Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ACB ARTICLE
•
ติดตาม
28 เม.ย. 2023 เวลา 17:07 • ธุรกิจ
Financial Education ep.04 - วินัยทางการเงิน การออมและการลงทุน
สิ่งที่สำคัญกว่าจำนวนตัวเลขในบัญชี ก็คือวินัยทางการเงิน
2
ขอต้อนรับสู่ Financial Education รายการที่จะพาทุกๆคนล่องลอยไปในโลกแห่งการเงินการลงทุน คุณจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การย้อนเวลาไปเรียนรู้ความผิดพลาดของธุรกิจชั้นนำในอดีตเพื่อที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจและจะได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสม หรือจะเป็นการนำเสนอวิธีคิด กลยุทธ์ และการตัดสินใจของธุรกิจชั้นนำ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………
ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถหาเงินได้เป็นล้านแต่ถ้าหากคุณไม่สามารถเก็บรักษาเงินนั้นไว้ได้มันก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนกับแท้งค์น้ำที่สามารถบรรจุน้ำปริมาตรมากแต่มีรอยรั่วขนาดใหญ่ หากคุณยิ่งสามารถหาเงินได้เยอะ เงินที่คุณหามาก็จะยิ่งหายไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นถ้าหากคุณขาดสิ่งที่เรียกว่า “วินัยทางการเงิน”
วินัยทางการเงิน เป็นสิ่งที่สำคัญมากว่าที่เราคิด มีหลายบริษัทที่ล้มละลายเพราะขาดวินัยทางการเงิน ไม่สามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะติดอยู่ในกับดักของความโลภและความกลัว หรือแม้แต่หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทยก็ตาม เหตุผลที่ทำให้เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งนอกจากจะเกิดจากการบริหารเงินและนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วยังมีอีกสาเหตุหนึ่ง
ก็คือการที่ธนาคารในประเทศไทยขาดวินัยทางการเงิน เกิดความโลภจึงก่อให้เกิดความประมาท ปล่อยเงินกู้ให้ประชาชนง่ายจนเกินไป และประมาทโดยการไปกู้เงินมาจากธนาคารต่างชาติอีกที จนในที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาลก็ไม่สามารถยื้อชีวิตประเทศไทยไว้ได้จึงได้ประกาศยอมแพ้
จากที่ได้กล่าวมานี้ “วินัยทางการเงิน” จึงเป็นสิ่งเล็กๆในขั้นพื้นฐานที่สามารถส่งผลถึงในแง่ของเศรษฐกิจระดับมหภาคได้อย่างมหาศาล เราจึงจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังเยาวชนให้มีวินัยทางการเงินตั้งแต่เด็ก ซึ่งวินัยทางการเงินไม่ใช่แค่การออมเงิน คนที่สักแต่ออมเงินอย่างเดียวสุดท้ายแล้วก็จะขาดทุนจากวิกฤติเงินเฟ้อและสภาวะการลดมูลค่าทางธรรมชาติของเงินที่เกิดขึ้นทุกปีอยู่ดี ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักการเพิ่มมูลค่าของมันด้วย ซึ่งก็คือการลงทุนนั่นเอง
ซึ่งเราก็ควรที่จะลงทุนในเรื่องที่ตนเองสนใน ศึกษามันให้ลึกจนรู้อย่างถ่องแท้ และรู้จักการประเมินความเสี่ยง รวมถึงการกระจายความเสี่ยงบ้างเล็กน้อยในขั้นเบื้องต้น ซึ่งในโลกใบนี้ก็มีวิธีการเพิ่มมูลค่าเงินอยู่มากมาย*ที่สมเหตุสมผล เช่น การลงทุนอย่าง หุ้น, พันธบัตรรัฐบาล, อสังหาริมทรัพย์, Cryptocurrency, กองทุนรวม หรือแม้แต่การทำธุรกิจก็ตาม
ดังนั้นนี่คือ 3 สิ่งที่เป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการเงิน
1. การหาเงิน
2. การเก็บรักษาเงิน
3. การเพิ่มมูลค่าเงิน
ซึ่งถ้าหากคุณขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็จะถือว่าคุณสอบตกในการบริหารจัดการเงินในชีวิตจริง
1
เมื่อคุณหาเงินมาได้สิ่งที่คุณควรจะทำเป็นสิ่งแรกนั่นก็คือ การแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้สำหรับเพิ่มมูลค่า เพราะนั่นคือสิ่งที่กำหนดชะตาชีวิตของคุณ หากคุณไม่รู้จักการแบ่งเงินที่ได้มาลงทุน (อย่างชาญฉลาด) คุณก็จะยังคงพายเรืออยู่ในอ่างใบเดิม ซึ่งแน่นอนว่าการย้ายงานหรือการขอขึ้นเงินเดือนไม่ได้ช่วยให้ชีวิตของคุณดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เงินไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาทางการเงิน แต่เป็นความรู้ในการบริหารจัดการเงินต่างหากล่ะที่สำคัญยิ่งกว่า เพราะหากคุณมีเงินเป็นล้านแต่คุณบริหารมันไม่เป็นสุดท้ายเงินกองนั้นมันก็จะสลายหายไปในชั่วพริบตา
*การเพิ่มมูลค่าเงินอย่างสมเหตุสมผล ที่ผมหมายถึงก็คือสิ่งที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น แต่สิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลและจะนำมาซึ่งผลเสียมากกว่าผลดี
นั่นก็คือ
- การเสี่ยงโชค เช่น หวย หรือ การพนัน - ต่อให้คุณชนะได้รางวัลที่ 1 สุดท้ายยังไงๆเงินที่คุณได้มาก็จะหมดลงชั่วพลิบตาถ้าหากคุณไม่สามารถเก็บรักษาและเพิ่มมูลค่าให้กับมันได้ ผมทายได้เลยว่าถ้าหากคุณได้มันมาสิ่งแรกที่คุณนึกถึงก็อาจจะเป็นสิ่งที่คุณใฝ่ฝันอย่างกระเป๋าสุดหรูหรือแม้แต่รถคันใหม่แน่นอน และไม่ว่ายังไงหวยเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่ากับการที่จะเสี่ยงเลยแม้แต่น้อย
ส่วยการพนันเป็นสิ่งที่โง่เขลาอย่างมาก ไม่คุ้มค่ากับการเสียงเอาเสียเลย การเล่นการพนันหรือแม้แต่หวยก็เหมือนกับการ ดูถูกตัวเองว่าคุณไร้ซึ่งความสามารถ ไม่สามารถหาเงินได้ด้วยความสามารถของตนเอง ต้องพึ่งแต่ดวงไปวันๆ
ธุรกิจ
การเงิน
การลงทุน
3 บันทึก
5
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Financial Education
3
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย