17 ก.พ. 2023 เวลา 07:00 • สุขภาพ

อาการข้อไหล่ติด(Frozen shoulder)

อาการปวดบริเวณข้อไหล่เคลื่อนไหวได้ลำบาก ยกได้ไม่สุดหรือเริ่มยกเเขนไม่ขึ้นเพราะปวด โดยทั่วไปนั้น เรียกว่า โรคข้อไหล่ติด หรือ Frozen shoulder ในทางการเเพทย์ เรียกว่า Adhesive capsulitis ซึ่งเกิดจากการอักเสบ เรื้อรังของเยื้อหุ้มข้อไหล่ ทำให้มีการหนาตัวเเละเกิดการหดรั้ง ซึ่งมักพบในกลุ่มวัยกลางคน อายุประมาณ 40-60 ปี
สาเหตุของการเกิดนั้น สามารถเเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.ชนิดปฐมภูมิ(Primary Frozen Shoulder)
เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตามในทางการเเพทย์นั้นเชื่อว่า เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย (Autoimmune) ที่ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายจากเชื้อโรคทำงานผิดปกติ โดยจะโจมตีเนื้อเยื้อตนเองจนทำให้เกิดการอักเสบบริเวณนั้น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำหน้าที่ผิดปกติ
2.ชนิดทุติยภูมิ(Secondary Frozen Shoulder)
เกิดโดยมีสาเหตุ โดยจากอุบัติเหตุ บริเวณหัวไหล่ จนทำให้เอ็นข้อไหล่ฉีก อักเสบ หรือผลข้างเคียงจากการผ่าตัด
การดำเนินของโรค โดยส่วนใหญ่ เเบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้เเก่
1.ระยะอักเสบ (Painful or freezing phase)
ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดไหล่อย่างรุนเเรง จนรบกวนการนอนหลับเเละเริ่มขยับเเขนไม่ค่อยได้ เนื่องจากอาการปวด มีระยะเวลาประมาณ 10-36 สัปดาห์
2.ระยะติดเเข็ง (Frozen)
อาการปวดจะลดลงเเต่ข้อไหล่จะติดมากขึ้นทำให้การเคลื่อนไหวลดลงในระยะนี้ประมาณ 4-12 เดือน
3.ระยะเริ่มฟื้นตัว คลายตัว (Thawing)
อาการค่อยๆฟื้นตัว เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้มากขึ้น ปวดลดลง เเต่การฟื้นตัวส่วนใหญ่ไม่เท่ากับก่อนมีอาการ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 5-26 เดือน
การรักษาทางกายภาพบำบัด
จากที่กล่าวมา เมื่อพบว่ามีอาการข้อไหล่เเพทย์จะให้ยา ฉีดยา หรือผ่าตัดอย่างไรก็ตามมักจะส่งปรึกษากับนักกายภาพบำบัด ในการรักษา
โดยเเต่ระยะของการดำเนินโรคนั้นนักกายภาพบำบัดจะมีขั้นตอนเเละวิธีการรักษาที่ปรับตามความเหมาะสมในเเต่ละระยะของโรค
ระยะที่ 1 ระยะอักเสบ
เนื่องจากระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บมากที่สุด การรักษาจึงเน้นที่การลดอาการปวด เเละรักษาช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ระยะที่ 2 ระยะติดเเข็ง
เเม้ว่าอาการปวดในระยะนี้จะลดลงเเต่การผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้น้อยลง จึงเน้นการ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ไม่ให้เเย่กว่าเดิมเเละ เพิ่มเติมให้มากขึ้นเท่าที่เป็นไปได้
ระยะที่ 3 ระยะคลายตัว ฟื้นตัว
ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงอย่างมากเเละมีช่วงการเคลื่อนไหวข้อไหล่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เเต่ยังไม่สมบูรณ์หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการใช้งานในช่วงก่อนจะเป็นโรคนี้ จึงเน้นการฟื้นฟูในส่วนที่ให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ได้ใกล้เคียงเเต่เดิมมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของผู้ป่วยนั้นจะประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น สาเหตุการเกิด การดูเเลตนเอง อายุ หรือ ภาวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน
เเต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเข้าใจในตัวโรค เเละจิตใจที่เข้มเเข็งของผู้ป่วยเองในการที่จะมีความอดทนต่อสู้กับอาการดังกล่าว ให้ผ่านพ้นเเต่ละระยะไปได้
Reference
โฆษณา