17 ม.ค. 2023 เวลา 13:27 • สุขภาพ

อยากสายตาดีไปจนแก่ ต้องทำไง?

เมื่อคืนดู podcast อันนึงของนักประสาทวิทยาด้านตา เค้าก็มาเล่ารีเสิร์ชต่างๆที่เกียวข้องกับตา บางเรื่องก็เคยได้ยิน แต่เราก็รู้สึกว่าใช่เหรอ แต่คนนี้เค้าอธิบายที่มาที่ไปได้ ก็เลยรู้สึกว่าเออ พอฟังได้อยู่
หลักๆของ podcast นี้ เค้าจะพูดว่า สิ่งที่เกี่ยวกับการมองเห็น มันจะไปเกี่ยวกับเรื่องการนอนการตื่น อารมณ์ แล้วก็รวมถึงการถนอมสายตาต่างๆ
คือถ้าพูดเรื่องตา คนเราก็จะคิดถึงเรื่องเลนส์กับลูกตาใช่ไหม แล้วมันจะไปเกี่ยวกับเรื่องการนอนการตื่นอะไรได้ไง แต่คนนี้เค้าอธิบายว่า ตาเราเนี่ย อย่าลืมว่า การมองเห็นของเรามันมาจากประสาทรับภาพ ซึ่งตัว "nerve cell" ที่ว่านี่ เอาดีๆก็คือเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น "ตาเป็นสมองส่วนเดียวที่ยืนออกมานอกกระโหลก" นะจ้ะ พูดแบบนี้แล้วชั้นแอบสยองเลย 5555
แล้วเค้าบอกว่า ถ้าไปดูจากวิวัฒนาการในอดีต ตาไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อการมองเห็น เซลล์ตาเกิดขึ้นมาเพื่อรับแสง ให้สัตว์มีผลต่อการดำเนินชีวิต ในสัตว์บางอย่าง เซลล์พวกนี้ก็วิวัฒนาการมาอยู่ที่ผิวหนัง เช่นพวกกบ สัตว์พวกนี้ก็จะโดนแสงแล้วรู้ว่า อ้อ นี่กลางวัน นี่กลางคืน นี่เป็นเวลาหาอาหารนะ โดยมันสามารถรับรู้ได้ว่า มี/ไม่มีแสง หรือ แสงเหลือง (เช้าเย็น) สำหรับเตรียมตัวนอนเตรียมตัวตื่น แสงฟ้า (ความเข้มเยอะๆตอนกลางวัน) สำหรับการออกหาอาหาร ในขณะที่มนุษย์เนี่ย เซลล์พวกนี้จะเหลืออยู่ที่เดียวก็คือเซลล์ในตาเรา
เค้าก็เลยพูดขำๆว่า "คล้ายกับว่าเรามีเซลล์(แบบเดียวกับ)หนังกบอยู่ในตาเราเนี่ยแหละ" (กรี๊ซ)
เรื่องเกี่ยวกับการนอน
ทีนี้เค้าก็เเลบอกว่า สำหรับมะนุดเมืองอย่างพววกเรา ถ้าจะ set mood ให้วันนั้นเรามีสุขภาพจิตแข็งแรงพร้อมทำงาน (เค้ามีพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับการนอน กับเรื่องโรคซึมเศร้าด้วยนะ แต่ยังไม่ได้ฟัง) ตอนตื่นหมาดๆ ให้ไปหาที่รับแสงอาทิตย์ได้โดยตรง หรือแสงที่มีความเข้มสูง เป็นเวลา 10 นาที (แต่กรุณาอย่ามองดวงอาทิตย์โดยตรงนะจ้ะ) ซึ่งเค้าว่า อันนี้ต้องไม่ผ่านกระจก ไม่ใส่แว่นใดๆ ซึ่งนางบอกว่า อันนี้ขอให้ทำเป็นกิจวัตรประจำวันเบอร์ 1
กิจวัตรประจำวันเบอร์ 2 คือ สำหรับทุกคนรวมถึงพ่อแม่ที่มีลูกเบบี๋ใดๆ ให้เลิกใช้ night light ได้แล้ว เพราะแสงมันสามารถลอดผ่านหนังตาเข้ามาในลูกตาได้ ดังนั้นมันจะทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ ซึ่งจากกาวิจัย มันมีผลกับเด็กเรื่องการเป็นสายตาสั้น หลับไม่สนิท ไปรบกวน growth hormone รวมไปถึงเบาหวาน type 2 เพราะจะเกี่ยวกับการเผาผลาญน้ำตาล
ส่วนผลกระทบกับผู้ใหญ่ก็คือว่า การที่ในห้องนอนมีไฟแสงสีฟ้า ก็จะทำให้เราไม่ง่วงล่ะหนึ่ง เลยทำให้เรานอนดึก (อันนี้จริง เคยฟังที่อื่นมาก่อนแล้ว ว่าให้ตัดแสงฟ้าหรือทำให้ห้องมืด ก็เลยจะปิดไฟใหญ่ในห้องตั้งแต่สี่ทุ่ม จากที่เคยหลับตอนใกล้เที่ยงคืน ก็กลายเป็นประมาณห้าทุ่มแทน แต่ตอนนั้นคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา ไม่ใช่ประสาทวิทยา) ดังนั้นในห้องนอน ก่อนหลับก็ควรเป็นไฟสีเหลือง แล้วเวลานอนก็คือปิดไฟให้หมด
เรื่องเกี่ยวกับสายตาสั้น
กิจวัตรประจำวันเบอร์ 3
เค้าเล่าว่ามันมีการวิจัยขนาดใหญ่ ในรร.8รร เพราะผู้วิจัยมองเห็นว่าสายตาสั้นถือเป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง (แปลว่ามันเกิดเยอะและไม่ได้เป็นตามกรรมพันธุ์) โดยผลสรุป พบว่า การที่มีกิจกรรมภายนอกเป็นเวลาวันละ 2 ชม. จะลดอัตราการเกิดสายตาสั้นได้ (ไม่นับพวกเกิดมาสั้นหรือกรรมพันธุ์นะ) ซึ่งอันนี้เค้าสันนิษฐานว่า มันก็เป็นเพราะคนเราในเมืองมองแต่จอ เวลาเรามองใกล้ๆ เลนส์มันจะต้องหด กล้ามเนื้อใช้งานเยอะ
ดังนั้นถ้าเรามีเวลาสองชม.อยู่ข้างนอกแบบที่ไม่ได้เอาไอแพดไปนั่งอ่านหนังสือกลางทุ่งอ่ะนะ มันก็ทำให้ตาได้มองไกลๆ มองไกลก็คือกล้ามเนื้อตาผ่อนคลาย ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดสายตาสั้นได้
กิจวัตรประจำวันเบอร์ 4
สำหรับคนทำงาน เค้าบอกว่าทุก 90 นาทีที่ใช้สายตามองใกล้ ให้พักไปเหม่อมองขอบฟ้า เพื่อเป็นการพักกล้ามเนื้อตา อันนี้ก็คือหลักการเดียวกับข้างบนอ่ะนะ
กิจวัตรประจำวันเบอร์ 5
ฝึกมองนก ....5555 อันนี้ชั้นตั้งชื่อเองแหละ มันมีชื่อเฉพาะแหละแต่จำไม่ได้ ประมาณ smooth tracking มั๊ง ก็คือให้ฝึกมองวัตถุเคลื่อนไหวระยะไกล เพราะให้กล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่นี้ได้ทำงานบ้าง เพราะปกติเรามองแต่จอ มันจะนิ่งๆ ฟังกต์ชั่นติดตามความเคลื่อนไหวเลยไม่ได้ใช้งาน
เอาแค่นี้ก่อนนะ อิ podcast นี้ยาวมาก ฟังไม่จบ นี่จริงๆเขียนไว้เอาไว้กลับมาอ่านเอง แต่ถ้าใครอ่านแล้วจะได้ประโยชน์ไปด้วยก็ถือว่าดีใจด้วยจ้า
โฆษณา