18 ธ.ค. 2022 เวลา 07:50 • สุขภาพ
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เช็คอาหาร ป้องกันไว้อย่ารอให้ไปถึงคำว่า “สายไปแล้ว”
ภาวะหัวใจวาย ในทางการแพทย์จะเรียกว่า หัวใจขาดเลือด หรือ Heart Attack สาเหตุเกิดจากการที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน หัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้พอ
ภาพโดย Karolina Grabowska
คำว่าเฉียบพลัน หมายความว่ามันจะเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ สำคัญสุดคือไม่มีสัญญาณเตือน อาการที่พบจะมีดังนี้
  • น้ำหนักเพิ่มและลดอย่างรวดเร็ว (มากว่า 2 กิโลกรัม ภายใน 1-2 วัน)
  • สะดุ้งตื่น เพราะอึดอัดหายใจไม่ออก
  • เหนื่อยง่าย นอนราบไม่ได้ หายใจถี่
  • อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องอืด อาเจียน
  • ข้อเท้าและหน้าแข่งบวม
  • วิงเวียน หน้ามืด
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • เจ็บหน้าอกร้าวไปถึงต้นคอ กราม ไหล่ แขนทั้งสองข้าง
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  • ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ฟาสฟู๊ด ปิ้งย่าง เนื้อสัตว์ติดมัน เค้ก กลุ่มนี้ส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรฮลสูง ไปอุดตันหลอดเลือดทำให้หัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
  • มีภาวะน้ำหนักเกิน หากปล่อยให้น้ำหนักเกินมาตราฐานเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นอันตรายต่อการทำงานของระบบร่างกายมาก ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคความดันสูง โรคหัวใจ ซึ่งมักเกิดจากการมีไขมันในเลือดมาก
  • ออกกำลังกายมากเกินไป จะเพิ่มภาระให้ระบบหัวใจทำงานหนักจนสูญเสียความสามารถในการทำงาน แล้วกล้ามเนื้อหัวใจก็จะตายลงไปในที่สุด ดังนั้นถ้าเหนื่อยก็พัก
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเสียสมดุลของเกลือแร่ เกิดอาการชักเกร็ง หลังแอ่น ปอดแฟ่บ ความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน หัวใจบีบรัดมากเกินไป ทำให้การหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • สะเทือนใจ หรือเสียใจอย่างนัก หรือโรคหัวใจผิดปกติทาโคสึโบะ โดยโรคนี้จะทำให้ฮอร์โมนความเครียดหลังออกมาสูงอย่างเฉียบพลัน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับหัวใจและหลอดเลือด
  • ช็อก ซึ่งเกิดจากการการเสียเลือดในปริมาณมาก ๆ
  • ใช้สารเสพติด ซึ่งจะทำให้หลอดเหลือดหดตัวอย่างรุนแรง
  • สูบบุหรี่ เพราะสารในบุหรี่ทำให้หลอดเลือหัวใจหดตัว ทำให้ไขมันจับตัวในหลอดเลือด มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจนเสียชีวิต
  • เครียดง่าย เพราะเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแข็งตัว อักเสบแล้วเกาะกลุ่มกันอยู่ตามผนังหลอดเลือด
หากมีอาการและยังรู้สึกตัวต้องรีบพบแพทย์ที่โรพยาบาลอย่างเร่งด่วน ในกรณีที่หมดสติ ผู้ที่พบเห็นต้องรับทำ CPR (การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน) อย่างถูกต้อง แล้วรีบติดต่อ 1669 อย่างลืมแจ้งอาการและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ
ชัดเลยว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของ “ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน” ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ “ไขมัน” ทั้งนั้น เพราะเป็นตัวที่จะไปอุตตันหลอดเลือด แล้วจับเกาะตามเหลอดเลือด ทำให้ทางลำเลียงเลือดแคบลง พอหลอดเลือดแคบลงแรงดันโลหิตก็เพิ่ม แรงดันโลหิตเพิ่มหัวใจก็ทำงานหนัก แล้วมันก็จะนำเข้าสู่ภาวะหัวใจเฉียบพลันได้เลย เห็นไหมว่า อาหารสำคัญมาก ควรรับประทานให้พอดีไม่มากไป ไม่น้อยไป อย่างน้อยที่สุดก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคไปได้อีกหลายโรคเลย
อ้างอิง:
สำนักสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถาบันโรคทรวงอกแนะนำโรคหัวใจกำเริบเฉียบพลันควรมาพบแพทย์ทันที. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565, จาก สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (moph.go.th)
โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล. หัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565, จาก หัวใจวาย (กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน) | ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร (bumrungrad.com)
TNN Online. รู้ทันภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เช็คอาการ-การป้องกัน ก่อนสายไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565, จาก รู้ทัน "ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน" เช็กอาการ-การป้องกัน ก่อนสายเกินไป? | TNN ช่อง16 | LINE TODAY
โฆษณา