Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TTW Public Company Limited
•
ติดตาม
9 ธ.ค. 2022 เวลา 03:37 • หุ้น & เศรษฐกิจ
TTW เป็น 1 ใน 18 หุ้น ถูกนำไปใช้ในการคำนวณดัชนี FTSE SET Shariah Index
Image Credit: Pixabay
FTSE คือใคร?
"FTSE Group" จัดตั้งขึ้นในปี 1995 ในรูปแบบ Joint Venture ระหว่างหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอังกฤษอย่าง Financial Times และ London Stock Exchange โดย FTSE Group นั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำระดับโลกในด้านการบริหารดัชนี
ปัจจุบัน FTSE Group ให้บริการใน 77 ประเทศทั่วโลก ด้วยการสร้างและบริหารดัชนีมากกว่า 120,000 ดัชนี (Real-time กว่า 600 ดัชนี) โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในปักกิ่ง ลอนดอน แฟรงค์เฟิร์ต ฮ่องกง มาดริด ปารีส นิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก บอสตัน เซียงไฮ้ และโตเกียว
Image Credit: https://www.ftserussell.com/about-us/our-story
สำหรับประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับทาง FTSE Group เช่นกัน โดยได้ร่วมกันจัดตั้งดัชนีมาตั้งแต่ 2 เมษายน 2551 เพื่อยกระดับของตลาดทุนไทยสู่มาตรฐานสากล
และสอดคล้องไปกับความต้องการของนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ รวมถึงรองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินให้แก่ผู้ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นกองทุนอีทีเอฟ (ETF) ตราสารทางการเงินที่อ้างอิงดัชนี (Index-linked Product) เป็นต้น
และ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และฟุตซี่ รัสเซล (FTSE Russell) ได้ประกาศผลการทบทวนรายชื่อหลักทรัพย์ชุดใหม่ที่จะใช้ในการคำนวณ FTSE SET Index Series ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 2565 เป็นต้นไป โดยสรุปได้ดังนี้
# ดัชนี FTSE SET Large Cap Index มี 1 หลักทรัพย์ใหม่ที่เข้าร่วมคำนวณ
# ดัชนี FTSE SET Mid Cap Index มี 3 หลักทรัพย์ใหม่ที่เข้าร่วมคำนวณ
# ดัชนี FTSE SET Shariah Index มี 18 หลักทรัพย์ใหม่ที่เข้าร่วมคำนวณ
(ดูรายชื่อเข้าใหม่-นำออกทั้งหมด –->
https://bit.ly/3HoZOXD
)
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ซึ่งหากมาดูในส่วนของ "ดัชนี FTSE SET Shariah Index" หรือบางทีก็เรียกว่า “หุ้นกลุ่มหะลาล” นั้น TTW ได้เป็น 1 ใน 18 หลักทรัพย์ใหม่ที่ถูกนำไปใช้ในการคำนวณดัชนีนี้ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่ประสงค์จะลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม
โดยคัดเลือกหลักทรัพย์จากดัชนี FTSE SET All-Share และผ่านการคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม ด้วยเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
1. ธนาคาร สถาบันการเงินหรือประกันภัยที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจตามหลักศาสนาอิสลาม
2. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์
3. ธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสุกร
4. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบันเทิง ประกอบด้วย คาสิโน การพนัน โรงภาพยนตร์ ดนตรี สื่อลามก และโรงแรม
5. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ
6. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจำหน่ายอาวุธ
Image Credit: Pixabay
นอกจากเกณฑ์ด้านการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังมี "เกณฑ์ด้านโครงสร้างทางการเงิน" ที่จะคัดเลือกตามเกณฑ์อัตราส่วนทางการเงิน ดังนี้
1. ส่วนของหนี้ต้องน้อยกว่า 33% ของสินทรัพย์รวม
2. ส่วนของเงินสดและดอกเบี้ย ต้องน้อยกว่า 33% ของสินทรัพย์รวม
3. สัดส่วนของบัญชีลูกหนี้และเงินสด ต้องน้อยกว่า 50% ของสินทรัพย์รวม
4. ดอกเบี้ยรวม และรายได้อื่นๆที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามไม่ควรเกินกว่า 5% ของรายได้รวม
ซึ่งปัจจุบันมีกองทุนรวม 4 กองทุน ที่อ้างอิงตามดัชนี FTSE SET Shariah Index ได้แก่
## กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อิสลามิก ฟันด์ (MIF) ##
-->
https://bit.ly/3FdOJpt
## กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีอิสลามิกหุ้นระยะยาว (MIF-LTF) ##
-->
https://bit.ly/3uEryjj
## กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์เพื่อการเลี้ยงชีพ (KSRMF) ##
-->
https://bit.ly/3PatRUF
## กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์หุ้นระยะยาว (KSLTF) ##
-->
https://bit.ly/3W1e1xH
Image Credit: Pixabay
โดยนอกจากจะเป็น Benchmark ในการลงทุนตามเกณฑ์ต่างๆ แล้ว ยังถือเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนที่เข้ามาอยู่ในดัชนีต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นที่รู้จักของผู้ลงทุนในระดับสากลมากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และกรณีหากต้องการจะระดมทุนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม:
*ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund เป็นกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ มีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีหรือราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ETF ได้เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
## ติดตาม "ทีทีดับบลิว" ได้แล้ววันนี้ทาง ##
Website:
www.ttwplc.com
Facebook: ttwplc
Instagram: ttwplc
Youtube: TTW Plc Channel
Linkedin: TTW Public Company Limited
Blockdit: TTW Public Company Limited
ลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์
ttw
1 บันทึก
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เดี๋ยวรู้เรื่อง...การลงทุน!
1
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย