21 ม.ค. 2023 เวลา 03:51 • ประวัติศาสตร์

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง(Alexander Fleming, Sir) ค.ศ.1881-1955

นักวิทยาศาสตร์
เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง เป็นนักชีววิทยาและนักเภสัชยาชาวสก๊อตแลนด์เขาเป็นผู้ค้นพบ Penicillium notatum เชื้อราที่ใช้สารสกัดยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน
เฟลมมิง เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1881 ในดาร์เวลเมืองอัสต์อายร์ไซร์ประเทศสก็อตแลนด์ พ่อของเขาชื่อ ฮิวจ์ เฟลมมิง (hugh Fleming) ในวัยเด็ก เฟลมมิง เป็นเด็กซุกซนฉลาดหลักแหลมเมื่อเขาเริ่มเข้าเรียนหนังสือพ่อของ เฟลมมิง ได้ส่งเขาเข้าเรียนที่โรงเรียนคาร์เวลล์ (Carwell School)
หลังจากนั้นเขาได้เข้าเรียนต่อที่คิลมาร์น็อก อะคาเดมี (Kilmarnock Academy) ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาแบคทีเรียวิทยาที่วิทยาลัยการแพทย์ แห่งโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ ในลอนดอน เขาจบการศึกษาในปี ค.ศ.1908
2
Penicillin
โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 หลังจากจบการศึกษา เฟลมมิง ได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกภูมิคุ้มกันโรคและผู้ช่วยของ เซอร์อัลม์โรธเอ็ด เวิร์ด ไรท์ (Sir Almroth Edward Wright)หัวหน้าแผนกแบคทีเรียวิทยาในโรงพยาบาลเซนต์แมรี่
1
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 คือระหว่างปี ค.ศ. 1914-1918 สหราชอาณาจักรเป็นชาติผู้นำในสงครามส่งผลให้ชายฉกรรจ์แทบทุกคนต้องเข้ารับการเกณฑ์หรือไม่ก็สมัครเข้าเป็นทหาร
ในครั้งนี้ เฟลมมิง เข้าเป็นทหารเสนารักษ์โดยติดยศนายร้อยตรีประจำกองทัพตำรวจหลวง(Royal Army Corps)ในระหว่างนี้เองทำให้เขาได้เห็นทหารบาดเจ็บจากการต่อสู้จำนวนมาก และบาดแผลของเหล่าทหารนี้มีอาการอักเสบเป็นบาดทะยักหรือไม่ก็เน่าเปื่อย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทหารต้องเสียชีวิต
แพทย์เสนารักษ์ทั้งหลายพยายามดูแลบาดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อโรคซึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่สำคัญยาที่ใช้ในการในเวลานั้นมีผลทำลาย โฟโตไซท์ของร่างกายอีกด้วย
เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
สิ่งที่เขาเห็นและประสบอยู่ในเวลานั้นคือความเจ็บปวดและช่องว่างทางการแพทย์ที่เป็นอยู่ แต่กะนั้นเวลานั้นเขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการรักษาไปตามอาการและเท่าที่มีเครื่องมือ
กระทั้งสงครามจบสิ้นลงหลังจากปลดประจำการแล้ว เฟลมมิง ก็ได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาที่วิทยาลัยเซนต์แมรี่และในระหว่างที่เขาทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แมรี่นี้เอง
เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับแบคทีเรียตัวหนึ่งที่ชื่อว่าสเตปฟิโลคอลคัส (Staphylococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเซฟติซีเมีย(Septicemia)หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด
โดยอาการของโรคที่ติดเชื้อนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบาดแผลมากและทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา เฟลมมิง ได้เพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ลงบนจานแก้วเพื่อหาวิธีการฆ่าเชื้อโรคชนิดนี้ให้ได้
การทดสอบความไวของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ต่อยาปฏิชีวนะ
อีกทั้งเขายังมีโจทย์ว่ายาฆ่าเชื้อที่เขาค้นคว้านี้จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เขาพยายามค้นหาสารสกัดจากสิ่งต่างๆหลายชนิดเช่น น้ำมูก เนื่องจากครั้งหนึ่งเขาป่วยเป็นหวัดมีน้ำมูกไหล เขาคิดว่าน้ำมูกเป็นสิ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นมา
จากนั้นเขาจึงใช้น้ำมูกหยดลงในจานที่มีแบคทีเรียผลปรากฏว่าสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่เชื้อแบคทีเรียที่ตายนั้นเป็นเพียงเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ร้ายแรง
เมื่อน้ำมูกไม่ได้ผลอย่างที่เขาต้องการ เฟลมมิง ก็ได้ทดลองนำสิ่งที่ร่างกายผลิตได้ทดลองต่อมา นั่นคือ น้ำตา เขาใช้น้ำตา 2-3 หยดหยดลงในจานแบคทีเรียครั้งนี้ปรากฏว่าน้ำตาสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าน้ำมูกใสอีก แต่นั่นแหละน้ำตาเป็นสิ่งที่หายากมาก เฟลมมิง จึงต้องหาอย่างอื่นมาทดแทน
ในการทดลองนั้นซึ่งพบว่าในน้ำตาลมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าเอนไซม์ซึ่งเขาคิดว่าเจ้าสารตัวนี้จะเป็นสิ่งที่ทำลายแบคทีเรียได้ ซึ่งได้นำเล็บ เส้นผมและผิวหนัง มาทดลองเอนไซม์ที่สกัดได้มักมีผลกระทบต่อร่างกายอันเป็นผลร้ายทั้งสิ้น แต่เขาก็ยังไม่หยุดที่จะค้นคว้า
อะม็อกซีซิลลิน–ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน ในประเทศไทย
ในที่สุดเขาก็ค้นพบเอนไซม์ชนิดหนึ่งในไข่ขาว ชื่อ ไลโซไซร์ แต่การแยก ไลโซไซร์ บริสุทธิ์ออกมาทำให้ยากมาก อีกทั้งเขาก็ขาดแคลน เครื่องมืออันทันสมัย คน และเวลา
1
ทางออกเดียวที่เขาคิดได้ในเวลานั้นคือการเขียนบทความเผยแพร่ลงในวารสารฉบับหนึ่งเพื่อหาเงินทุนในการทดลองแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเลยดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องหยุดชะงักแต่เพียงเท่านี้
แต่ก็ใช่ว่าอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงจะละทิ้งมันเสียทีเดียว เขายังคงค้นคว้าและทำการทดลองหาวิธีฆ่าเชื้อโรคอย่างไม่หยุดหย่อน
ในปี ค.ศ.1928 เฟลมมิง ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาแบคทีเรียแต่เขาก็ยังคงทำการทดลองเพื่อค้นหาวิธีฆ่าเชื้อโรคต่อไป เฟลมมิง ซื้ออุปกรณ์ชนิดใหม่สำหรับเพาะเชื้อแบคทีเรียโดยลักษณะเป็นจานแก้วใสก้นตื้นมีฝาปิด
เฟลมมิง ได้ใส่พืชทะเลชนิดหนึ่งลงไปในการทดลองที่มีแบคทีเรีย จากนั้นปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมลงไป แล้วจึงนำไปเก็บไว้ที่ที่มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสซึ่งเท่ากับอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์
โฮวาร์ด วอลเทอร์ (Howard Walter )
เขามอบหมายหน้าที่ในการดูแลการแบคทีเรียให้กับผู้ช่วยของเขา อยู่มาวันหนึ่งผู้ช่วยของเขาลืมปิดฝาจาน แถมยังตั้งทิ้งไว้บนโต๊ะใกล้กับหน้าต่างห้องทดลองอีกด้วย
ปรากฏว่ามีเชื้อราสีเทาเขียว ลักษณะคล้ายกับราที่ขึ้นบนขนมปังอยู่เต็มไปหมด เฟลมมิง โกรธผู้ช่วยของเขามาก แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ไม่ได้ทิ้งจานทดลองอันนี้และนำมาไว้ที่มุมหนึ่งของห้อง
เมื่อมีเวลา เฟลมมิง ก็หยิบเอาจานทดลองที่เต็มไปด้วยเชื้อรามาทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งอย่างละเอียด โดยเขาก็พบว่าเชื้อราชนิดนี้กินเชื้อแบคทีเรีย สเตปฟิโลคอกคัส ได้
เฟลมมิง เริ่มเพาะเชื้อราชนิดนี้ในขวดเพาะ เมื่อเพาะเชื้อราได้จำนวนมากพอ เฟลมมิง ได้นำเชื้อแบคทีเรีย 6 ชนิด ใส่ลงจาน แล้วนำเชื้อราใส่ลงไป ปรากฏว่าเชื้อราสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 4 ชนิด ที่เหลืออีก 2 ชนิดเป็นแบคทีเรียชนิดร้ายแรง ที่ทำให้เกิดโรคอย่างแอนแทร็กซ์และคอตีบ
จากนั้นซึ่งได้สอบถามไปยังนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความรู้ทั้งหลายว่าเชื้อราชนิดนี้ชื่ออะไร ในที่สุดเขาก็ได้คำตอบว่าเชื้อราชนิดจัดอยู่ในกลุ่มเพนิซิลเลียมชื่อว่า เพนิซิเลียม อุมรูบรุม
ด้วยความมั่นใจนั่นเองทำให้ในเวลาต่อมาซึ่งได้นำเชื่อราชนิดนี้สกัดเป็นยาชื่อว่า เพนนิซิลลินและเขาก็ได้นำยาชนิดนี้มาใช้กับสัตว์ทดลองซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี กะนั้นในระยะแรกเขาก็ไม่กล้าใช้กับคนเพราะยังไม่สามารถ สกัดเพนนิซิลลินบริสุทธิ์ได้
เฟลมมิง ได้ทดลองแยก เพนนิซิลลิน วิธีแต่ก็ไม่สามารถแยกได้ ดังนั้นจึงเขียนบทความลงในวารสารการแพทย์เล่มหนึ่งซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมาก แล้วก็มีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งสามารถแยกเพนิซิลลินบริสุทธิ์ได้สำเร็จนักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นก็คือ โฮวาร์ด วอลเทอร์ (Howard Walter ) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย
จากการค้นพบครั้งนี้ เฟลมมิงได้รับการยกย่องและได้รับมอบรางวัลสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆกว่า 30 แห่งทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1944 เฟลมมิง ได้รับพระราชทานยศเป็นท่านเซอร์และในปี ค.ศ.1945 เฟลมมิง ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ร่วมกับ โฮวาร์ด วอลเทอร์ และ เอิร์น โบร์ลเชน
ยาเพนนิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะยาชนิดนี้สามารถรักษาโรคต่างๆได้มากกว่า 80 โลกเช่น แอนแทร็กซ์ คอตีบ ปอดอักเสบ บาดทะยักและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
เฟลมมิง เสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบ ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1955 (พ.ศ. 2498)ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง(Alexander Fleming, Sir) :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา