9 ก.พ. 2023 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

(EP.3) อยากเป็น Trader ต้องรู้อะไรบ้าง : ตอน Fundamental Analysis

บทความนี้เป็นบทความที่ 3 ของซีรีย์ "อยากเป็น Trader ต้องรู้อะไรบ้าง"
*ถ้าสนใจอ่านบทความก่อนหน้าเนื้อหาในเรื่อง Know your Tools (EP.1) และ Technical Analysis (EP.2) ลิงค์อยู่ด้านล่างบนความนี้นะครับ (รับรองว่าได้ความรู้เพิ่มแบบเต็มๆแน่นอน)*
จากบทความก่อนหน้าเนื้อหาที่ผู้เขียนจะมีแชร์ในซีรีย์นี้มีทั้งหมด 4 เนื้อหาดังนี้
1. Tools / Know Your Tools : รู้จักเครื่องมือของตัวเอง
2. Technical Analysis Skill : การวิเคราห์กราฟทางเทคนิค
3. Fundamental Analysis Skill : การวิเคราห์ปัจจัยพื้นฐานของเครื่องมือที่เราใช้
4. Mentality / Psychology : ความคิด มุมมองรวมถึงความเชื่อที่มีต่อการ Trade
ต้องเกริ่นก่อนว่า Fundamental Analysis หรือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นเป็นอีกหนึ่ง Skill สำคัญที่ Trader ต้องมีเพื่อวิเคราะห์ Instrument นั้นๆเช่นกันครับ ซึ่ง "Fundamental Analysis" นั้นก็จะยึดโยงกับหัวข้อแรก (Know your tools) ด้วย
*ในบทความนี้ผู้เขียนอาจจะไม่ได้ลงลึกเรื่อง วิธีอ่านปัจจัยพื้นฐานแต่ละอย่างแบบเฉพาะการ Trade นั้นๆ เนื่องจาก ปัจจัยพื้นฐานของแต่ละ Instrument นั้นหลากหลายมาก หัวข้อนี้จะเป็นหัวข้อในบทความถัดๆไปครับ
*บทความนี้จะเป็นการแชร์มุมมองประกอบกับให้เห็นได้ว่าการทำ Fundamental Analysis ส่งผลต่อการตัดสินใจ หรือแนวทางการ Trade มากน้อยขนาดไหน
Fundamental Analysis คือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน สายการซื้อขายหุ้นแบบเน้นคุณค่า (VI) น่าจะคุ้นเคยกันอย่างดี เพราะ เป็นวิธีการที่อาศัยความมั่นคงในอนาคตของสินทรัพย์(Assets) นั้นๆ โดยการวิเคราห์ปัจจัยพื้นฐาน สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งเป็นโดยเฉพาะของแต่ละ Instrument หรือ สินทรัพย์(Assets) นั้นๆครับ
*ยกตัวอย่างเช่น หุ้น(Stock) สิ่งที่ควรรู้คือปัจจัยต่างๆที่จะทำให้หุ้นตัวนั้นพัฒนาขึ้นไปต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นกำไรสุทธิ งบการเงินซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในหุ้นนั้น หรือหากเป็นหุ้นปันผลก็ต้องดูสถิติย้อนหลังว่าบริษัทนั้นๆอัตราปันผลมีการพัฒนาอย่างไร ฯลฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเข้าทำการซื้อหรือขาย
เมื่อเราศึกษาข้อมูลมากพอแล้วหรือรู้แล้วว่าปัจจัยพื้นฐานการเคลื่อนที่ของ Instrument นั้นๆเป็นอย่างไรก็จะย้อนไปหาหัวข้อแรกหรือ "Know your tools" หรือรู้จักเครื่องมือที่ใช้นั้นเองครับ
ทั้งนี้มีประเด็นสำคัญ คือ Fundamental Analysis หรือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ก็มีปัจจัยอย่างอื่นของผู้วิเคราะห์หรือเป็นปัจจัยภายในเองด้วย ที่มีผลต่อการทำ Fundamental Analysis นอกเหนือจากข้อมูลที่เป็นปัจจัยภายนอกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ รวมถึงความเชื่อ ของปัจเจกบุคคล
1
เพราะด้วยสาเหตุนี้ทำให้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของ Instrument นั้นๆ แม้ว่าจะวิเคราะห์ ในข้อมูลเหมือนกันหรือเท่ากันและชี้ไปในทิศทางเดียวกันก็อาจจะมี ความเอนเอียง(Bias) ไปตามข้อมูล หรือ ความเชื่อของแต่ละบุคคลเองที่ทำให้การตัดสินใจ(Execution) ไม่เหมือนกันครับ
*ที่ปัจจัยของผู้วิเคราะห์เป็นประเด็นที่สำคัญและผู้เขียนอยากพูดถึงเพราะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ที่มีน้ำหนักเท่าๆกับข้อมูล(Data) จากการทำ Research ครับ
(เพิ่มเติมนิดนึง) ถ้าทำ Fundamental Analysis โดยอิงจากข้อมูล(Data)เพียงอย่างเดียว การที่จะตัดสินใจบางอย่างเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้น อาจมีจุดที่ขัดแย้งกันอยู่ได้ครับ
เพราะ ข้อมูลที่มีเกี่ยวกับสินทรัพย์นั้นๆ ก็จะมีข้อมูลของทั้ง 2 ทิศทางในเรื่องต่างๆ ของ Instrument นั้นๆ และยังให้เหตุผล รวมถึงให้น้ำหนักที่เท่าๆกัน *ในกรณีที่เข้าถึงข้อมูลได้เท่าๆกัน*
*แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือทำ Research ให้เข้าถึงข้อมูลของทั้ง 2 ทิศทางให้ได้มากที่สุด และ ทำมาชั่งน้ำหนักและวิเคราะห์ (Analyze) อีกทีนึงครับ
มาลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ โดยอิงจากเรื่องความเชื่อ เช่น สมมติในประเด็นเรื่องการเติบโตของ Cryptocurrency หรือ สินทรัพย์ดิจิตอล พอพูดมาเรื่องนี้ ก็จะมีทั้งฝ่ายที่เชื่อว่าจะเติบโตในอนาคต และ ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่าจะเติบโตในอนาคต
*ซึ่งในมุมมองของผู้เขียน* หากเชื่อว่าจะเติบโตก็มีเหตุผลว่า Cryptocurrency เริ่มมีการใช้จริงในการใช้จ่ายมากขึ้น ที่เห็นผ่านตามาบ้างว่าเริ่มมีการรับการชำระเงินด้วย Cryptocurrency มากขึ้น และอื่นๆ... แต่หากเชื่อว่าจะไม่เติบโตก็มีเหตุผลว่า การโอนจ่ายด้วยเหรียญต่างๆ หากเกิดข้อผิดพลาด เช่น ใส่ Address ที่อยู่ของ Wallet ผิดตัวเดียว เหรียญนั้นก็ไม่สามารถนำกลับมาได้เลยจากความเป็น Decentralized Currency แล้วก็ไม่รู้จะไปแจ้งเรื่องนี้กับใครเพราะตามไม่ได้ กลายเป็นว่าเสียสินทรัพย์นั้นไปฟรีๆ และอื่นๆ...
*ซึ่งพอพิจารณาจากเหตุผลทั้งสองฝั่งนั้นก็มีสาเหตุที่ฟังขึ้นทั้งสองฝั่งเพราะทั้งสองอย่างก็มีผลต่อการเติบโตของสินทรัพย์นั้นในระยะยาวและอาจจะมีน้ำหนักที่เท่าๆกันด้วยในเรื่องอนาคตของ Cryptocurrency*
ทีนี้เมื่อฟังเหตุผลแล้ว ถ้าลองมองในมุมมองของบุคคลภายนอกที่ไม่มีความ Bias ฝั่งไหนเลย การตัดสินใจ(Execution) หรือการช่างน้ำหนักข้อมูล ที่จะซื้อ(Buy) หรือ ขาย(Sell) เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลที่มี
ปล. อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพ แน่นอนว่าข้อมูลและปัจจัยอื่นๆ ของ Assets นั้นๆต้องพิจารณามากกว่านี้มากครับ
คำแนะนำจากประสบการณ์ของผู้เขียนคือ การทำ Research ก็ต้องหาข้อมูลให้ได้เยอะที่สุด และ สร้าง Bias ของตัวเองขึ้นมาแล้วรองรับ Bias นั้นด้วยข้อมูลเฉพาะของสินทรัพย์นั้นๆที่จะ Trade ตาม Research ที่หาข้อมูลมา เพื่อทำให้การตัดสินใจรวมถึง Bias เอง เป็นการตัดสินใจที่มี Bias ที่ดีครับ
หลังจากที่อ่านมาทั้งหมดก็จะมีประเด็นสำคัญอย่างนึงที่ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า "แสดงว่า แม้ว่าข่าวจะเป็นยังไง จะดีจะร้าย *ก็ไม่มีใครรู้อยู่ดี* ว่าสินทรัพย์นั้นๆ จะไปในทิศทางไหน เพราะ ข่าวต่อสินทรัพย์นั้นๆก็จะมีทั้ง 2 ฝั่งตลอด ?"
คำตอบคือ ใช่ครับ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ทำได้อยู่ ซึ่งในส่วนที่บอกว่าใช่ คือ ไม่มีใครหยั่งรู้อนาคตได้ 100% ครับ ว่าสินทรัพย์นั้นจะไปทิศทางไหน(เช่นเดียวกับ Technical Analysis) แต่ยังคงมีสิ่งที่ทำได้อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น คือ การหาเหตุผลและข้อมูลมา Support ให้ Bias ที่มีอยู่ครับว่าหากมองไปในทิศทางนั้นแล้วมีเหตุผลอะไรที่มากพอว่า Instrument นั้นจะไปตามทิศทางนั้นๆตามความคิดหรือความเชื่อของเรา
*คีย์หลักคือ "Bias" ที่เป็นตัวตัดสินว่าในอนาคตเราจะเข้าซื้อขาย(Trade) สินทรัพย์นั้นๆไปทิศทางใด และ เพิ่มความเป็นไปได้ ตามข้อมูล+ความเชื่อ ที่มี
-คำแนะนำของผู้เขียนเพิ่มเติมจากประสบการณ์-
จากที่เขียนอธิบายมาข้างต้นก็อาจจินตนาการได้ว่า เหรียญที่มีสองด้านไม่ว่าใครจะบอกอย่างไร จะสนิมขึ้นหรือจะกระทบมากขนาดไหนเหรียญนั้นถ้าเหรียญยังคงมีสองด้านอยู่ เหรียญนั้นก็จะออกได้ทั้งสองด้านเหมือนเดิมครับ (เปรียบเปรยนิดนึง)
สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือ "หาข้อมูลทำ Research" และ "เชื่อในตัวเอง" ทำอย่างไรก็ได้ให้เรารู้จักสิ่งที่เราจะเข้าทำการซื้อขาย(Trade) ให้ดีที่สุด ซึ่งผู้เขียนเองที่ Trade "Forex" ยกตัวอย่างเช่น คู่เงิน EURUSD (Euro ต่อ US Dollar) ก็ต้องหาว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการ แข็งหรืออ่อนค่าของค่าเงิน Euro และ USD อาจจะเป็นข่าว หรือ ตัวเลขทางเศรษฐกิจ ก็จะมีแนวทางว่า คู่ Euro ต่อ US Dollar นั้นจะไปในทิศทางไหนเพื่อมารวมเข้า หรือ Confluence กับ การวิเคราะห์อื่นก่อนการตัดสินใจ(Execution)
Opportunity is a haughty goddess who wastes no time with those who are unprepared.
George S. Clason
-ผู้เขียนถึงผู้อ่าน-
1.บทความนี้อยากเน้นนิดนึงครับ ในเรื่อง "เชื่อในตัวเอง" การตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าด้วยข้อมูลอะไร จากการค้นคว้าอะไร ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าได้หาข้อมูลปัจจัยพื้นฐานที่มากพอ การตัดสินใจนั้น แม้ว่าจะผลเป็นอย่างไรแต่มันคือการตัดสินใจที่ดี เพราะ นอกจากจะทำให้เห็นข้อผิดพลาดที่เกิดแล้ว จะทำให้ฝึกเป็นนิสัยในระยะยาวด้วย
2.หากชอบหรือไม่อย่างไรก็ฝากกด Like หรือ มีเรื่องที่สนใจพิเศษ Comment กันมาได้ครับ ผู้เขียนยินดีนำข้อความเห็น/เสนอแนะ ไปปรับปรุงให้บทความดียิ่งๆขึ้นครับ
1
*บทความดังกล่าวเป็นเพียงการให้ความรู้จากมุมมองและความเห็นของผู้เขียนเท่านั้นไม่ใช่การแนะนำการลงทุน
*การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
โฆษณา