Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ACB ARTICLE
•
ติดตาม
7 ม.ค. 2023 เวลา 17:14 • ธุรกิจ
Financial Education ep.03 - สรุปสงครามแห่งเอกราช Porsche Vs. Volkswagen
[Business Case Study]
ขอต้อนรับสู่ Financial Education รายการที่จะพาทุกๆคนล่องลอยไปในโลกแห่งการเงินการลงทุน คุณจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การย้อนเวลาไปเรียนรู้ความผิดพลาดของธุรกิจชั้นนำในอดีตเพื่อที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจและจะได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสม หรือจะเป็นการนำเสนอวิธีคิด กลยุทธ์ และการตัดสินใจของธุรกิจชั้นนำ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์
พวกเราก็คงจะรู้กันดีนะครับว่า Volkswagen เป็นหนึ่งในแบรนรถยนต์ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่เยอะมากๆ และมีเคลือข่างแบรนด์ลูกอยู่ภายใต้สังกัดของตัวเองเยอะมากๆเช่นกัน หรือสำหรับใครที่ยังไม่รู้ก็ไม่เป็นไรครับ ผมจะอธิบายคร่าวๆให้ฟังกัน
Volkswagen เป็นแบรนด์รถยนต์สัญชาติเยอรมันระดับ “ตัวแม่” แห่งวงการ ซึ่งมีแบรนด์รถยนต์ดังๆมากมายอยู่ภายใต้แบรนด์ Volkswagen Group เช่น Audi, Lamborghini, Bugatti, Bentley, Porsche
Volkswagen ใหญ่ระดับ “ตัวแม่” ขนาดนี้แต่เชื่อไหมครับว่าครั้งหนึ่งเคยมีแบรนด์รถยนต์คนบ้านเกียวกันอย่าง Porsche คิดที่จะ Takeover บริษัท Volkswagen
คำว่า “ตัวแม่” ไม่ได้ได้มาง่ายๆ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ผู้ก่อตั้ง Volkswagen และ Porsche เป็นลูกที่เกิดจากพ่อแม่ท้องเดียวกันแต่ต่างคนต่างก็แยกกันไปทำธุรกิจของตัวเอง ณ ตอนนั้น Porsche มีอัตราส่วนทางการตลาดแบ่งที่น้อยกว่า Volkswagen อย่างมาก และ Porsche ก็มีหุ้นของ Volkswagen อยู่ในมือนิดหน่อยอยู่แล้ว แต่แล้ว Porsche ก็คิดที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม ซึ่งในตอนแรกทุกๆคนก็ต่างคิดว่า Porsche ไม่น่าคิดการใหญ่ถึงขั้นฮุบ Volkswagen หรอก
ทุกๆคนต่างคิดว่าที่ Porsche ต้องการที่จะซื้อหุ้นเพิ่มในอัตราส่วนที่ค่อนข้างเยอะแบบนี้ (20%) อาจจะเป็นเพราะต้องการที่จะมีสิทธิ์มีเสียงในบริษัทเพื่อที่จะป้องกันไม่ใช้ Porsche Cayenne ที่ Volkswagen ผลิตให้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง เพราะในเยอรมันมีกฎ Volkswagen Act อยู่ ที่ว่า “ใครก็ตามที่มีหุ้น Volkswagen อยู่ในมือ >20% จะมีสิทธิ์ค้านเสียงของผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ได้
แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป Porsche ก็ค่อยๆซื้อหุ้นของ Volkswagen เพิ่มขึ้นทีละนิดๆ จนถึงในปี 2008 Porsche ได้เปิดการแถลงว่าในตอนนี้ Porsche สามารถถือหุ้นของ Volkswagen ได้แล้ว 42.6% และยังมีตราสารสิทธิที่จะซื้อเพิ่มอีก 31.5% และเรื่องนี้ก็สร้างความตกใจให้กับทุกๆคนในตลาดเป็นอย่างมากเพราะไม่เคยมีใครคิดว่า Porsche จะกล้าที่จะ Takeover บริษัทตัวแม่อย่าง Volkswagen
ในส่วนของทาง investors และ speculators ก็ได้มีการเข้ามาเร่งปิดสถานะ Short Sell ที่เคยเปิดไว้สูงถึง 12.8% ของหุ้นทั้งหมดก่อนที่ Porsche จะเข้ามาไล่ซื้อหุ้นจนเกิดเป็น Short Squeeze จึงทำให้ราคาหุ้น Volkswagen ในตอนนั้นมีมูลค่าพุ่งสูงถึง 200$ ต่อหุ้นภายในเวลาเพียง 2 วัน ส่งผลให้ บริษัท Volkswagen มีมูลค่าสูงถึง 12.4 ล้านล้านบาท ซึ่งกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงเวลาหนึ่ง (ในส่วนนี้เป็นไปตามกลไกของตลาดตามสมการที่ว่า ความต้องการ <= => มูลค่า)
ในตอนนั้นใครๆก็ต่างคิดว่า Porsche น่าจะสามารถ Takeover บริษัท Volkswagen ได้ แต่มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้นนะสิ
Lower Saxony ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Volkswagen ไม่ยอมขายหุ้นออกมาง่ายๆเนื่องจากต้องการรักษาสิทธิ์การออกเสียงในบริษัท
แล้วทุกๆคนสงสัยหรือไม่ว่า Porsche ไปเอาเงินมาจากไหนถึงได้ซื้อหุ้นบริษัทตัวแม่แห่งวงการอย่าง Volkswagen ได้เยอะขนาดนี้ทั้งที่ตัวเองมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่น้อยกว่ามากๆ คำตอบก็คือ Porsche ได้ไปกู้เงินมาจากสถาบันทางการเงิน 15 แห่ง เป็นเงินทั้งหมด 4 แสนล้านบาท และเมื่อ Takeover บริษัท Volkswagen ได้สำเร็จก็จะนำเงินสดในงบดุล 4 แสนล้านบาทของบริษัทของ Volkswagen ออกมาชำระเงินกู้ แผนทุกอย่างดูเหมือนกำลังที่จะไปได้สวย แต่แล้ว…
เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ “Subprime Crisis” (Hamburger Crisis) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งวิกฤตนี้ถือเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างมาก ถึงขั้นที่ว่าทำให้สถาบันทางการเงินที่อยู่มากว่า 100 ปี ++ ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายอย่าง Lehman Brothers จำเป็นต้องปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย และแน่นอนว่าบริษัท Porsche ได้รับผลกระทบนี้ด้วย
ธนาคารไม่กล้าที่จะปล่อยเงินกู้ในจำนวนมหาศาลให้กับ Porsche อีกต่อไป และ Porsche ก็ขายรถยนต์ในตลาดได้น้อยลงอย่างมาก เนื่องจากรถยนต์ของ Porsche เป็นรถยนต์ประเภท Sport Car ++ ซึ่งเป็นสินค้าที่สิ้นเปลืองในยามเศรษฐกิจแบบนี้ จึงทำให้ท้ายที่สุด Porsche กลายเป็นฝ่ายที่สะดุดหินจนล้มลง Volkswagen จึงถือโอกาสนี้ในการซื้อหุ้นของ Porsche กลับ จนในที่สุดก็เป็นฝ่ายของ Porsche เองที่โดน Volkswagen Takeover กิจการ
แต่ๆๆๆๆ… [B Plan เป็นสิ่งที่ทำให้อยู่รอด]
ถึงแม้ว่า Porsche จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Volkswagen ไปแล้วก็ตาม แต่ Porsche ก็ยังคงรักษาเอกราชของตัวเองไว้ได้ โดยการที่ Porsche ได้มีการสร้าง Porsche SE ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งแยกไว้ตั้งแต่แรกซึ่ง Porsche SE เป็นบริษัทที่เป็นคนดำเนินการซื้อหุ้นของบริษัท Volkswagen ทั้งหมด แต่ในตอนที่ Volkswagen Takeover บริษัท Porsche กลับนั้น Volkswagen ได้ Takeover กิจการของบริษัท Porsche AG ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิตรถยนต์
ดังนั้นต่อให้ในตอนนี้รถยนต์ทั้งหมดภายใต้ชื่อแบรนด์ Porsche จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทตัวแม่อย่าง Volkswagen แล้วก็ตาม แต่ Porsche ก็ยังไม่เสียเอกราชทั้งหมดไป โดย Porsche SE ยังมีหุ้นของบริษัท Volkswagen อยู่ในมือถึง 30% นั่นจึงทำให้ Porsche ยังคงมีสิทธิ์มีเสียงในบอร์ดบริหารของบริษัท Volkswagen อยู่ค่อนข้างมากพอสมควร
ธุรกิจ
การลงทุน
เศรษฐกิจ
บันทึก
3
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Financial Education
Business Case Study
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย