Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Be(e)_Trader
•
ติดตาม
4 ก.พ. 2023 เวลา 05:58 • หุ้น & เศรษฐกิจ
(EP.2) อยากเป็น Trader ต้องรู้อะไรบ้าง : ตอน Technical Analysis
*บทความนี้เป็นบทความที่ 2 จากที่ผู้เขียนได้เขียนไป*
หากต้องการความรู้เพิ่มเติมลิงค์ซีรีย์อยู่ด้านล่างบทความนี้นะครับ
จากบทความก่อนหน้าผู้เขียนได้แยกไว้ 4 Skill ซึ่งเป็น Skill สำคัญที่ Trader ควรมีไว้ 4 ข้อคือ
1.
Tools / Know Your Tools : รู้จักเครื่องมือของตัวเอง
2.
Technical Analysis Skill : การวิเคราห์กราฟทางเทคนิค
3.
Fundamental Analysis Skill : การวิเคราห์ปัจจัยพื้นฐานของเครื่องมือที่เราใช้
4.
Mentality / Psychology : ความคิด มุมมองรวมถึงความเชื่อที่มีต่อการ Trade
โดยในครั้งนี้เราจะมาพูดถึง Skill ที่ผู้เขียนเองให้ความสำคัญกับ Skill นี้ค่อนข้างมาก คือ "Technical Analysis Skill"
การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคให้อธิบายง่ายๆ เลยคือ การใช้เครื่องมือบางอย่างเช่น การเคลื่อนที่ของราคา รูปแบบของราคา ความเร็ว หรือ น้ำหนัก(Volume)ในการซื้อขายขณะนั้น เพื่อ *หาโอกาศ(Opportunity)* เพื่อเข้าทำการซื้อขาย
ที่ต้องเน้นคำว่าหาโอกาส เพราะว่าเป็นหน้าที่หลักของ Technical Analysis ที่จะทำให้เรารู้ได้ว่าจะซื้อจุดไหน ขายจุดไหน รวมถึงเข้าและออกเวลาไหน ซึ่ง Technical Analysis จะใช้ในกราฟที่มีการ กำหนด(Plot) ราคาไว้ออกเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบเส้น แท่งเทียน และรูปแบบ อื่นๆ เช่น Renko หรือที่รู้จักกันหลากหลากเช่น Heikin Ashi
1
(รายละเอียดในเนื้อหารูปแบบของกราฟเดี๋ยวจะมีการลงเนื้อหาว่าแต่ละแบบมีประโยชน์อย่างไรในอนาคตนะครับ)
ซึ่ง "Technical Analysis" มีหลากหลายวิธีมากในการอ่านกราฟ 1 กราฟแม้ว่าจะเป็นกราฟเดียวกัน เรียกว่าเยอะจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียวซึ่งในส่วนของ Instrument ที่สามารถใช้ในการวิเคราห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) นั้นผู้เขียนจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทแบบเข้าใจง่ายดังนี้
1. เครื่องมือ(Tools) : เครื่องมือนี้จะอยู่ในลักษณะของภาพที่มีสัดส่วนต่างๆโดยอ้างอิงจากราคาในกราฟ อาศัยเครื่องมือและทฤษฎีที่อิงอยู่ในเครื่องมือเองเป็นหลัก
*ตัวอย่างเช่น คนที่เริ่มศึกษาน่าจะได้เห็นผ่านตามาบ้างอย่าง "Fibonacci"*
ต้องอธิบายก่อนว่า ตัว "Fibonacci" เป็นลำดับตัวเลขที่พบเจอได้ในธรรมชาติซึ่งใช้ตั้งแต่วงการคณิตศาสตร์จนถึงงานศิลปะซึ่งจะรู้จักในชื่อของ "อัตราส่วนทอง(Golden Ratio)" เช่นเดียวกันกับวงการ Trade ก็จะมีการใช้ลำดับตัวเลขดังกล่าว เช่น 0.382 0.5 0.618...
2. ตัวบ่งชี้(Indicator/Indy) : ตัวบ่งชี้ เป็นการใช้สูตรการคำนวนทางคณิตศาสตร์ โดยอ้างอิงจากราคาในกราฟ ซึ่ง Indicator ก็จะมีหลายหลายรูปแบบมากมายแลขึ้นอยู่กับสไตล์ของการ Trade ของแต่ละตัวบุคคลเป็นอย่างไร และต้องการรู้อะไรบ้างเพื่อเข้า Trade เช่น ความรุนแรงของการซื้อขาย(Momentum) จำนวนการซื้อขายขณะนั้น(Volume) ฯลฯ
*ทั้งนี้ Indicator จะใช้ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นก็ต้องอาศัยความรู้ทางอื่นๆมาประกอบด้วยเช่น รู้ว่าตัวเองชอบ Trade แบบไหน (Scalping, Day, Swing หรือ Position) ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ / Test / ความรู้สึกเฉพาะตัวหรือบุคคล*
1
ผู้เขียนจะยกตัวอย่าง Indicator ที่คนที่สนใจ Trade น่าจะได้เห็นผ่านๆมาบ้าง อย่าง MACD (Moving Average Convergence Divergence) ก็เป็นหนึ่งใน Indicator ที่จะนำมาทำเป็นระบบการ Trade (Strategy) ได้ โดย MACD เป็น Indicator ประเภท Momentum ใช้ดูว่า ณ จุดราคานั้นๆ มีการซื้อขายที่ มาก / น้อย เกินไป (Overbought/Oversold) และคิดตามสูตรการคำนวน เพื่อหาจุดกลับตัวของราคา ณ เวลานั้นๆ
"ตัวอย่าง Indicator MACD บนกราฟการซื้อขาย"
3.อื่นๆ (Other) : ในหัวข้อนี้นี้ ก็จะไม่ใช่เครื่องมือซะทีเดียวแต่จะวิเคราห์กราฟการซื้อขายโดยอิงอยู่กับทฤษฏีอื่นๆ ที่ใช้มาทำ Strategy หรือ แผนการ Trade ได้ เช่น โครงสร้างของราคา(Structure), Price Action, รูปแบบของราคา / รูปแบบของแท่งเทียน (Price Pattern/Candle Pattern) อีกมากมายย (ย.ยักษ์ล้านตัว) ให้เลือกสรร
เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ ก็คงมีคำถามว่า
"เอ้า...แล้ว Indicator ก็เยอะ ทฤษฏีอื่นๆ ก็เยอะ แล้วจะต้องรู้อะไรบ้าง แล้วเริ่มจากตรงไหน งงไปหมด" มีทั้งข่าวร้ายและข่าวดีครับ
- ข่าวร้ายคือ ไม่มีใครรู้ว่าแบบไหนคือ การวิเคราะห์ หรือ Technical Analysis ที่ถูกต้อง 100% แล้วก็ไม่มีวิธีทางแบบไหน ที่ถูกต้อง 100% เช่นกันครับ
- ข่าวดีคือ ทุกวิธีการ ทุกเครื่องมือ Trade ก็สามารถใช้งานได้ในการทำ Technical Analysis มาใช้เป็นแผนการ Trade (Strategy) ในกราฟจริงได้ *ถ้าใช้อย่างถูกวิธีและถูกต้องตามทฤษฏีของเครื่องมือนั้น*
คำแนะนำจากผู้เขียนสำหรับมือใหม่ คือการ "ลองผิดลองถูก" ทั้งนี้ การ "ลองผิดลองถูก" ต้องมีแบบแผนของตัวเอง
อย่างที่กล่าวไว้ในการอธิบายเครื่องมือในการทำ Technical Analysis ไว้บ้างคือ ความ *เหมาะสมกับเฉพาะบุคคล / เข้ากันได้เฉพาะบุคคล* เพราะแต่ละคนจะมีความชอบ สไตล์การวิเคราะห์ที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงวิธีการอ่านกราฟของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วยแม้ว่าจะเรียนรู้มาจาก ที่ๆเดียวหรือคนๆเดียวกันครับ
ทั้งนี้สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มคือ ต้องเริ่มเรียนรู้ซักอย่างนึง อาจจะเอา Keyword ที่มีใน บทความนี้เช่น Price Action หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เมื่อศึกษาต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจจะปรับแต่งแล้วก็ศึกษาเรื่องอื่นต่อไปเรื่อยๆครับ (ผู้เขียนเองก็เริ่มแบบนั้น) สุดท้ายแล้วหลังจากการปรับแผนการ Trade และการทดลอง(Test) ถึงจุดหนึ่งเราก็จะเจอสไตล์การ Trade ที่เข้ากับวิธีการมองหรือมุมมองของเราต่อกราฟครับ
หรือ..
ตามเพจนี้ไว้เพื่อจะได้ไม่พลาดเนื้อหาการทำ Technical Analysis ในอนาคตครับ (แวะนิดนึง)
-ผู้เขียนถึงผู้อ่าน-
1. บทความนี้เป็นบทความตอนที่ 2 เดี๋ยวจะมีบทความอีก 2 หัวข้อฝากติดตามกันด้วยนะครับ
2.สปอยนิดนึงว่า ในอนาคตก็จะมีคำอธิบายเครื่องมือ ทฤษฎีต่างๆ รวมถึงตัวอย่างการใช้ Technical Analysis และจะพัฒนาเป็น แผนการ Trade (Strategy) อย่างไรได้บ้าง+ สิ่งที่ต้องทำ แบบใช้ได้จริง เช่น วิธีการ Test แผนของเราที่มีว่าสามารถใช้ได้และสามารถอยู่รอดในตลาดไหม ในบทความต่อๆไปครับ
Wisdom is not a product of schooling but of the lifelong attempt to acquire it
Albert Einstein
*บทความดังกล่าวเป็นเพียงการให้ความรู้จากมุมมองและความเห็นของผู้เขียนเท่านั้นไม่ใช่การแนะนำการลงทุน
*การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
การเงิน
การลงทุน
พัฒนาตัวเอง
5 บันทึก
5
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อยากเป็น Trader ต้องรู้อะไรบ้าง : 4 Skill ที่ Trader ควรมี
5
5
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย