24 ม.ค. 2023 เวลา 15:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ

TU: สรุปธุรกิจและรายได้ในไตรมาส 3/2022

TU: THAI UNION GROUP PCL
Healthy Living Healthy Oceans
Business Model
บริษัทผลิตและส่งออกอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง และขยายธุรกิจให้ครบวงจรด้วยธุรกิจอาหารสำเร็จรูปและอาหารว่าง โดยเน้นอาหารทะเล ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจพัฒนาสายพันธุ์กุ้งเพื่อจำหน่าย ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และสิ่งพิมพ์ และธุรกิจการตลาดภายในประเทศ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 ประเภท
1. สินค้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ตัวเอง (Brands) ได้แก่ Chiken of the Sea, GENOVA, JOHN WEST, KING OSCAR, SEALECT, FISHO, MONORI, Qfresh, Bellotta, OMG Meat, ZEAVITA เป็นต้น
2. สินค้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายภายใตแบรนด์ของลูกค้า (OEM)
โดยรายได้จะมาจาก Brand 41% : OEM 59%
อีกทั้งยังมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายทั้ง Traditional และ Modern Trade อย่างเช่น Tops, Lotus, Big C, Makro, 7-11, Family Mart, Watsons, ร้านขายยา, ร้านอาหาร, โรงแรม, ผู้ประกอบการอาหาร, Shopee เป็นต้น
Products
1. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (Ambient Seafood): ประกอบไปด้วยสินค้าหลักคือสินค้าบรรจุกระป๋องที่จำหน่ายให้ผู้บริโภคผ่านช่องทางค้าปลีกและบางส่วนผ่านช่องทางค้าส่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มนี้ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเฮอร์ริ่ง โดยลักษณะการทำธุรกิจและอัตราการกำไรของสินค้าต่างๆในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่คล้ายกัน สำหรับลูกค้าหลักของกลุ่มนี้ส่วนมากเป็น
Supermarket ร้านรวมสินค้าราคาพิเศษ ร้านค้า สมาชิก ร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งช่องทางการขายตามโมเดิร์นเทรดต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ส่วนมากจะเป็นสินค้าที่บรรจุในรูปกระป๋องและสามารถบริโภคได้ทันที
2. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็ง (Frozen & Chilled Seafood): ประกอบไปด้วยสินค้าอาหารทะเลเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดจำหน่ายตรงให้กับร้านอาหาร โรงแรม ผู้ประกอบการอาหาร ยังมีผลิตภัณฑ์บางส่วนที่จำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านช่องทางค้าปลีก
ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่มักถูกจัดเก็บอยู่ในตู้เย็นหรือตู้แช่เพื่อทำให้อายุสินค้ายาวขึ้น และเนื่องจากอาหารสัตว์น้ำทั้งกุ้งและปลาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจกุ้ง จึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ด้วย กุ้งเป็นสินค้าที่คิดเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ตามด้วยกุ้งล็อบเตอร์และปลาแซลมอน สินค้าในกลุ่มนี้จะมีอายุสั้นกว่ากลุ่ม Ambient
3. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า (PetCare & Value-Added): ประกอบได้ด้วยสินค้าหลายประเภท ซึ่งจะรวมถึงอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารทะเล อาหารที่นอกเหนืออาหารทะเล สินค้า บรรจุภัณฑ์ รวมถึงการขายส่วนผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิต ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ สินค้าจำพวกขนมปลาเส้น ตับปลาค็อดบรรจุกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป สินค้าติ่มซำ ซอสปรุงรส ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ สินค้าในกลุ่มนี้มีความหลากหลายมาก
ทำให้โครงสร้างในการจัดหา จัดจำหน่าย และการบริโภคแตกต่างกันไป โดยสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงคิดเป็นสัดส่วนใหญ่สุดในกลุ่มนี้ และสินค้าเกือบทั้งหมดเป็นสิค้าจ้างผลิตภายใต้แบรนด์ของลูกค้า (OEM) อีกทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้สามารถทำอัตรากำไรได้สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ
Brands
บริษัทมีแบรนด์ของตัวเองมากมาย แบ่งตามภูมิภาคได้ดังนี้
1. America
1.1 Chicken of the Sea | เป็นกลุ่ม Ambient Product เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน กุ้งล็อบเตอร์ กุ้ง และปู ส่วนแบ่งทางการตลาดในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 14.4%
1.2 GENOVA | เป็นกลุ่ม Ambient Product โดยเน้นไปที่ทูน่ากระป๋องเป็นหลัก
2. Europe
2.1 JOHN WEST | เรียกได้ว่ามีสินค้าทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีสินค้าอาหารทะเลมากมาย ตั้งแต่ ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเฮอร์ริ่ง ปู และหอยต่างๆ ตั้งแต่อาหารกระป๋องไปจนถึงข้าวที่ต้องเวฟ ส่วนแบ่งทางการตลาดในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 33.7%
2.2 PETIT NAVIRE | เป็นกลุ่ม Ambient Product โดยเน้นไปที่ทูน่ากระป๋องเป็นหลัก ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศฝรั่งเศสอยู่ที่ 28.8%
2.3 PARMENTIER | เป็นกลุ่ม Ambient Product โดยเน้นไปที่ปลาซาร์ดีนกระป๋องเป็นหลัก ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศฝรั่งเศสอยู่ที่ 3.1%
2.4 King Oscar | เป็นกลุ่ม Ambient Product มีผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องหลายชนิดแต่จะโดดเด่นในเรื่องรสชาติของปลาซาร์ดีนที่สุด ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศนอร์เวย์อยู่ที่ 12.7% และสหรัฐอเมริกาสำหรับผลิตปลาซาร์ดีนพรีเมียมอยู่ที่ 67.3%
2.5 Mareblu | เป็นกลุ่ม Ambient Product โดยเน้นไปที่ทูน่ากระป๋องเป็นหลัก ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศอิตาลีอยู่ที่ 5.8%
2.6 RÜGEN FISCH | เป็นกลุ่ม Ambient and Frozen Product มีทั้งอาหารทะเลแปรรูปและอาหารแช่เย็น แช่แข็ง อย่างปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแซลมอนรมควัน ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศเยอรมนีอยู่ที่ 19.6%
3. Asia-Pacific
3.1 SEALECT | เป็นกลุ่ม Ambient Product โดยเน้นไปที่ทูน่ากระป๋องเป็นหลัก แต่ก็มีปลาซาร์ดีนและปลาแมคเคอเรลด้วย ส่วนแบ่งทางการตลาดในไทยอยู่ที่ 10% แต่ถ้าดูเป็นผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องจะอยู่ที่ 58.8%
3.2 FISHO | เป็นกลุ่ม Value-Added ที่รู้จักกันดีก็จะเป็นขนมปลาเส้นปรุงรสเป็นห่อๆ
3.3 MONORI | เป็นกลุ่ม Value-Added ทำอาหารทะเลแปรรูป มีทั้งแก้มกุ้ง ปลาหมึก หนังปลาแซลมอน แต่ที่รู้จักกันดีก็จะเป็นขนมแก้มกุ้งปรุงรส
3.4 Qfresh | เป็นกลุ่ม Frozen Product มีอาหารทะเลมากมายแช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ท้งแบบพร้อมทานและพร้อมปรุง อีกทั้งยังมีติ่มซำด้วย
3.5 Bellotta and Marvo | เป็นกลุ่ม PetCare Product อาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสุนัขและแมว มีทั้งอาหารแห้ง อาหารเปียก อาหารเม็ด ทั้งแบบถุงและแบบกระป๋อง
3.6 ZEAVITA | เป็นกลุ่ม Value-Added อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ อย่าง คอลลาเจน แคลเซียม น้ำมันปลา
3.7 OMG Meat | เป็นกลุ่ม Value-Added ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช เช่น เนื้อปู ขนมจีบปู นักเก็ตปลา หอยจ๊อ
นอกเหนือจากนี้ยังมีความร่วมมือเชิงกลยุทธ์อย่าง RED LOBSTER ที่เป็นภัตตาคารอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยทาง TU ได้ขาย Franchise ให้กับ ThaiBev บริหาร RED LOBSTER ในประเทศไทย และเป็นผู้ดูแลคอย Supply สินค้าให้ และยังมี Thammachart Seafood ที่บริษัทถือหุ้น 65% ให้บริการด้านการบริหารเคาเตอร์อาหารทะเลในประเทศไทยมากกว่า 195 แห่ง บริการร้านอาหาร และแนวคิดด้านอาหารและเครื่องดื่มรวม 18 แห่ง อย่างเช่น The Dock Seafood Bar, The Lobster Lab, Ocean Bar เป็นต้น
Financial Highlight
มาดูกันที่งบ 3Q2022 ของบริษัทกันบ้าง
-Sales: 40,756 MB +4.6% QoQ, +14.7% YoY รายได้ของกลุ่ม Ambient กับ PetCare เติบโตเนื่องจาก Demand ยังแข็งแรง และสามารถปรับราคาขายผลักภาระให้กับลูกค้าได้ แต่กลุ่ม Frozen ในฝั่งอเมริกาและยุโรปนั้นต้นทุนสูงขึ้นมาก และมีความกังวลในการเกิด Recession ทำให้ผู้บริโภคน้อยลง ต้นปีหน้าน่าจะได้เห็น Improvement ของกลุ่ม Frozen จากต้นทุนวัตถุดิบที่กำลังปรับตัวลดลง
-Gross Profit: 7,399 MB +12.4% QoQ, +15.8% YoY
-GPM: 18.2% จาก 2Q22 อยู่ที่ 16.8% และ 3Q21 อยู่ที่ 18.0% เพิ่มขึ้นจากการที่บริษัทพยายามโฟกัสไปที่สินค้า Brands ของตัวเองมากขึ้น ปรับปรุงให้มี Margin ที่ดีขึ้น
-SG&A: 5,064 MB +2.5% QoQ, 12.4% YoY
-SG&A to Revenue: 12.4% จาก 2Q22 อยู่ที่ 12.7% และ 3Q21 อยู่ที่ 12.7% ลดลงจากค่า Freight หรือค่าขนส่งที่การปรับตัวลดลงกลับมาใกล้ช่วงก่อนที่จะเกิด Covid-19 แล้ว
-Operation Profit: 2,335 MB +40.3% QoQ, +23.9% YoY
-Net Profit: 2,530 MB +55.8% QoQ, +30.7% YoY
-NPM: 6.2% จาก 2Q22 อยู่ที่ 4.2% และ 3Q21 อยู่ที่ 5.5%
กำไรเพิ่มขึ้นจากการปรับราคาขายและ Sentiment เชิงบวกของกลุ่มส่งออกจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง
โดยมีสัดส่วนการขายในประเทศและต่างประเทศรอบ 9M2022 ดังนี้
America 43.0%
Europe 26.1%
Japan 5.8%
Thailand 10.5%
Other 14.6%
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแนวโน้มสัดส่วนค่อนข้างคงที่ มีขยับเล็กน้อยที่ America ที่เพิ่มขึ้นแล้ว Europe ลงลด +-4%
ถ้าดูเป็นสัดส่วนรายได้ตามประเภทของผลิตภัณฑ์นั้น โดยเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังจะอยู่ที่
Ambient Seafood Product ~45%
Frozen & Chilled Seafood Product ~40%
PetCare & Value-Added Product ~15%
แต่ในช่วง 9M2022 สัดส่วนมีการเปลี่ยนแปลง
Ambient Seafood Product ~43%
Frozen & Chilled Seafood Product ~36%
PetCare & Value-Added Product ~21%
Business Outlook
CAPEX
1. Ingredient Business: ต่อยอดธุรกิจ Ingredient สร้างโรงงานทำ Protein Hydrolysate & Collagen Peptide เป็นการนำส่วนของหัวและหนังปลามาทำ Collagen และ โปรตีน 1.1 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ใน 1Q2023
2. Culinary Business: เป็นการรวม 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ไว้ด้วยกัน สร้างโรงงานผลิตสินค้า Ready to Eat Dimsum & Bakery เป็นหลัก จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตได้ 38% ใช้งบ 1.2 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ใน 2Q2023
3. PetCare Business: สร้างโรงงานเพิ่มกำลังการผลิตอาหารเปียกและอาหารทานเล่นของสุนัขและแมว 18.7% + Automated Packing Line ใช้งบ 2.1 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2023
4. Ambient Business: สร้างห้องเย็นที่ประเทศกาน่า เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ 11,500 ตารางเมตรและเพิ่มโรงบำบัดน้ำเสีย ใช้งบ 550 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปี 1H2023
ในปี 2023 คาดว่าจะมีการลงทุนมากกว่าปี 2022 เนื่องจากมองว่าสถานการณ์ต่างๆจะดีขึ้นทั้งเรื่องของ Demand และ Global Supply ผหบ.บอกว่า Oppday รอบหน้าจะเอาแผนมาให้ดู
การเติบโตของยอดขายในปี 2023 คาดว่าจะเติบโตแบบ Single Digit เนื่องจากปีนี้ฐานสูงโตแบบ Double Digits จากปี 2021 ฐานต่ำจากสถานการณ์ Covid-19
ตัวของ Inventory ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นคาดว่าจะเริ่มดีขึ้นเนื่องจากค่า Freight ที่ลดลง และ สถานการณ์ Container Shortage ที่เริ่มดีขึ้น หลังจากที่ Shortage มาตั้งแต่ช่วง Covid-19 แรกๆ ทำให้ Inventory เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งตัวของ Finish Goods และ Goods in Transit หลังจากนี้น่าจะเริ่มดีขึ้น
Frozen & Chilled Seafood ที่ลดลงเยอะเพราะปีที่แล้วเป็น High Base จากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นบริษัทจึงมีการปรับราคา ทำให้ Margin ของสินค้าสูงกว่าปกติ แต่ปัจจุบันราคาต้นทุนเริ่มกลับลงมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า จึงทำให้ Margin ลดลง แต่หลังจากนี้บริษัทเองจะพยายามออกสินค้าใหม่ๆที่มี Margin สูงขึ้น มุ่งเน้นไปที่ Innovative ใหม่ๆ อย่าง Ready to Eat, Ready to Cook ผ่านแบรนด์ของตัวเองมากขึ้น (Qfresh, Thammachart Seafood)
Summary
สำหรับหุ้น TU เรียกได้ว่าเป็นตัวหุ้นใหญ่ติด SET50 และ SETHD (Yield 5.28%) ในช่วงก่อนๆที่ผ่านมาบริษัทมี GPM ที่อยู่ในระดับที่ไม่สูง แต่หลังจากที่โฟกัสที่สินค้าแบรนด์ตัวเองมากขึ้นก็ทำให้มี GPM ที่เพิ่มมากขึ้น บริษัทไม่ได้โฟกัสไปที่ยอดขายมากนัก แต่จะเน้นที่ Margin ของตัวสินค้าแบรนด์ตัวเองมากขึ้น ทำให้เห็นว่าถึงแม้ยอดขายจะคงๆเดิมแต่กำไรกลับเพิ่มขึ้น สำหรับนักลงทุนที่สนใจอย่างลืมประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#TU
ปล1. จากข้อมูลข้างต้น ไม่มีเจตนาชักชวน หรือให้ซื้อ-ขายตามบทความข้างต้น
ปล2. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาไตร่ตรองการลงทุนว่าจะซื้อหรือขายด้วยตัวท่านเองเท่านั้น
โฆษณา