Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A Cup of Culture
•
ติดตาม
12 ก.พ. 2023 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
Reshape Your Workplace Culture
ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในที่ทำงานกันใหม่ ให้โดนใจคนทั้งองค์กร
เป็นเหมือนธรรมเนียมปฏิบัติที่เมื่อถึงช่วงเวลาส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สิ่งที่เรามักทำกันคือ สรุปหรือทบทวนเรื่องราวต่างๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา และตั้งเป้าหมายสิ่งที่อยากทำหรือสิ่งที่อยากจะเปลี่ยนแปลงในปีที่กำลังมาถึง ทีนี้ในแง่ขององค์กรหลายที่ก็ตั้งใจจะใช้ช่วงเวลานี้ในการเริ่มต้นพูดคุยหรือปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรกันใหม่
ทำไมคำว่า “วัฒนธรรมองค์กร” ถึงกลายมาเป็นพระเอกที่เราต้องพูดถึง เพราะวัฒนธรรมองค์กรคือ ตัวสะท้อนค่านิยม ทัศนคติ และความเชื่อที่มีร่วมกันของสมาชิกในองค์กร วัฒนธรรมองค์กรยังเป็นรากฐานของเป้าหมาย แผนกลยุทธ์ โครงสร้าง และแนวทางปฏิบัติ รวมถึงพฤติกรรมที่แสดงออกของคนในองค์กร ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ของลูกค้า นักลงทุน และชุมชนรอบข้างที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง
ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่คนในองค์กรไม่เอาด้วยกับวัฒนธรรมองค์กร หรือไม่สนใจวิสัยทัศน์ที่ผู้นำองค์กรตั้งเป้าอยากจะไปถึง มันย่อมส่งผลกระทบต่อเส้นทางที่องค์กรกำลังจะไปอย่างแน่นอน ดังนั้น การเริ่มต้นปีใหม่จึงเหมือนเป็นสัญญาณที่ดี ในการจะรีเซ็ตหรือเริ่มต้นคุยกันใหม่เพื่อให้มั่นใจว่าสมาชิกทุกคนในองค์กรจะเห็นภาพเดียวกับเราไปตลอด 4 ไตรมาสของปีที่จะมาถึง
::::::::::
ข้อมูลจากบทความของ Forbes โดยอ้างอิงข้อมูลจากคุณ Jessie De Lowe ซึ่งท่านเป็นโค้ชด้านการสร้างความเปลี่ยนแปลง ที่เคยทำงานให้กับองค์กรชั้นนำอย่าง Google, Amazon ได้กล่าวว่าปัญหาใหญ่สุดของการรีเซ็ตหรือเริ่มต้นวัฒนธรรมองค์กรใหม่ คือ
ไม่ใช่หัวหน้าหรือผู้นำองค์กรทุกคนจะมีธรรมชาติของนิสัยที่ชอบการเปลี่ยนแปลง และรู้สึกว่าการเริ่มต้น (Implement) สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องยาก ซึ่งบทบาทของคุณ Jessie คือการเข้าช่วยผู้นำองค์กรเหล่านั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น จากประสบการณ์ของเธอพบว่า 4 กลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เธอแนะนำในการรีเซ็ตหรือเริ่มต้นใหม่กับคำว่า “วัฒนธรรมองค์กร” ได้แก่
1) วัฒนธรรม: ที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน
สภาวะ Burn out หากเกิดขึ้นกับตัวพนักงานแล้ว ย่อมทำให้เกิดความวิตกกังวล อ่อนเพลีย เบื่อหน่าย สูญเสียแรงจูงใจ และรู้สึกสิ้นหวังในการทำงาน ดังนั้น หากเราคาดหวังให้องค์กรมีสุขภาพที่ดี คนในองค์กรก็ควรต้องมีสุขภาพที่ดีและอยู่ดีมีสุขก่อน วัฒนธรรมองค์ที่สนใจด้านความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน คือ วัฒนธรรมที่สนับสนุนให้พนักงานเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่แค่ในด้านอาชีพเท่านั้น แต่ในฐานะของบุคคลที่มีสุขภาพจิต มีร่างกาย มีอารมณ์ และมีจิตวิญญาณที่ดีด้วย
ดังนั้น ความอยู่ดีมีสุขของพนักงานคือปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แทนที่จะลงทุนด้านการเทรนนิ่ง หรือเวิร์คช็อปที่เกี่ยวกับงานเพียงอย่างเดียว ควรเสริมหลักสูตรอบรมด้านการพัฒนาจิตใจ การเวิร์คช็อปทัศนคติเชิงบวก หรือหลักสูตรผู้นำสุขภาพดีในที่ทำงาน เป็นต้น
2) วัฒนธรรม: ที่ปลุกพลังงานเชิงบวก
ทฤษฎีควอนตัมได้พิสูจน์ว่า “ทุกสรรพสิ่งทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งมีชีวิตและไร้ชีวิตล้วนมีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา” (ซึ่งการสั่นสะเทือนก็สัมพันธ์กับพลังงานและความถี่ด้วยเช่นกัน) ดังนั้น ตัวมนุษย์เราเองจึงเปรียบเสมือนเครื่องที่ทำหน้าที่ทั้งรับ-ส่งพลังงาน ความถี่ และการสั่นสะเทือนแบบไร้สาย จึงแปลว่า หากตัวเราส่งออกพลังงานเชิงลบต่อทั้งตัวเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม เช่น ความกลัว ความโกรธ ความกังวล ความเบื่อหน่าย ก็มีแนวโน้มที่เราจะรับพลังงานเชิงลบกลับมาด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ในแง่ของการปลุกพลังงานและเพิ่มไฟเชิงบวกให้ทีม เราจึงจำเป็นต้องส่งออกพลังงานเชิงบวกต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นๆ ด้วย ซึ่งข้อแนะนำคือ สร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ อนุญาตให้คนทำงานมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการเปิดให้แสดงมุมมองความคิดเห็น มีข้อตกลงร่วมกัน และมีการสื่อสารที่ชัดเจน
3) วัฒนธรรม: ที่คุยจุดมุ่งหมายชัดเจนก่อนเริ่มต้น
พนักงานทุกระดับมองหา “WHY” ในการที่พวกเขาจะลงแรงลงเวลาในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อองค์กร การรู้ Why คือ การรู้จุดมุ่งหมายขององค์กร เพื่อจะสร้างจุดร่วมของเป้าหมายที่จะไป การไม่มีจุดมุ่งหมายก็เปรียบเหมือนคนที่ถูกเอาผ้าปิดตาไว้แล้วปล่อยให้เดินไปยังเป้าหมายด้วยตนเอง
ดังนั้น หากพนักงานไม่รู้จุดมุ่งหมาย (WHY) เขาก็มีแนวโน้มที่จะไม่รู้ว่า… จะทำมันไปทำไม ไม่รู้ว่าเส้นชัยอยู่ตรงไหน ไม่รู้ทิศทางที่จะมุ่งไป จนอาจทำให้พวกเขารู้สึกเหนื่อยและท้อ หรืออาจจะคิดว่าทำไปตั้งเยอะแล้วทำไมยังไม่ประสบความสำเร็จสักที ฉะนั้น ขั้นแรกคือ ตั้งจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนและทรงพลังก่อน ต่อด้วยสื่อสารออกไปให้พนักงานได้รับรู้ จากนั้นทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร กระตุ้นให้พนักงานตั้งเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายส่วนตนด้วย
สุดท้ายต้องกำหนดช่วงเวลาที่จะกลับมาทบทวนหรือประเมินจุดมุ่งหมายนั่นร่วมกัน
4) วัฒนธรรม: ที่ทุกคนมีส่วนช่วยกันเขียนนิยามของคำว่า “ความสำเร็จ”
ใช้เวลาร่วมกับทีมในการให้นิยามของคำว่า “ความสำเร็จคืออะไร? ให้ทุกคนได้มีโอกาสแสดงมุมมอง ออกความคิดเห็น เพื่อสร้างความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของคำ ๆ นี้ร่วมกันโดยขั้นตอนที่ควรทำต่อจากนี้คือ
– สร้างวิสัยทัศน์ที่มีความชัดเจน และระบุวิธีปฏิบัติที่ทำได้จริง
– กำหนดแผนงานและขั้นตอน กำหนดผู้รับผิดชอบ และกำหนดเวลา
– ชวนทีมเขียนอธิบายภาพที่จะเห็นและความรู้สึกที่จะรู้สึก เมื่อบรรลุเป้าหมายแต่ละข้อ
– สื่อสารประชาสัมพันธ์ตอกย้ำทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไป
That’s a Wrap!
ดังนั้น ช่วงเวลาของการต้อนรับปีใหม่ จึงเป็นช่วงเวลาและเป็นสัญลักษณ์ที่ดีในการเริ่มต้นพูดคุยหรือกำหนดทิศทางใหม่ๆ ซึ่งทั้ง 4 วิธีที่นำมาแนะนำในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น 1) ลงทุนกับความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน 2) ปลุกพลังงานและเพิ่มไฟเชิงบวก 3) ตั้งจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนและทรงพลัง และ 4) ร่วมกันเขียนนิยามของคำว่า “ความสำเร็จ” ล้วนเป็นกลยุทธ์ที่น่าหยิบไปทดลองทำ
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
ธุรกิจ
ข่าวรอบโลก
วัฒนธรรมองค์กร
1 บันทึก
2
4
1
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย