24 ม.ค. 2023 เวลา 14:58 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ASK: สรุปธุรกิจและรายได้ในไตรมาส 3/2022

ASK: ASIA SERMKIJ LEASING PUBLIC COMPANY LIMITED
📌Business Model
บริษัทดำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภทและสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ และบริการจด/โอนทะเบียนและต่อภาษีรถยนต์
บริษัทย่อยบริษัทที่1 ดำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อลีสซิ่งและสินเชื่อเช่าซึ้อเครื่องจักรและยานพาหนะ สินเชื่อแฟคตอริ่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และบริการจด/โอนทะเบียนและต่อภาษีเครื่องจักรและยานพาหนะ
บริษัทย่อยแห่งที่2 ดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันภัย
โดยบริษัทได้ขยายการเติบโตของบริษัทจากเครือข่ายสาขาของบริษัทที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค และความสัมพันธุ์ที่ดีกับตัวแทนจำหน่าย (Sub-Dealer)
ปัจจุบันบริษัทมีสาขาทั้งหมด 17 สาขา ตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเชียงราย จังหวัดขอนแแก่น จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดลำปาง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสุราษฎ์ธานี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสงขลา
📌Products
โดยสามารถแบ่งตามลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการได้ 6 ประเภทดังนี้
1️⃣ ธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Perchase): ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อทั้งรถยนต์ใหม่และรถยนต์ที่ใช้แล้ว ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เพื่อการพานิชณ์ เช่น รถกระบะ รถตู้ รถบรรทุก รถแทกซี่ และรถมินิบัส เป็นต้น
ให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าบุคคลธรรมดาเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมาณฑล รองลงมาเป็นกลุ่มลูกค้าในเขตภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2️⃣ ธุรกิจให้บริการสินเชื่อลีซซิ่ง/เช่าซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ และยานพาหนะ (Leasing): สำหรับสินเชื่อลีซซิ่งที่ให้บริการนั้นประกอบไปด้วยสัญญาเช่าการเงิน โดยทรัพย์สินที่ให้บริการสินเชื่อ คือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ยานพาหนะ ทั้งเครื่องจักรใหม่ และที่ใช้แล้ว โดยจะเน้นเฉพาะเครื่องจักรที่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไม่รวดเร็วนัก มีความคงทน มีอายุการใช้งานนาน และสภาพคล่องสูง ปัจจุบันได้มีการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ออุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
ให้บริการแก่กลุ่มลูกค้านิติบุคคลเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เน้นให้บริการแก่กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
3️⃣ ธุรกิจให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่ง (Factoring): ลักษณะให้บริการแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ
1. สินเชื่อภายในประเทศ (Domestic Factoring) | เป็นการรับซื้อสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากลูกหนี้การค้าของผู้ขายสินค้าและบริการที่มีคู้ค้า (ผู้ซื้อ) อยู่ภายในประเทศ
2. สินเชื่อระหว่างประเทศ (International Factoring) | บริษัทจะเป็นตัวกลางติดต่อประสานงานกับผู้ให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่ง เพื่อการนำเข้าของผู้นำเข้าที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นคู่ค้าของผู้ส่งออกในประเทศ พร้อมบริการตรวจสอบฐานะของผู้นำเข้าต่างประเทศผ่านผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการนำเข้า และรับประกันหนี้ไม่สูญต่อผู้ส่งออก หากผู้นำเข้าในต่างประเทศผิดนัดชำระ ผู้ให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่งเพื่อการนำเข้าจะชำระเงินค่าสินค้าและบริการให้บริษัทแทน เพื่อนำไปชำระค่าสินค้าและบริการให้กับผู้ส่งออกต่อไป
ให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น และประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี มีผลประกอบการดี ฐานะการเงินมั่นคง และมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้ตามกำหนด เช่น ผู้ประกอบการในอุตสากรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
4️⃣ ธุรกิจให้บริการสินเชื่อเงินกู้ยืม (Loan): ได้แก่ สินเชื่อบุคคล (Personal Loan) สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ (SHB Service) และสินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ (Floor Plan Financing)
โดยสินเชื่อบุคคล (Personal Loan) จะให้บริการเฉพาะลูกค้าชั้นดีของบริษัทเท่านั้น
สินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ (Floor Plan Financing) ให้บริการเฉพาะผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ ที่เป็นผู้จัดหาลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อให้แก่บริษัท
สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ (SHB Service) ให้บริการแก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน
5️⃣ ธุรกิจนายหน้าประกันภัย (Insurance): ประกอบไปด้วย
1. การประกันภัยรถยนต์ (Vehicle Insurance) เช่นการประกันภาคสมัครใจ และการประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
2. การประกันภัยเครื่องจักร (Machine Insurance)
3. การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance)
4. การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine Cargo Insurance)
5. การประกันชีวิต (Life Insurance)
6. การประกันสินเชื่อ (Credit Life Insurance)
7. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous) เช่น การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
6️⃣ ธุรกิจให้บริการอื่นๆ (Other): บริการจด/โอนทะเบียนและต่อภาษีรถยนต์ เพื่อสนับสนุนบริการภาคอื่นๆให้ครบวงจร
📌Financial Highlight 3Q22
- Disbursement: 8,881 MB, -2% QoQ, +18% YoY
- Revenue: 1,459 MB, +6.4% QoQ, +29.4% YoY
- Total Expense (Exclude Tax): 968 MB, +5% QoQ, +32% YoY | ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการตัดหนี้สูญและการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณ NPL ที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นจากต้นทุนทางการเงินเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ย
- Net Profit: 391 MB, +9% QoQ, +25% YoY
- NPM: 26.8% จาก Q2/22 ที่ 26.2% และจาก Q3/21 ที่ 27.9%
- ROE: 16.2% จาก Q2/22 ที่ 15.0% และจาก Q3/21 ที่ 14.4%
ในส่วนของรายได้รอบ 9M2022
จำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์และบริการได้ดังนี้
- Hire Purchase: 74.0%
- Loan: 10.7%
- Insurance: 11.0%
- Other: 4.3% | เป็นรายได้จาก Leasing และ Factoring เป็นหลัก
📌Financial Ratio
- %NPL: 2.86% จาก Q2/22 ที่ 2.68% และจาก Q3/21 ที่ 2.79% | บริษัทได้ตั้งเป้ารักษาปริมาณ NPL ในระดับที่ไม่เกิน 3%
- %ECL: 1.88% จาก Q2/22 ที่ 1.88% และจาก Q3/21 ที่ 1.82% | เพิ่มขึ้นจากการเร่งยึดรถเนื่องจากคุณภาพลูกหนี้แย่ลง
- %Coverage Ratio: 89.5% จาก Q2/22 ที่ 93% และจาก Q3/21 ที่ 83% | บริษัทมองว่า > 80% ถือว่าเพียงพอแล้ว
- NIM: 5.84% จากต้นปีอยู่ที่ 5.53% | ยังโตขึ้ยอย่างต่อเนื่อง
- D/E: 5.83x จาก Q2/22 ที่ 5.72x และจาก Q3/21 ที่ 4.98x
- Liabilities to Asset: 85.4% จาก Q2/22 ที่ 85.1% และจาก Q3/21 ที่ 83.3%
การจัดหาเงินทุนของบริษัทมาจาก
- Short Term Loan: 25.3%
- Long Term Loan: 55.2%
- Long Term Debenture: 19.5%
📌Portfolio
- Portfolio: 65,243 MB, +4.2% QoQ, +24.5% YoY
จำแนกพอร์ตตามกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการ 9M2022
- Hire Purchase: 89.8%
- Loan: 8.2%
- Financial Lease: 2.0%
- Factoring: <1%
จำแนกพอร์ตตามประเภทผลิตภัณฑ์และบริการ 9M2022
- Truck: 63%
- Passenger: 8%
- Machine: 10%
- Loan: 8%
- Other: 11%
📌Business Outlook
สำหรับปี 2022 คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อ (Disbursement) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 36,000 MB เพิ่มขึ้นมาต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะโต >20% จากปีก่อนที่ทำไว้ 30,844 MB และ Portfolio จะอยู่ที่ 67,500 MB โตตามเป้าที่ที่วางไว้ >20% ซึ่งบริษัทได้วางแผนที่จะมี Portfolio แตะระดับ 100,000 MB ในปี 2024
และคาดว่าในส่วนของ Ratio อย่าง NPL และ Credit Cost จะ Over เกินกว่าระดับที่วางไว้ ซึ่งใน 1Q23 บริษัทจะพยายามดึง Ratio ให้กลับลงมาในระดับที่เหมาะสม
ส่วนในปี 2023 นั้น ยังคงระดับการเติบโต >20% เท่ากับปี 2022 และคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อ (Disbursement) ราวๆ 40,000-45,000 MB
Key Driver ยังคงเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกใหม่และเก่า โดยจะทำควบคู่ไปกับสินเชื่อที่เป็น High Yield เพื่อรักษาสัดส่วนอัตรากำไร จากประเด็นของอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
การเติบโตของสินเชื่อรถบรรทุกในปีหน้า ตั้งอยู่บนพื้นฐานของยอดขายรถบรรทุก ซึ่งคาดว่าปี 2023 ยอดขายจะใกล้เคียงกับปี 2022 ทำให้บริษัทอาจจะมีการแข่งขันเรื่องราคาเพื่อแย่งชิง Market Share ให้ได้มากขึ้น เพื่อรักษาระดับการเติบโต ซึ่งปัจจุบันมี Market Share ในระดับ 25-30% จากปี 2020 ที่มีไม่ถึง 20%
ทำให้ต้องเร่งตัวสินเชื่อที่มี High Yield อย่างสินเชื่อจำนำทะเบียน คาดว่าปีหน้า บริษัทมีความพร้อมที่สมบูรณ์แบบ จากที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2020 ตัวสินเชื่อจำนำทะเบียนไม่โอนเล่ม มีรายได้ ~600 MB และปี 2022 มีรายได้ ~1,200-1,300 MB ซึ่งคาดว่าปี 2023 จะสามารถทำรายได้ ~2,500 MB เป็นเป้าของปีหน้า ในส่วนของสินเชื่อจำนำทะเบียนแบบโอนเล่มจะเติบโตน้อยกว่า แต่ตั้งเป้าไว้ ~1,500 MB รวมๆทั้งหมดจะอยู่ ~4,000 MB
และปี 2023 บริษัทจะทำผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มของ Solar Energy และเริ่มกลับมาทำโมเดล SMEs ที่ได้ปรับปรุงใหม่ ทำให้บริษัทลูกอย่าง BGPL น่าจะเติบโตได้ดีกว่าในปี 2022
และมีแผนที่จะขยายสาขา 2-4 แห่ง ทำให้มีการรับพนังงานเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายปีหน้าก็อาจจะเพิ่มขึ้นมา
ถ้าเป็นไปตามเป้าหมายคาดว่าปีหน้า Portfolio จะเพิ่มขึ้นมาในระดับ 80,000 MB
อีกทั้งกำลังศึกษาที่จะทำผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างตัว Consumer Finance ที่เป็นสินเชื่อขนาดเล็ก โดยจะเริ่มจากรถยนต์ขนาดเล็กก่อน ซึ่งได้ทดลองทำไปบ้างแล้ว ปีหน้าคาดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีระดับนึง
📌Summary
จากกรณีที่ สคบ. ได้อนุมัติในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์นั้น จะไม่กระทบกับ Portfolio เดิมของบริษัท แต่จะกระทบกับสินเชื่อที่จะปล่อยใหม่ในปีหน้า โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 Jan 2023 ทำให้ต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากสัญญาตัวใหม่เอื้อต่อผู้บริโภคมากขึ้น ในฝั่งของอัตราดอกเบี้ยที่ควบคุมจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่จะกระทบในส่วนของกรณี การชำระค่างวด การปิดบัญชีก่อนกำหนด การยึดและขายทอดตลาด ซึ่งจะกระทบในวงแคบของบริษัทเท่านั้น
การเติบโตในปี 2023 เรามองว่าปัจจัยหลักจะอยู่ที่การแย่ง Market Share เป็นการเน้นวอลุ่มเข้ามาทดแทนตลาดรถบรรทุกที่มีการเติบโตที่ชะลอตัวลง และต้องเน้นตัวจำนำทะเบียนที่มี Yield ที่สูงกว่าตัวอื่นๆ มาช่วยดันให้รายได้โต แต่ที่น่ากังวลคือปริมาณ NPL ที่จะเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการตั้งสำรองมากขึ้นตาม ทำให้กดดันในฝั่งของกำไรนั้นเอง นักลงทุนที่สนใจอย่างลืมประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#ASK
ปล1. จากข้อมูลข้างต้น ไม่มีเจตนาชักชวน หรือให้ซื้อ-ขายตามบทความข้างต้น
ปล2. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาไตร่ตรองการลงทุนว่าจะซื้อหรือขายด้วยตัวท่านเองเท่านั้น
โฆษณา