึงต้องมีความลึก นาสิกหรือจมูก พระเนตรหรือตาปูดโปนมากกว่าปกติ หรือปูนปั้นหน้าบันของโบสถ์และวิหารหรือตามยอดหลังคาที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มองเงยขึ้นไปสบสายตาจะได้สัดส่วนพอดี เพราะหลักการทัศนียภาพได้ทำงาน
ประเภทของทัศนียภาพ
โดยทั่วไปจะเกิดจากเส้นนอน ขนานสายตาเมื่อคนเรามองไปข้างหน้า ส่วนที่สมมุติขึ้นมาคือจุดตั้งต้น เรียก VP(Vanishing Point) เป็นจุดใช้ลากเส้นสมมุติอื่นๆ ให้เกิดจุดตัด แล้วจึงลากเส้นตั้งดิ่งลงมาแล้วก่อรูป เกิดมุมมอง แบ่งเป็น
1 จุด ทำให้ภาพมีแนวระนาบกึ่งกลาง หรือออกไปทางซ้าย ขวาแบบเรียงแถว คล้ายเรายืนอยู่กลางถนนล้อมด้วยอาคารสองฝากไล่สายตาจากใหญ่สุดไปเล็กสุดเมื่อมองถัดจากตัวเราออกไป หรือเอียงไปซ้าย ขวา เมื่อไล่สายตาออกห่างจากตัว
2 จุด VP ทั้งสองจะอยู่แนวคล้ายใกล้เส้น HL เห็นทัศนียภาพที่เราอาจเห็นและพบได้แบบคนปกติมอง เป็นการก่อรูปวัตถุมีเส้นตั้งเส้นนอนที่อยู่ในมุมคุ้นเคย เช่น มองตึกแล้วพบว่าเห็นด้านหน้ากับด้านข้างของอาคาร อาจเรียกรูปแบบนี้ว่า มนุษย์มอง(Human eye view)
3 จุด VP เพิ่มจุดด้านบนหรือด้านล่างจาก 2 จุด โดยหาก VP ที่ 3 อยู่ด้านใต้ของกรอบภาพ เรียก มุมมองตามดหรือหนอน ที่ใช้แหงนมองวัตถุโลกเบื้องบน(Ant/Werm eye view) หากจุด VP ที่ 3 อยู่ด้านบนของกรอบภาพ เรียก มุมมองตานก ที่ใช้มองกดมายังวัตถุโลกเบื้องล่าง(Bird/Eagle eye view)
นอกจากนี้ยังมีมุมมองแปลกตาจากทัศนียภาพ เช่น มุมมองตาปลา (Fishes eye) ทึ่มีเลนส์สำหรับใช้ถ่ายภาพของกล้อง
นอกจากนี้ยังมีเนื่องของแสง เงา ทิศทางของแสงเงาตกกระทบ จุดกำเนิดแสงสามทิศทาง ระยะหน้ากลางหลัง การผลักมิติภาพใกล้ไกล ความชัดตื้นชัดลึก การอ่านค่าแสงในการถ่ายภาพ ผิวสัมผัสและการเปรียบเทียบ
จากข้อมูลองค์ประกอบและทัศนียภาพ
กับงานถ่ายภาพวัตถุ เราจึงผสมผสานและจัดการนำเสนอภาพถ่ายอาคารกับของที่ระลึกโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตามแนวคิดแบ่งออกเป็นชุดภาพ
ชุดภาพตึกจิ๋วตึกจริง
ใช้วัตถุในมือกับใช้อาคารเป็นพื้นหลัง จะพบปัญหาคือการตั้งวัตถุในตำแหน่งให้ตรงและอยู่ในจัดส่วนขององค์ประกอบภาพ ควรอยู่กึ่งกลาง การจัดวางท่าทางของมือ สัดส่วนพื้นที่ของระยะ จุดเด่นที่อยู่ระยะหน้าต้องชัด ตั้งตรง ส่วนตุดรองเป็นอาคารพื้นหลังจองภาพควรเบลอเพื่อปล่อยระยะ ลดการเปรียบเทียบความสมจริง องศาและมุมอาจเป็นมุมเงยเล็กน้อยเพื่อความสง่าของอาคารและวัตถุที่ถือในมือ
ใช้สีแดงอมส้มให้มีสัดส่วนมากกว่าสีฟ้าของพื้นหลัง เพื่อตัดน้ำหนักภายในภาพ
ใช้ทัศนียภาพองค์ประกอบแบบกึ่งกลาง เพื่อดึงจุดเด่น ดึงบรรยากาศให้วัถุสองข้างของภาพทั้งแนวต้นไม้และอาคารลู่เขาสู่เส้นไปรวมจุดนำสายตาคือรูปประติมากรรมแม่พระตรงกลางภาพ ที่มีรูปแบบและสีสัน สื่อถึงความเคารพและศักดิ์สิทธิ์ ใช้มุมเงยเล็กน้อยเพื่อเพิ่มน้ำหนักของสายตา ระยะหน้าชัด ระยะหลังเบลอ
จัดภาพให้องค์ประกอบอยู่กึ่งกลาง เพราะพื้นหลังเป็นกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ ให้พื้นที่สีเขียวตัดกับพื้นสีฟ้าด้านหลัง ระหน้าจึงคมชัดสีสันโดดเด่น ผลักระยะไกลไว้ด้านหลังให้ดูโปร่งโล่งไม่อึดอัด
ใช้ทัศนียภาพคล้ายสองจุดดึงน้ำหนักวัตถุขนาดใหญ่ไปทางซ้ายแล้วยาวไปทางขวาสุดขอบภาพ บางครั้งไม่สามารถถ่ายอาคารขนาดใหญ่ได้หมดโดยให้เห็นระยะหน้าเป็นวัตถุขนาดเล็กได้ เพราะจะทให้ภาพดูเหลือพื้นที่ และวัตถุขนาดเล็กด้านหน้าไม่โดดเด่น สีสันพื้นเขียวตัดกับอาคารและพื้นฟ้า
ชุดเงาสะท้อน ใช้ประโยชน์ของวัตถุมันเป็นพื้นฐาน คล้ายเงาสะท้อนอาคารบนผืนน้ำ หากมีแหล่งน้ำหรือผิวที่สะท้อนมากยิ่งขึ้น จะทำให้อารมณ์ภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น เป็นเทคนิคการถ่ายภาภอาคารขนาดใหญ่ที่ใช้ลดทอนความกระด้างและเล่นกับจังหวะของน้ำหนักความบิดเบี้ยวจากเงาสะท้อนที่ผิววัตถุมันวาวหรือบนของเหลวเช่นน้ำขัง รวมถึงมิติหักเหของแสงตกกระทบ
ชุดเงาสะท้อนกับวัตถุ และเทียบขนาด
ใช้การตั้งวัตถุบนพื้นฐานวัาดุมันวาว ตัดกับผิววัตถุด้าน แสดงรายละเอียดเล่าเรื่องด้านบน มีการเทียบขนาดสิ่งของ ให้เห็นถึงขนาด วัสดุ ความใหญ่เล็ก
ใช้แสงลอดผ่านวัตถุกระทบ เกิดเนื้อหามิติแสง
ปรับน้ำหนักภาพมืด เน้นมิติแสงลอดตกกระทบ
ชุดวัตถุบนสนามหญ้า ผลักระยะวัตถุเปรียบเทียบ ให้รายละเอียดชัดทั้งระยะหน้าและหลัง เมื่อมีพื้นที่สีเขียวของสนามหญ้าจะช่วนเพิ่มมิติที่ว่าง(Space) ของภาพไม่ให้แออัด การมีสนามหญ้าสีเขียวด้านหน้าอาคารของภาพถ่ายทำให้อาคารดูเด่นด้วยสีและพื้นที่ เกิดความสง่า หย่อนสายตาไม่ให้จับจ้องแต่โครงสร้างขนาดใหญ่และแข็ง รวมถึงเป็นการบันทึกเวลาผ่านท้องฟ้าและเมฆ
ชุดภาพวัตถุนิ่งและจุดฉาก ใช้องค์ประกอบการกระจายวัตถุ เน้นเบื้องล่าง เพิ่มการเปรียบเทียบขนาด ดึงน้ำหนักด้านขวาของภาพ ใช้พื้นหลังตัดกับระยะกลางที่เป็นภาพร่างดินสอบนกระดาษสีขาวนวล ระยะหน้าคือวัตถุหลากสี
ขับเน้นเนื้อหาด้วยการจัดวางและถ่ายเจาะวัตถุ ตัดพื้นหลังและส่งรประกอบไม่ให้เห็นทั้งหมด เป็นการขัดแย้งระหว่างพื้นหลัง และระยะกลางที่เป็นกระดาษภาพร่างสีนวล
ชุดภาพวัตถุนิ่งกับการจัดฉาก เทียบระหว่างของที่ระลึกกับภาพถ่ายอาคารจริง บนพื้นหลังเข้มผิวสัมผัสไม้เนื้อหยาบ
ใช้แสงจากดวงอาทิตย์ยามบ่ายที่มีองศาเฉียง กับน้ำหนักเงามืด และผิวพื้นหลังเนื้อไม้สีเข้มเห็นเสี้ยนไม้หยาบ ดึงอารมณ์ภาพให้เกิดความรู้สึก จัดองค์ประกอบภาพเปรียบเทียบวัตถุกับภาพถ่ายที่ควบคุมน้ำหนักขาวดำ ขับเน้นสีสัน
วางองค์ประกอบหนักด้านขวามือของภาพ
ดึงน้ำหนักองค์ประกอบให้ไปทางด้านซ้ายของภาพถ่วงด้านขวา
มิติเงาพาดผ่านเพื่อเชื่อมวัตถุกับภาพถ่าย
ดึงน้ำหนักภาพและเงา ให้เกิดมิติในการจัดวางวัตถุที่แบนราบไปกับพื้นหลัง เพื่อให้วัตถุดูไม่แบน
ธุรกิจ
ประวัติศาสตร์
ท่องเที่ยว
บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ของที่ระลึกอาคารโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย