4 ก.พ. 2023 เวลา 09:45 • ประวัติศาสตร์

พระจักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลี่ซื่อหมิน(Tang Taizong) ค.ศ. 599-649

กษัตริย์
สมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง พระนามเดิม คือ หลี่ซื่อหมิน เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ถัง พระองค์ประสูติเมื่อปี ค.ศ.599 โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์รองของจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่หยวน) ปกครองในปี ค.ศ. 620-627
โอรสทั้ง 3 ของจักรพรรดิถังเกาจู่เกิดแย่งชิงอำนาจกัน แต่ก็เป็นโอรสองค์รอง องค์ชายหลี่ซื่อหมินได้รับชัยชนะและบังคับให้พระราชบิดาตั้งพระองค์เป็นรัชทายาท(ไท่จื่อ)
ต่อมาในปี ค.ศ.627 จักรพรรดิถังเกาจู่ประกาศสละราชสมบัติทำให้รัชทายาทคือหลี่ซื่อหมิง ซึ่งมีพระชันษา 28 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิถังไท่จง ทรงพระปรีชาสามารถทุกด้าน
พระองค์ได้ยึดถือหลักคำสอนของบรมครูขงจื้อในการปกครองประเทศจีนและทำให้ประเทศจีนในยุคที่พระองค์ทรงปกครองรุ่งเรืองที่สุดยุคนึงในประวัติศาสตร์จีน กลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคสมัยของพระองค์
“ภาพวาดปู้เหนี่ยน” ผลงานของเหยียนลี่เปิ่น จิตกรสมัยราชวงศ์ถัง เขียนถึงเหตุการณ์ที่ถังไท่จงทรงต้อนรับทูตต่างเมือง
แม้ว่าพระองค์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดสามารถตัดสินพระทัยสั่งการใดๆ ก็ได้พระองค์ก็ทรงมีได้ปฏิบัติเช่นนั้นพระองค์จะไต่ถามความเห็นของเหล่าเสนาบดีและที่ปรึกษาของพระองค์ก่อนที่จะตัดสินพระทัยเสมอ
โดยเฉพาะที่ปรึกษาท่านหนึ่ง นาม เว่ยจิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของพี่ชายพระองค์ที่เป็นรัชทายาทและได้แนะนำให้พี่ชายของพระองค์วางแผนสังหารพระองค์
1
เนื่องจากที่ปรึกษาท่านนี้มองเห็นว่าพระองค์จะเป็นภัยก่อการกบฏยึดราชบัลลังก์ของพี่ชาย เนื่องจากถังไท่จงเหนือชั้นกว่าจึงวางแผนซ้อนแผนแทนที่พระองค์จะถูกสังหาร พี่ชายของพระองค์กับถูกปลิดพระชนม์ชีพแทน แต่ถังไท่จง รับสั่งมิให้ทหารของพระองค์ทำร้ายที่ปรึกษาผู้นี้
นอกจากไม่ทำลายแล้ว พระองค์ยังทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษาเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีก ด้วยเหตุผลก็คือ เว่ยจิง กล้าคัดค้านพระองค์อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เกรงกลัวหรือหวาดหวันต่อพระราชอำนาจ
1
เว่ยจิง
ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้ เมื่อพระเจ้าถังไท่จงเดินทางจากไปเมืองลั่วหยาง ระหว่างทางได้พักค้างแรมที่พระราชวังเจาเหริน (ปัจจุบันอยู่ในเมืองโซวอัน มณฑลเหอหนาน) และทรงกริ้วเพราะอาหารไม่ถูกใจ
เว่ยเจิง ออกมาทัดทานต่อหน้าถังไท่จงว่า
พระเจ้าสุยหยางที่เคยถูกประชาชนต่อต้านจนต้องสูญเสียเอกราช เพราะการใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยเกินไป ฝ่าบาทควรนําเรื่องนี้มาเป็นบทเรียน”
เว่ยเจิง
2
เมื่อพระเจ้าถังไท่จงได้ฟัง ความโกรธก็มลายหายไปทันที แล้วพูดกับเหล่าขุนนางว่า
ถ้าไม่ใช่เพราะเว่ยเจิง ข้าคงต้องทําผิดอีกแล้ว
พระจักรพรรดิถังไท่จง
1
และอีกเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อ ผางเซียงโซ่ว สหายเก่าของพระเจ้าถังไท่จงรับราชการเมืองผูโจวที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะรับสินบน มาขอความช่วยเหลือ ถังไท่จงเห็นแก่มิตรภาพเก่าแก่จะคืนตำแหน่งให้เขา
แต่เว่ยเจิงคัดค้านหนักแน่น เขาเตือนถังไท่จงว่า
ขุนนางเก่าที่อยากได้ตําแหน่งเป็นจํานวนมาก หากพวกเขาต่างก็คิดเอาความสัมพันธ์ครั้งเก่ามาก่อกรรมทําชั่ว ท่านจะอธิบายกับคนในประเทศชาติเช่นไร
เว่ยเจิง
พระเจ้าถังไท่จงยอมรับในความเห็นของเว่ยเจิงแล้วกล่าวกับผางเซียงโซวว่า
“แต่ก่อนข้า เคยเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นอิน ก็เป็นแค่เจ้านายของแคว้นฉันเท่านั้น ตอนนี้ข้าเป็นจักรพรรดิก็เท่ากับว่าข้าเป็นเจ้านายของประเทศ ไม่อาจเข้าข้างและปกป้องเพื่อนเก่าในแคว้นฉินได้”
พระเจ้าถังไท่จง
จักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นพระมหาจักรพรรดิของจีนพระองค์แตกต่างจากจักรพรรดิทั้งปวง กล่าวคือ ไม่ว่าเชื้อพระวงศ์ก็ดีหรือเสนาบดีก็ดี หรือที่ปรึกษาก็ดีไปแอบนินทา
รูปปั้นของเว่ยจิง
ให้ร้ายพระองค์ลับหลังพระองค์ก็จะทรงลงพระอาญา เพราะถือว่าพระองค์ทรงให้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผยและถูกต้องแล้วบุคคลเหล่านั้นกลับไม่ทำหรือไม่ใช้โอกาสดังกล่าว กลับมาแอบทำลับหลังพระองค์จึงต้องถูกลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง
ส่วนผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านพระองค์ต่อหน้าพระองค์อย่างตรงไปตรงมาอย่างเช่น อดีตที่ปรึกษาของพระเชษฐาของพระองค์ถังไท่จงก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้เพื่อให้บรรดาเหล่าขุนนาง
หรือข้าราชบริพารมีความกล้าที่จะใช้โอกาส ดังกล่าว คัดค้านพระองค์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ไปแอบทำข้างหลัง นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงปลอมเป็นสามัญชนไปกับประธานที่ปรึกษา
ออกตะเวนเยี่ยมประชาชนของพระองค์และตรวจงานการปฏิบัติราชการของข้าราชบริพารเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทรงทราบว่าบรรดารายงานของข้าราชการที่ส่งไปให้พระองค์ทรงอ่านที่เมืองหลวงนั้น มีความถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงมากเพียงใดไม่ใช่ทรงอยู่แต่ในวังหลวง พึ่งพารายงานจากข้าราชการราชการอย่างเดียว
1
จักรพรรดิถังเกาจง
บางครั้งพระองค์ประชวรพระองค์ก็จะทรงส่งประทานที่ปรึกษาของพระองค์ออกทำงานแทนพระองค์ จักรพรรดิถังไท่จงถือว่าประชาชนมีความสำคัญกว่าพระองค์และพระราชวงศ์เวลาพระองค์จะตัดสินพระทัยทำอะไรก็มักจะมองไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเสมอ
1
ช่วงปลายรัชกาลได้เชื้อเชิญซินแสชื่อ หยวนเทียนกัง มาทำนายพระลักษณะขององค์ชายใหญ่ องค์ชาย 4 (หลี่ไช่)และ องค์ชายเล็ก(หลี่จื่อ) ปรากฏว่าหยวนเทียนกัง ได้ทำนายว่าองค์ชายเล็กจะได้ครองราชย์
ถังไท่จง จึงทรงตั้งองค์ชายเล็กเป็นรัชทายาทแทนเองค์ชายใหญ่ เมื่อถังไท่จงสวรรคตลงเมื่อปี ค.ศ.649 ขณะพระชนมายุ 50 พรรษาองค์ชายรัชทายาทหลี่จื้อจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิถังเกาจง
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference พระจักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลี่ซื่อหมิน(Tang Taizong) :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา