Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
24 ธ.ค. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
“อาร์เจนตินา” ชาติที่ฟุตบอลรุ่งโรจน์แต่เศรษฐกิจร่วงโรย
2 ตำนานนักฟุตบอลชื่อดังดิเอโก มาราโดนา และลิโอเนล เมสซิ และการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกถึง 3 ครั้ง คงบ่งบอกถึงความรุ่งโรจน์ของฟุตบอลในอาร์เจนตินาได้เป็นอย่างดี
4
แต่ในแง่มุมเศรษฐกิจกลับตรงข้าม เพราะอาร์เจนตินากำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงกว่า 80% และความยากจนพุ่งถึง 36.5% ในครึ่งปีแรก 2022 มีการผิดนัดชำระหนี้ จัดได้ว่าเป็นวิกฤตที่น่าจับตามองอยู่ตอนนี้
7
จะไม่น่าไม่แปลกใจเลย แต่พอย้อนกลับไปเมื่อ 100 ปีที่แล้วอาร์เจนตินาเคยติด 1 ใน 10 ประเทศร่ำรวยที่สุดในปี 1913 สัดส่วน GDP อาร์เจนตินามากกว่า 50% ของอเมริกาใต้ทั้งหมด!
3
ในตอนนั้น เงินเดือนเฉลี่ยต่อหัวมากกว่าชาวปารีส 80% และเกือบ 2 เท่าของชาวนิวยอร์กด้วยซ้ำ จนผู้อพยพชาวยุโรปยังต้องเลือกเลยว่า จะไปไหนดีระหว่างนิวยอร์กหรืออาร์เจนตินา?
8
บทความนี้จึงอยากพาทุกท่านย้อนประวัติศาสตร์อาร์เจนตินาในทศวรรษ 1900s เพราะเป็นช่วงที่กล่าวได้อย่างดีที่สุดถึงความรุ่งโรจน์และร่วงโรยของเศรษฐกิจอาร์เจนตินา
3
⭐ ทุ่งหญ้าปัมปัส - ขุมทรัพย์แห่งอาร์เจนตินา
ก่อนจะทราบว่าทำไมอาร์เจนตินาถึงร่ำรวย เรามาดูกันก่อนว่าอาร์เจนตินามีขุมทรัพย์อะไรถึงเป็นจุดที่นำพาไปสู่ความร่ำรวยนั้น
ประวัติศาสตร์สำคัญของอาร์เจนตินาคือช่วงศตวรรษที่ 16 สมัยสเปนเข้ามาในดินแดนเพื่อค้นหา “แร่เงิน” เพราะเชื่อกันว่ามีแร่เงินจำนวนมากมาย ชาวสเปนจึงตั้งชื่อดินแดนแห่งนี้ว่า “Argentina” มาจากภาษาละติน Argentum ที่แปลว่าแร่เงินนั่นเอง
6
แต่เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องผิดหวังเพราะแทบไม่มีแร่เงิน แต่กลับเจอขุมทรัพย์ชิ้นใหญ่อีกอันที่คาดไม่ถึงนั่นคือ “ความอุดมสมบูรณ์ของ “ทุ่งหญ้าปัมปัส” ด้วยลักษณะที่ราบอันกว้างใหญ่จึงเหมาะแก่การปลูกพืชหลายชนิดอย่างข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์
1
และขุมทรัพย์ชิ้นนี้เองก็เป็นส่วนที่ทำให้อาร์เจนตินาสั่งสมความมั่งคั่งจากการส่งออกพืชผลการเกษตรปีละหลายล้านตัน รวมถึงการส่งออกเนื้อวัวที่ดีระดับท็อปของโลกอันเป็นผลพลอยได้จากทุ่งหญ้าปัมปัสที่กว้างขวางสามารถเลี้ยงวัวระบบเปิดทำให้วัวไม่เครียดและมีเนื้อที่อร่อย
4
แต่การมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์เพรียบพร้อมไม่ได้เป็นเพียงอย่างเดียวที่ทำให้อาร์เจนตินาขึ้นไปสู่จุดของการเคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยมั่งคั่งในครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ เพราะมันมีเหตุผลมากกว่านั้นอันเกิดจากวิสัยทัศน์และมันสมองของชาวอาร์เจนตินาเอง
3
⭐ ทำไมอาร์เจนตินาถึงเป็นประเทศที่ร่ำรวยขีดสุดในต้นทศวรรษที่ 20
หลังจากได้รับเอกราชจากสเปนในปี 1816 อาร์เจนตินาอยู่ในช่วงของการสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นและพัฒนาเศรษฐกิจให้ประชาชนอยู่ดีกินดี หากแต่เป็นเรื่องยากเพราะตอนนั้นอาร์เจนตินาเป็นประเทศที่ขาดแคลนทั้งทุนเงิน โครงสร้างพื้นฐานและแรงงาน อย่างประชากรอาร์เจนตินาเองมีไม่ถึง 2 ล้านคนซึ่งเป็นเรื่องยากหากจะทำการส่งออกปริมาณมหาศาลกับแรงงานเพียงหยิบมือ
1
การหาแรงงานใหม่เข้าประเทศเป็นคำตอบ ในปี 1853 อาร์เจนตินาจึงเปิดรับผู้อพยพเข้าประเทศ
1
นี่เป็นโอกาสทองชาวยุโรปที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายจากสงครามต่างรุดหน้าเข้ามาที่อาร์เจนตินามีทั้งชาวอิตาลี สเปน เยอรมนี รัสเซีย กรีก และอื่น ๆ ทำให้อาร์เจนตินามีจำนวนประชากรก้าวกระโดดจากราว 2 ล้านคนในปี 1869 พุ่งสูงเป็น 10 ล้านคนในปี 1920
2
●
ในปี 1869 1.8 ล้านคน
●
ในปี 1900 4.5 ล้านคน
●
ในปี 1920 9 ล้านคน!
3
สาเหตุที่ชาวยุโรปเลือกอพยพเข้ามาในอาร์เจนตินามีหลายประการ แต่ส่วนใหญ่คือการมองหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า อย่างชาวอิตาลีเองมองว่าอาร์เจนตินาเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และวัฒนธรรมของชาวอิตาลีที่รักพ้วงพ้องอยู่กันเป็นครอบครัว ใครอยู่ไหนก็ตามไปด้วย ทำให้เกิดการชักชวนและบอกกันปากต่อปากชวนมาอยู่ด้วยกัน
5
เห็นได้จากปี 1900 ชาวอิตาลีอพยพเข้ามา 500,000 คน อีก 20 ปีถัดมาอพยพเข้ามาถึง 1,000,0000 คน และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ชาวอาร์เจนตินาส่วนใหญ่มีเชื้อสายอิตาลี
3
นอกจากแรงงาน อาร์เจนตินายังลงทุนกับการสร้างเครือข่ายทางรถไฟขนาดใหญ่ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรหากประเทศที่ต้องการพัฒนาจำเป็นต้องลงทุนกับการโครงสร้างพื้นฐานที่ดี หากแต่จุดน่าสนใจคือความก้าวกระโดดของการสร้างทางรถไฟกว่าหลายหมื่นกิโลเมตรภายในเวลาไม่กี่ปี ในปี 1870 ระยะทางเพียง 700 กิโลเมตร แต่ในปี 1913 ระยะทาง 31,500 กิโลเมตร เกือบแซงหน้าประเทศเจริญแล้วอย่างออสเตรเลียเสียอีก
2
ด้วยการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทำให้การส่งออกของอาร์เจนตินาเพิ่มขึ้นทั้งข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาเลย์ และเนื้อวัวอย่างอู้ฟู่ จนกลายมาเป็น 1 ใน 10 ประเทศร่ำรวยที่สุดในโลกในปี 1913 สัดส่วน GDP ของทวีปอเมริกาใต้เกินกว่าครึ่งมาจากประเทศอาร์เจนตินา
ความร่ำรวยก็ยังคงดึงดูดชาวยุโรปให้เข้ามาทำมาหากินในอาร์เจนตินา ประชาชนชาวอาร์เจนตินาอยู่ดีกินดี มีเงินเดือนเฉลี่ยต่อหัวมากกว่าชาวยุโรปราว ๆ 174,000 บาท/ปี เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลียในปี 1930s
3
⭐ จากเศรษฐกิจรุ่งโรจน์สู่ “ร่วงโรย”
เศรษฐกิจอาร์เจนตินามาถึงจุดนี้ได้ ไม่มีอะไรอธิบายไปได้ดีกว่าคำว่าการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาลอาร์เจนตินาเอง
8
ในปี 1946 ฆวน เปรอน (Juan Perón) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งเป็นช่วงหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดความหวาดหวั่นว่าจะมีสงครามระลอกใหม่และอาจส่งผลกระทบกับประเทศ จึงเลือกใช้นโยบายระบบเศรษฐกิจแบบปิดกั้นตัวเองจากโลกภายนอก เน้นการพึ่งพาตนเอง
1
ถึงแม้จะมีความตั้งใจที่ดี หากแต่ผลลัพธ์ไม่ได้ดีแบบที่คิดไว้ เพราะการปิดกั้นเศรษฐกิจทำให้อาร์เจนตินาเริ่มถดถอยเพราะตามไม่ทันอุตสาหกรรมที่รุดหน้าฟื้นตัวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
1
การค้าเสรีถูกปิดกั้นอย่างรุนแรงและเข้มงวด ภาคเอกชนที่ควรมีเสรีในการสร้างสรรค์ธุรกิจกลับถูกจำกัดให้เพียงกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล ในขณะเดียวกัน เปรอนใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่งให้แก่แรงงาน สร้างรัฐสวัสดิการให้เงินอุดหนุน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี หากแต่รัฐบาลต้องแบกรับภาระหนี้มหาศาลเช่นเดียวกัน
6
ชาวอาร์เจนตินามีทั้งชอบและไม่ชอบกับการบริหารงานของเปรอน เปรอนเคยถูกขับออกนอกประเทศไปช่วงหนึ่ง แต่ผลสุดท้ายก็กลับมามีอำนาจใหม่อีกครั้งในปี 1973 ด้วยเสียงเรียกร้องในนโยบายประชานิยมที่ต้องยอมรับว่าเป็นผลดีแก่ชนชั้นแรงงานและคนยากจนทั้งหลายในประเทศ ทำให้เกิดการผลิตซ้ำประชานิยมสุดโต่งขึ้นแบบเดิม
4
จนกระทั่งในปีปลาย 1990s อาร์เจนตินาตกอยู่ในสภาวะขาดดุลการคลังอย่างหนัก หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นจาก 34% ในปี 1991 เป็น 52% ในปี 1999
1
ตั้งแต่ปี 1946 จนถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจอาร์เจนตินาล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายครั้ง ปัญหายังคงสืบเนื่องมาไม่จางหายเพราะรัฐบาลที่บริหารประเทศก็สืบเนื่องแนวคิดมาจากเปรอนในอดีตอยู่เช่นเดิม เศรษฐกิจถดถอยลงอย่างต่อเนื่องจากเมื่อ 100 ปีที่แล้วอยู่ในระดับท็อปเทนของประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ในปี 2018 ตกลงมาอยู่ในอันดับ 63
3
ปัจจุบัน อาร์เจนตินาพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจ หากแต่ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และค่าน้ำมันอาหารแพง ยิ่งทำให้เงินเฟ้อของอาร์เจนตินาพุ่งสูงขึ้น จนล่าสุดเดือนพฤศจิกายนพุ่งสูงถึง 88% จนทำให้ตอนนี้อาร์เจนตินากลายเป็นประเทศที่ปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าและเสี่ยงต่อการล้มละลายอีกประเทศหนึ่ง
3
และการต่อสู้กับวิกฤตเงินเฟ้อในตอนนี้ รัฐบาลอาร์เจนตินาจะแก้ไขปัญหาต่อไปอย่างไรคงเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไปในอนาคต
2
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://theeconomicstandard.com/argentina-from-rich-country-to-poor-country/
●
https://e-archivo.uc3m.es/bitstream/handle/10016/16968/wp13-03.pdf?sequence=1&isAllowed=y
●
https://www.britannica.com/summary/Argentina
●
https://manifold.bfi.uchicago.edu/read/discussion-of-the-case-of-argentina-powell/section/b28e2b4c-0e80-476a-b607-7d77b6a020f1
●
https://www.ft.com/content/778193e4-44d8-11de-82d6-00144feabdc0
1
อาร์เจนตินา
ประวัติศาสตร์
วิกฤตการเงินโลก
65 บันทึก
65
4
70
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
All About History
65
65
4
70
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย