4 ก.พ. 2023 เวลา 05:00 • สุขภาพ

นมแม่ รักแท้จากแม่สู่ลูก

🥰 นมแม่ดีมั้ย? เลี้ยงลูกนมแม่ยากไหม?ใคร ๆ ก็รู้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นดีทั้งต่อลูกและแม่แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มีอุปสรรคและขวากหนามอยู่พอสมควร
นมแม่-ตอนที่๑
ป้าขอเล่าและแชร์ประสบการณ์ตรงโดยตัดเอามาเล่าเป็นตอนเผื่อเป็นประโยชน์ให้คุณแม่มือใหม่ค่ะ
..แม้มันจะยากแต่ความรัก ความอบอุ่น ความสุข และความขลุกขลักมันมีเยอะ
👉ก่อนอื่นดูตาราง(บนปก) ข้อดี-ข้อด้อย ของนมแม่-นมขวด ก่อนค่ะแล้วอ่านต่อ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นความสุขที่อธิบายออกมาเป็นตัวหนังสือได้ยาก หากเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของคนเป็นแม่
แม่ ต้องลงทุน”ลุก”ตื่นมาบ่อย ๆ คอยให้นมลูก ซึ่งเป็นอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อลูกมากเกือบจะที่สุดต่อชีวิตเค้าและเราด้วย
❤️เป็นการต่อเติมสายใยระหว่างแม่และลูกตามคำที่ว่า"แม่ลูกผูกพัน" ได้อย่างมาก หาใดมาทดแทนได้จริง ๆ
..แต่กระนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มีอุปสรรคและความยากอยู่บางประการ
🌲ปัญหาและอุปสรรค
1) “ลูกตื่นบ่อย”
เป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องเจอแน่นอนโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิตลูกน้อย และถ้าเราเลี้ยงด้วย นมแม่ ลูกยิ่งตื่นบ่อยมาก
👉ทำให้คุณแม่มือใหม่นอนหลับพักผ่อนน้อยลงมาก ๆ เป็นเรื่องที่กระทบชีวิตคุณแม่อย่างกระทันหันและทันทีที่เราเป็น
”แม่”
การได้ยินเสียงร้องไห้ครั้งแรกของลูกคือดราม่าเหมือนในหนังหรือละครจริงๆ ค่ะ
👶เสียงร้องไห้ครั้งแรกของลูกเป็นสัญลักษณ์ว่า ชีวิตใหม่ได้กำเนิดขึ้น
และ เป็นสัญญาณว่า ชีวิต”แม่”อย่างเรา จะเปลี่ยนไปตลอดกาลเช่นกัน
เมื่อสิ้นเสียงร้อง อุแว้ อุแว้..แม่ส่วนใหญ่ที่เกิดอาการเพลียจากการคลอด กลับรู้สึกตัว ตื่น และมีความสุขที่เต็มตื้น..จนต้องหลั่งน้ำตา แทบจะทุกคนเลยก็ว่าได้
..เมื่อป้าได้ยินเสียงร้องของลูกครั้งแรกที่ไม่เหมือน..อุแว้ อุแว้ กลับกลายเป็น
เสียง”แอ๊ะ แอ๊”อย่างดังลั่นแล้วแม่อย่างเราก็หลับยาว น่าจะราว ๆ สองถึงสามชั่วโมงซึ่งกลายเป็นการหลับที่เต็มอิ่ม เพียงครั้งเดียวหลังจากมีลูก
❤️เมื่อมีลูกน้อยกลอยใจแล้ว คำว่า หลับสนิท หลับลึก ค่อย ๆ ห่างหายไปจากชีวิตของเรา
มั่นใจว่าแม่แทบทุกคนเป็นแบบนี้ คือเพียงลูกขยับตัวหรือกระดุกกระดิก หรือกระดึ๊บ ๆ เกิดเสียงเบาแสนเบา สัญชาติญาณของแม่พาให้แม่ตื่นทันที ค่ะ
แม่มักตื่นตามอาการที่ลูกน้อยขยับ แม่ทุกคนน่าจะต้องรีบพลิกตัว หันมามองหาลูกน้อย หรือต้องรีบลุกมาดู อันนี้เป็นกันแทบร้อยทั้งร้อยของคุณแม่ค่ะ คอนเฟริ์ม ไอ้ที่จะผัดผ่อนว่า”น่านะ ขอนอนต่ออีกนิดหนึ่ง”นั้นไม่มี
..ด้วยความเป็นแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงอดไม่ได้ที่จะตื่นเพื่อมาป้อนนมแถมให้เสียเลย เพื่อให้มั่นใจว่าลูกสบายดี
อุปสรรคข้อที่สอง
2.)ลูกของเราตื่นกันวันละกี่หน?
👉ลูกจะตื่นอีกอีกกี่ครั้งกี่หน?
บอกยากค่ะ ขึ้นกับอุปนิสัยและลักษณะการดูดกินนมของลูกล่ะค่ะ
ส่วนใหญ่ในช่วงสัปดาห์แรก ลูกน้อยยังเล็กมากเป็นทารกที่เพิ่งออกจากท้องแม่ใหม่ ๆ ลูกจะนอนหลับและตื่นเป็นพัก ๆ การดูดนมแม่จึงดูดทีละน้อยแต่บ่อย
ดูดคราวละไม่มากนัก
  • ที่จำได้ขึ้นใจคือ ในช่วงนี้ สัปดาห์แรกจนหนึ่งเดือนแรกลูกน้อยจะดูดแป๊บ ๆ แล้วหลับ แล้วก็ตื่นขึ้นมาดูดเต้าใหม่ ซ้ำ ๆ แบบนี้
  • นับแล้วเกิน 10 ครั้งในหนึ่งคืน
  • และลูกของเรามักดูดเพียงเต้าเดียว ดูดแต่ละครั้งแค่ห้าถึงเจ็ดนาทีเท่านั้น “เค้าอื่มแล้ว”
  • ดูดเต้าเดียวจึงต้องคอยเปลี่ยนข้าง ไม่งั้นเดี๋ยวเป็นนางมณโฑนมโตข้าวเดียวนะคะ
  • หลังจากนั้นก็หลับตาพริ้ม&อมยิ้มด้วย อมยิ้มน้อย ๆ ดูมีความสุขอย่างง่ายแสนง่ายตามแบบของเค้า
❤️เวลาที่ลูกอิ่มแล้วหลับตาพริ้มเป็นภาพที่งดงาม
ติดตรึงอยู่ในดวงใจคนเป็นแม่
มิลืมเลือน👶
แม่ ของลูกทุกคน ค่ะ
❤️👶🥰
ส่วนข้อดีนมแม่มีเยอะ ขอ
สรุปมา 6 ข้อก่อน
- เป็นแหล่งอาหารชั้นหนึ่งของทารกส่วนใหญ่
- เป็นที่พึ่งพิงทั้งทางกายและจิตใจทำให้ลูกอบอุ่น
- เกื้อหนุนป้องกันภัยจากโรค เพราะมีเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันส่งตรงไปที่ลูกผ่านทางนมแม่
- ลดการเกิดโรคหอบหืด เบาหวานบางชนิด โรคติดเชื้อในหูชั้นนอก รวมทั้งโรคอ้วนในลูก(มีโรคอื่นอีกยกมาแต่ที่เจอบ่อยนะคะ)
- ลดอัตราเสี่ยงภาวะตายกระทันหันไม่ทราบสาเหตุ(SIDS: sudden infant death syndromes)ในลูก/ทารก ค่ะ
- สำหรับคุณแม่ ลดการเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ด้วยค่ะ
ป้าพาฝากไว้
สำหรับอุปสรรคที่จะเข้ามากระทบชีวิตคุณแม่อย่างกระทันหันยังมีอีกกระจุ๊กกระจิ๊ก กรุบกริบ
(รวมทั้งอุปสรรคที่จะมาจากคุณพ่อ-คู่ชีวิต)ขอไปต่อกันในตอนที่ ๒ ค่ะ
อ้างอิง
- นมแม่
- The physiological basis of breastfeeding, SESSION 2
- ประโยชน์ของ นมแม่ จาก CDC

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา