7 ม.ค. 2023 เวลา 12:25 • ประวัติศาสตร์
Top 10 คอนเทนต์ประวัติศาสตร์ยอดนิยมประจำปี 2022
Bnomics วันนี้มาพร้อมกับการรวบรวม 10 คอนเทนต์ประวัติศาสตร์ยอดนิยมประจำปี 2022 โดยอิงจากยอดการเข้าถึง การกดถูกใจ การแสดงความคิดเห็น และการแชร์ มาฝากแฟนเพจทุกคนอีกครั้ง 🤩
🏆 10 อันดับคอนเทนต์ประวัติศาสตร์ยอดนิยมมีอะไรกันบ้าง ไปชมกันเลยค่ะ
อันดับ 1 “วิกฤติเงินเฟ้อ” มีส่วนต่อการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน
เมื่อกล่าวถึงเหตุผลการล่มสลายของกรุงโรมและอาณาจักรโรมันที่เกรียงไกร หลายคนจะพุ่งเป้าไปที่ปัจจัยภายนอกอย่างการรุกรานจากชนเผ่า Germanic เช่น Goths และ Vandals
แต่แท้จริงแล้ว ความพ่ายแพ้ในสงครามช่วงท้ายเป็นเพียงผลลัพธ์จากความขัดแย้งและวุ่นวาย “ภายในอาณาจักรโรมันเองต่างหาก”
โดยต้นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือ “สภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง”
อันดับ 2 การล่มสลายของ “จักรวรรดิดัตช์”
ประเทศผู้ครองตำแหน่งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการค้าโลกในปัจจุบันนี้ ที่ทุกคนน่าจะทราบกันดี คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่จริงๆ แล้ว เมื่อมองย้อนกลับไป ตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนี้ถูกเปลี่ยนมือมาตลอดในหน้าประวัติศาสตร์
อย่างสหรัฐฯ เองก็พึ่งจะขึ้นมาได้รับตำแหน่งนี้อย่างโดดเด่นแทนที่ “จักรวรรดิบริติช (British Empire)” ในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง
แต่ช่วงเวลาก่อนหน้าจักรวรรดิบริติชนั้น มีอีกจักรวรรดิหนึ่งที่รุ่งโรจน์ทางด้านการค้าขึ้นมาก่อน คือ “จักรวรรดิดัตช์ (Dutch Empire)” ที่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เป็นเจ้าแห่งการเดินเรือ มีความร่ำรวยและเป็นเจ้าแห่งวิทยาการของโลกอย่างแท้จริง
แต่เมื่อมีวันรุ่งโรจน์ก็ต้องมีวันตกต่ำ ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่เราจะมาเล่ากันในบทความนี้ว่า อะไรที่ทำให้จักรวรรดิดัตช์ล่มสลาย
อันดับ 3 บทเรียนการผิดชำระหนี้ในประวัติศาสตร์ ต่างกับ “การผิดชำระหนี้ของรัสเซีย” ล่าสุดอย่างไร?
การผิดชำระหนี้ของประเทศรัสเซียเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
เพราะว่า การผิดชำระหนี้ครั้งนี้ มีที่มาแตกต่างจากการผิดชำระหนี้ที่เราเคยเห็นและรู้จักจากบทเรียนในอดีต ซึ่งด้วยความแตกต่างนี้ ก็อาจจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่แตกต่างด้วยเช่นกัน
แต่เพื่อให้เข้าใจบริบทของประเทศรัสเซียในปัจจุบันได้ดีขึ้น เราจะย้อนกลับไปมองกรณีศึกษาของประเทศที่เคยผิดชำระหนี้ในอดีตกันก่อน
อันดับ 4 ภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ครั้งแรกของโลก
วิกฤติฟองสบู่ใหญ่ครั้งแรกๆ ในประวัติศาสตร์ ที่ถูกบันทึกไว้ คือ
“ฟองสบู่ทิวลิป (Tulip Mania)”ซึ่งเกิดขึ้นที่เนเธอร์แลนด์ เมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16
ยิ่งไปกว่านั้น “ภาวะฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์” ที่ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกๆ
ก็เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์เช่นกัน โดยเกิดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัมคริสต์ศตวรรษที่ 17-18
ความพิเศษ คือ ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นครั้งนั้น
เกิดขึ้นในสมัยที่ “สินเชื่อบ้าน” ยังไม่เป็นที่นิยมมากในอัมสเตอร์ดัม
แตกต่างกับช่วงฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ยุคหลัง
ที่มักจะมีส่วนสำคัญมาจาก “การปล่อยสินเชื่อที่ง่ายจนเกินไป”
ทำให้วิกฤติครั้งนี้ เป็นกรณีที่น่าศึกษาอย่างยิ่งเลยทีเดียว
อันดับ 5 ประวัติศาสตร์ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ผู้กำหนดทิศทางการเงินโลก
เมื่อพูดถึงผู้ซึ่งกำหนดทิศทางการเงินโลก เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีชื่อของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Federal Reserve (Fed) รวมอยู่ในนั้นด้วย
เนื่องด้วยฐานะของการเป็นธนาคารกลางของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดในโลก
และก็ยังเป็นผู้ควบคุมสกุลเงินที่มีการใช้ทำธุรกรรมมากที่สุดในปัจจุบันอย่างดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เมื่อ Fed พูดหรือทำอะไร ทั่วโลกก็ต้องตั้งอกตั้งใจฟังเป็นพิเศษ
แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ แท้จริงแล้ว เคยมีช่วงที่สหรัฐฯ ไม่มีธนาคารกลางในประเทศเช่นกัน ซึ่งก็ทำให้เกิดความผันผวนทางการเงินไม่น้อย จนมาถึงจุดหนึ่งที่พวกเขาตัดสินใจว่า “จำเป็นต้องสร้างธนาคารกลางของตัวเอง” สักที
เรื่องราวทั้งหมดนี้ จะเป็นสิ่งที่ Bnomics จะมาเล่าให้ทุกคนในบทความนี้กันครับ
อันดับ 6 ประวัติศาสตร์ “เงินยูโร” จากจุดเริ่มต้นจนถึงวันที่กลับมาอ่อนค่ากว่าดอลลาร์สหรัฐ
เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี ที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไปถึงระดับต่ำกว่า 1 ยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลใจของหลายคนต่อสภาพเศรษฐกิจของยุโรป ที่มีความเสี่ยงจะเข้าสู่สภาวะถดถอยในช่วงต่อไป
เหตุการณ์ในปัจจุบันมีความพิเศษไม่น้อย ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจให้คนรุ่นหลังได้มาศึกษาอย่างแน่นอน แต่ความพิเศษของเส้นทางของเงินยูโร ไม่ได้พึ่งจะมาเกิดขึ้นในตอนนี้ เมื่อมองย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น การรวมตัวกันของประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปจนถึงขั้นสร้างเป็นสกุลเงินเดียวกันขึ้นมา ก็ถือเป็นเหตุการณ์สุดพิเศษ ที่เป็นกรณีศึกษาสำคัญของนักเศรษฐศาสตร์มาโดยตลอดแล้ว
ในบทความนี้ ทาง Bnomics จึงได้นำเรื่องราวต้นกำเนิดและแนวคิดเบื้องหลังของเงินยูโรกันครับ
อันดับ 7 ประวัติศาสตร์เบลารุส เพื่อนบ้านคนสนิทของรัสเซียและยูเครน
ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ มีเหตุการณ์สำคัญหนึ่ง คือ การที่รัสเซียส่งทหาร “เข้าไปปฏิบัติการณ์พิเศษ” ในภูมิภาคดอนบาส แต่แท้จริงแล้ว ความขัดแย้งในภูมิภาคนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 แล้ว
ทว่า ในตอนนั้น ทั้งสองประเทศก็ยังสามารถเจรจากันไปได้ในระดับหนึ่ง โดยมีตัวกลางสำคัญที่ช่วยประนีประนอม ก็คือ ประเทศเบลารุสที่อำนวยความสะดวก เปิดเมืองหลวงของประเทศตัวเองให้ทั้งสองฝ่ายเซ็นสัญญา จนนำมาซึ่ง “ข้อตกลงกรุงมินสก์ (Minsk agreement)”
และในเหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งนี้ เบลารุสก็มีบทบาทสำคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์ที่มีดินแดนติดอยู่กับทั้งรัสเซียและยูเครน
ในบทความนี้ ทาง Bnomics จึงได้นำประวัติศาสตร์ของประเทศเบลารุส เพื่อนบ้านผู้มีความใกล้ชิดกับทั้งสองประเทศข้างต้นมาเล่ากันครับ
อันดับ 8 ประวัติศาสตร์ “ข้าวสาลี” และเส้นทางการก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกเบอร์หนึ่งของรัสเซีย
ในขณะที่สายตาของผู้คนจำนวนมากจับจ้องไปที่ราคาน้ำมันและโลหะที่พุ่งขึ้นสูง เนื่องจากจากวิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ยังมีอีกหนึ่งสินค้าสำคัญที่ราคาของมันก็กำลังแอบขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สินค้านั้นก็คือ “ข้าวสาลี”
ซึ่งทางรัสเซียเป็นผู้ส่งออกมันอันดับหนึ่งของโลก
แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์แล้ว เราจะพบความจริงที่ว่า ในช่วงก่อนการล้มสลายของสหภาพโซเวียต ดินแดนของรัสเซียยังเป็นรัฐที่ไม่สามารถผลิตข้าวสาลีได้เพียงพอกับความต้องการอยู่เลย
ในบทความนี้ ทาง Bnomics จึงได้หยิบประวัติศาสตร์ของข้าวสาลี และเส้นทางของรัสเซียในการกลับมาเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีอันดับหนึ่งให้ทุกคนครับ
อันดับ 9 ประวัติศาสตร์ ‘กรุงเกียวโต’ อดีตเมืองหลวงเก่าแก่ของญี่ปุ่นนับ 1,000 ปี
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ทำการเปิดประเทศ เพื่อการท่องเที่ยวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วและหนึ่งในเมืองที่คนไปเยอะที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘เกียวโต’ เมืองหลวงแห่งประวัติศาสตร์ที่สะท้อนรากเหง้าทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองอย่างขีดสุดของญี่ปุ่นจวบจนถึงปัจจุบัน
จนอาจกล่าวได้ว่า “หากจะเข้าใจว่าญี่ปุ่นเป็นทุกวันนี้ได้อย่างไร ให้ศึกษาประวัติศาสตร์เกียวโต”
Bnomics จึงอยากพาทุกท่านไปย้อนรอยประวัติศาสตร์เกียวโตอดีตเมืองหลวงของญี่ปุ่นมายาวนานถึง 1,074 ปี
อันดับ 10 “อาร์เจนตินา” ชาติที่ฟุตบอลรุ่งโรจน์แต่เศรษฐกิจร่วงโรย
2 ตำนานนักฟุตบอลชื่อดังดิเอโก มาราโดนา และลิโอเนล เมสซิ และการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกถึง 3 ครั้ง คงบ่งบอกถึงความรุ่งโรจน์ของฟุตบอลในอาร์เจนตินาได้เป็นอย่างดี แต่ในแง่มุมเศรษฐกิจกลับตรงข้าม
เพราะอาร์เจนตินากำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงกว่า 80% และความยากจนพุ่งถึง 36.5% ในครึ่งปีแรก 2022 มีการผิดนัดชำระหนี้ จัดได้ว่าเป็นวิกฤตที่น่าจับตามองอยู่ตอนนี้
จะไม่น่าไม่แปลกใจเลย แต่พอย้อนกลับไปเมื่อ 100 ปีที่แล้วอาร์เจนตินาเคยติด 1 ใน 10 ประเทศร่ำรวยที่สุดในปี 1913 สัดส่วน GDP อาร์เจนตินามากกว่า 50% ของอเมริกาใต้ทั้งหมด! ในตอนนั้น เงินเดือนเฉลี่ยต่อหัวมากกว่าชาวปารีส 80% และเกือบ 2 เท่าของชาวนิวยอร์กด้วยซ้ำ จนผู้อพยพชาวยุโรปยังต้องเลือกเลยว่า จะไปไหนดีระหว่างนิวยอร์กหรืออาร์เจนตินา?
1
บทความนี้จึงอยากพาทุกท่านย้อนประวัติศาสตร์อาร์เจนตินาในทศวรรษ 1900s เพราะเป็นช่วงที่กล่าวได้อย่างดีที่สุดถึงความรุ่งโรจน์และร่วงโรยของเศรษฐกิจอาร์เจนตินา
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา