Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยกับป้าพา
•
ติดตาม
12 ธ.ค. 2022 เวลา 03:40 • ปรัชญา
เคยมีความทุกข์เพราะความผิดพลาดหรือผิดหวัง❔
มาฟังวิธีถอนพิษร้ายจากความทุกข์นั้นกันค่ะ
ภาพวาดดอกบัว ศิลปิน พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก สุดยอดศิลปความงามจรรโลงจิตใจ (ขอบคุณภาพ-อ้างอิง)
ความผิดพลาดหรือผิดหวังรวมถึงการพลัดพรากและความสูญเสีย เป็นสิ่งก่อให้เกิดทุกข์
ตั้งใจเก็บกดพยายามที่จะลืมกลับยิ่งวนเวียนไปใกล้”อดีต”จนเกิดทุกข์ซ้ำ ๆ
ท่าทีและวิธีคิด
เก็บกดอยากลืม
โกรธเกลียดอยากแก้แค้น
ฟูมฟายเศร้าโศก
ประชดชีวิต ด้วยการคิดสั้น
..หยุดก่อน
ไม่ว่าจะคิดวนเวียน
โวยวายหรือฟาดหัวฟาดหางไปทางไหน มีแต่จะยิ่งทุกข์
ลองเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองต่อความทุกข์หรือความเจ็บปวดนั้นในอดีต
โดย
- รับรู้ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว
- ยอมรับผลของมันอย่าง
ทรนงและมีสติ ค่อย ๆ แก้ไขไปทีละขั้นตอน
- ใช้ปัญญาไตร่ตรองถึงข้อดีข้อเสียให้รอบด้าน และ
- เก็บไว้เป็นบทเรียนต่อไป เราจะไม่ทำซ้ำอีก
📍อย่ามัวแต่ฟูมฟายโศกเศร้าเสียใจหรือทำร้ายตัวเองเพื่อที่จะประชดชีวิตหรือใคร มันไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า เพราะไม่มีใครรักเราเท่าตัวเราเอง
เมื่อตั้งสติได้
รับรู้ความผิดพลาดของตัวเองได้ ให้อภัย มี ความรักความเมตตาต่อตัวเอง
ถ้าเราทำได้อย่างจริงแท้
เมื่อนั้นเราจะสร่างทุกข์
รู้สึกกลาง ๆ กับความทุกข์
นั้น ๆ
ใครๆ ก็เคยเจอแบบเรา
ความทุกข์ ความผิดหวังไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป
มันยังสามารถเป็นต้นทุนเพิ่มประสบการณ์ชีวิต ทำให้เราเข้มแข็งและมีปัญญามากขึ้น
2
นี่คือหัวใจสู่ชีวิตที่สงบเย็นและเป็นสุข
งานวิจัย
เคยมีงานวิจัยที่ออสเตรเลียทดลองกับนักศึกษาจำนวน 100 คน ให้แต่ละคนคิดถึงเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบแต่มักปรากฏในจิตใจ
จากนั้นให้นักศึกษา50คน หรือครึ่งหนึ่งกดข่มความคิดนั้นก่อนนอน 5 นาที เมื่อตื่นขึ้นมาให้ทุกคนรีบเขียนบันทึกความฝันไว้ทันที
ผลการทดลองพบว่านักศึกษากลุ่ม ที่กดข่มนี้ฝันถึงความคิดดังกล่าวมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กดข่มมัน
การทดลองนี้จึงยืนยันว่า
“ยิ่งอยากกำจัดความคิดหรือความทรงจำอย่างใดอย่างหนึ่ง มันยิ่งตามมารบกวนทั้งในยามตื่นและหลับ”
2
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
การค้นพบทางด้านประสาทวิทยาอาจให้คำตอบในเรื่องนี้
มีคำอธิบายว่า เมื่อเราประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด โกรธแค้น หรือเศร้าโศก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งไปกระตุ้นให้อามิกดาลา ซึ่งคือสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์
อะมิกดาลาจะสั่งการให้มีการหลั่ง ฮอร์โมนความ เครียดมากขึ้น จึงมีการบันทึกความจำเกี่ยวกับความทุกข์มากขึ้น
ฮอร์โมนดังกล่าวหลั่งออกมามากเท่าไร ความจำในเรื่องนั้น ๆ ก็จะยิ่งฝังลึกโดยมีอารมณ์ความรู้สึกเข้าไปย้ำ
อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากเหตุการณ์เหล่านั้นอีก
จึงเป็นการตอกย้ำความทรงจำให้ประทับแน่นมากยิ่งขึ้น
■
ยิ่งเจ็บปวดมากเท่าไร
■
ก็ยิ่งลืมเลือนได้ยาก
แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนี้เท่านั้น ตอนที่หวนระลึกถึงเหตุการณ์นั้นอีก แล้วเราเกิดความรู้สึกเจ็บปวดตามมา แถมยังพยายามจะไปกำจัดมัน ความเครียดที่เกิดจากกระบวนการดังกล่าว ยิ่งทำให้ความทรงจำนั้นฝังลึกมากขึ้น เป็นลูปของความเลวร้ายวนต่อไปไม่สิ้นสุด
●
เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในอดีตได้
●
แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงท่าทีหรือความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้
★
สิ่งใดเกิดมาแล้วย่อมดีหมด
1
●
แทนที่จะปฏิเสธมันหรือผลักไสกดข่มความทรงจำ
●
ลองหันมายอมรับมันหรือวางใจเป็นกลางกับมัน
2
ใหม่ ๆอาจทำได้ยาก แต่คนเราสามารถฝึกใจได้ด้วยการนั่งนิ่ง ๆ ทำใจให้สงบ แล้วค่อย ๆ นึกถึงเหตุการณ์นั้น เมื่อความรู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้น ก็ให้รับรู้เฉย ๆ โดยไม่พยายามกดข่มหรือปฏิเสธ
เปิดใจต้อนรับเสมือนเป็นเพื่อนสนิทของเรา
หากอยากร้องไห้ ก็ขอให้ร้องไห้ออกมา หากมีเพื่อนหรือประจักษ์พยานรับรู้ด้วยก็จะยิ่งดี
การที่เรากล้าเปิดเผยเรื่องราวเหล่านี้ให้เขาฟัง แสดงว่า เราทำใจยอมรับมันได้มากขึ้นแล้ว
ด้วยความปรารถนาดี
ป้าพา
ขอขอบคุณ
https://th.m.wikipedia.org/wiki/พระไพศาล_วิสาโล
วาบมาจากการอ่านข้อคิดและคำสอนของ
พระไพศาล วิสาโล
“ไม่ผลักใส ไม่ไขว่คว้า”
และงานเขียนอื่นๆ
ปล. ขอบคุณภาพปกจาก
https://mgronline.com/celebonline/detail/9520000149645
ไลฟ์สไตล์
ความคิดเห็น
พัฒนาตัวเอง
1 บันทึก
13
13
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จรรโลงใจ
1
13
13
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย