Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ป่ะว่า
•
ติดตาม
7 ก.พ. 2023 เวลา 11:42 • ประวัติศาสตร์
รู้ป่ะว่า...รถไฟฟ้าใต้ดินเคยชนกันที่ศูนย์วัฒนธรรมฯ ตอนจบ
ตอน สาเหตุของความผิดพลาด
เพื่อเร่งหาสาเหตุที่เกิดขึ้นและกอบกู้ความเชื่อมั่นถึงความปลอดภัยของคนกรุงในการกลับมาใช้บริการอีกครั้ง ขั้นตอนการสืบสวนจึงเริ่มต้นขึ้น
จากทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทปบันทึกเสียงการสั่งการจากส่วนกลางไปยังเจ้าหน้าที่ควบคุมรถ ตลอดจนคู่มือบังคับรถและกล่องดำ
เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดและนำปะติดปะต่อกันแล้วนั้น จึงได้บทสรุปดังนี้
ในเช้าวันที่เกิดเหตุ รถไฟขบวน EMU 08 ได้วิ่งมาจากอุโมงค์ในรางที่ 3 เพื่อขึ้นไปยังศูนย์ซ่อมบำรุงห้วยขวาง แต่เนื่องจากความเร็วในการขับที่ช้าเกินไป ทำให้ขบวนรถเกิดติดอยู่ตรงทางขึ้นลงซึ่งเป็นที่ลาดเอียงเล็กน้อยและไม่สามารถเคลื่อนขบวนต่อไปได้
เมื่อขบวนรถไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้ ทางศูนย์ควบคุมการเดินรถของศูนย์ซ่อมบำรุงจึงได้ออกคำสั่งแรกเพื่อทำการช่วยเหลือโดยการให้รถไฟขบวน EMU 17 มาทำการต่อพ่วงเพื่อชักลากขบวน EMU 08 ขึ้นไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง
แต่เนื่องจากตำแหน่งที่ EMU 08 จอดอยู่นั้นเป็นเนินไม่ใช่ทางเรียบ เมื่อขบวน EMU 17 วิ่งมาจอดใกล้กันเพื่อเชื่อมต่อจึงไม่สามารถทำได้ เพราะระดับไม่เท่ากัน
ภาพจำลองเหตุการณ์ เสียงบันทึกจากกล่องดำ
ดังนั้นทางศูนย์ซ่อมบำรุงจึงได้ออกคำสั่งที่สองตามมา โดยการแจ้งให้ขบวน EMU 17 ทำการดันขบวน EMU 08 เพื่อถอยกลับเข้าไปอุโมงค์ตามรางที่ 3 เหมือนเดิมเพื่อเข้าสู่ระบบจ่ายกระแสไฟในรางได้
โดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์ควบคุมได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำขบวน EMU 08 “ทำการปิดหม้อลม” เพื่อปลดเบรกให้สามารถทำการดันขบวนรถกลับไปได้ โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือวิธีที่ผิด
ภาพจำลองเหตุการณ์ เสียงบันทึกจากกล่องดำ
เนื่องจากหม้อลมเปรียบเสมือน core หลักในการเบรก หากหม้อลมถูกปิดอยู่ต่อให้เบรกขนาดไหนก็จะไม่มีผลอะไรเลย และปกติการปิดหม้อลมจะสามารถทำก็ต่อเมื่อขบวนรถไฟจอดนิ่งสนิทที่ศูนย์ซ่อมบำรุงเท่านั้น และวัตถุประสงค์ในการปิดหม้อลมก็เพียงเพื่อทำการตรวจเช็คประสิทธิภาพการใช้งาน และจะต้องเปิดหม้อลมทุกครั้งที่การซ่อมบำรุงเสร็จเรียบร้อย ห้ามปิดทิ้งไว้
เพียงชั่วเสี้ยววินาที เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อขบวน EMU 17 เคลื่อนที่เข้าไปแตะขบวน EMU 08 ที่จอดนิ่งอยู่บนเนินนั้น แน่นอนว่าด้วยน้ำหนักมหาศาลบวกกับทางลาด มันจึงส่งให้EMU 08 ทั้งขบวนไหลกลับลงไปในอุโมงค์อย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีอุปกรณ์ห้ามล้อใดๆ
ภาพจากกล้องวงจรปิด
เมื่อขบวนรถไหลกลับลงไป แทนที่จะวิ่งไปตามรางที่ 3 แต่ดันมีการจัดการรางที่ผิดพลาดจึงทำให้ทั้งขบวนวิ่งไหลไปตามรางเดียวกับที่รถไฟอีกขบวนมุ่งหน้าไปทางหัวลำโพงกำลังจอดรับผู้โดยสารอยู่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ที่อยู่ห่างกันประมาณหนึ่งกิโลเมตร จึงเกิดการชนกันอย่างสนั่นหวั่นไหว
ภาพการไหลของขบวนรถ
ในระหว่างที่กำลังรถไหลไปนั้น เจ้าหน้าที่ประจำรถซึ่งถือว่ายังมีสติ ได้ทำการติดต่อไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรม เพื่อสั่งหยุดขบวนรถที่กำลังจะออกไว้ก่อน คิดดูว่าหากขบวนรถคันนี้วิ่งออกไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ความแรงที่ประสานงากันคงเกิดการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
สิ่งที่ตามมาหลังจากเหตุการณ์คือ
- รถไฟฟ้าใต้ดิน ได้หยุดให้บริการประมาณสองสัปดาห์ เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและซ่อมแซมสถานที่เกิดเหตุ
- ทุ่มเงินกว่า 40 ล้านบาท ในการว่าจ้างที่ปรึกษาจากประเทศเยอรมันเข้ามาดูแลระบบการเดินรถ
- ดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่วันนั้นจวบจนปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการใช้รถไฟฟ้าใต้ดินก็ยังคงมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้าง แต่หากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์นี้ผมคิดว่ามันกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลยทีเดียว
สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ
หากตอนนี้ใครที่กำลังอยู่บนรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถกำลังจอดอยู่ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ท่านกำลังอยู่ตรงจุดประวัตศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วนะครับ
สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนก่อนหน้า สามารถตามได้ที่ลิงก์นี้ครับ
ตอนที่ 1
https://www.blockdit.com/posts/63e22dbfc0fd04717c37f42e?id=63e22dbfc0fd04717c37f42e&series=63e23828d18e3a36876e3570
ตอนที่ 2
https://www.blockdit.com/posts/63e230dacc05dc12915ecd79?id=63e230dacc05dc12915ecd79&series=63e23828d18e3a36876e3570
ประวัติศาสตร์
ความรู้
บันทึก
3
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้ป่ะว่า...รถไฟฟ้าใต้ดินเคยชนกันที่ศูนย์วัฒนธรรมฯ
3
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย