Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sahavate Institute
•
ติดตาม
7 ก.พ. 2023 เวลา 02:04 • สุขภาพ
#กระดูกหักล้า (Bone Stress Injuries) ต้องพักฟื้นนานเท่าใด?
กระดูกหักล้า (Bone Stress Injuries) คือ #การแตกหัก เล็กๆ ภายในกระดูก ซึ่งเกิดจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่หนักจนเกินไป เช่น เพิ่มระยะทางหรือเวลาในการวิ่งเร็วเกินไป
ผู้ที่เป็นกระดูกหักล้า จะมี #อาการปวด เมื่อออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เช่น วิ่งแล้วปวด พอหยุดวิ่งก็หายปวด
กระดูกหักล้าส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณ #กระดูก ที่ต้องรองรับน้ำหนักและแรงกระแทก เช่น กระดูกหน้าแข้ง กระดูกข้างหน้าแข้ง กระดูกบริเวณข้อเท้า กระดูกนิ้วเท้า เป็นต้น
#งานวิจัย ล่าสุดได้แสดงถึงระยะเวลาในการพักฟื้นตั้งแต่เริ่มมีอาการปวดจนกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้อีกครั้ง โดยแบ่งตามบริเวณที่เกิดอาการ ดังนี้
1.
กระดูกข้อเท้า (Navicular) ใช้เวลาพักฟื้น 102 – 151 วัน
2.
คอกระดูกต้นขา (Femoral neck) ใช้เวลาพักฟื้น 79 – 135 วัน
3.
กระดูกหน้าแข้ง (Tibial shaft) ใช้เวลาพักฟื้น 27 – 61 วัน
4.
กระดูกข้างหน้าแข้ง (Fibula) ใช้เวลาพักฟื้น 13 – 100 วัน
ตอนนี้แอดมินกำลังเปิดรับสมัคร #คอร์สกายภาพบำบัดออนไลน์ อยู่นะครับ สนใจอ่านรายละเอียดได้จากลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ
- สำหรับ #นักกายภาพบำบัด:
https://bit.ly/3z2X64Y
- สำหรับ #บุคคลทั่วไป:
https://bit.ly/3CWb5KS
กายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การกีฬาโดย Sahavate
Facebook: Sahavate (
https://www.facebook.com/sahavate
)
Facebook group:
https://www.facebook.com/groups/sahavatefc
Line OpenChat: Sahavate (
https://bit.ly/3jQG5Eb
)
ที่มา: Hoenig T, et al. Return to sport following low-risk and high-risk bone stress injuries: a systematic review and meta-analysis. Br J Sports Med 2023:bjsports-2022-106328.
วิ่ง
วิ่งเทรล
กายภาพบำบัด
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย