20 ก.พ. 2023 เวลา 13:00 • หนังสือ

ตัวเราเองไม่สมบูรณ์แบบ พ่อแม่ก็เช่นกัน

มาพบกับ Collection หนังสือไม่มีแปลไทยกันอีกครั้งนะคะ วันนี้อยากจะพูดถึงปัญหาสากลที่ไม่ว่าเชื้อชาติใด เพศไหน อายุเท่าไหร่ก็สามารถมีปัญหานี้ได้ทั้งนั้น หัวข้อของวันนี้คือ “ปัญหาครอบครัว” ค่ะ 🙂
1
เราได้เจอหนังสือเล่มนี้ที่ว่าด้วยเรื่อง “เด็กที่เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่โดยผู้ปกครองที่ยังไม่เติบโตทางอารมณ์” หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักจิตวิทยาคลินิคที่เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว
2
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนที่เป็นลูกที่อยากแก้ปัญหาความสัมพันธ์กับที่บ้าน พ่อแม่ที่อยากเข้าใจตัวเองและลูกมากขึ้น หรือคนทั่วๆไปที่สนใจในการบริหารความสัมพันธ์ในครอบครัว หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อให้เราตำหนิพ่อแม่ตัวเอง แต่ชวนให้เราทำความเข้าใจว่าพ่อแม่ก็คือคนธรรมดา มีผิดมีถูกได้เหมือนลูกเช่นกัน และให้คำแนะนำถึงวิธีการอยู่ร่วมกันที่เหมาะสม
1
ก่อนที่เราจะไปต่ออยากจะชวนให้ทุกคนคิดถึงวัยเด็กของตัวเอง คุณรู้สึกอย่างไร คุณมีคำอธิบายให้วัยเด็กของคุณไหม?
ถ้าคำอธิบายวัยเด็กของคุณไปในทิศทางที่ Negative อยู่บ้าง เช่น โกรธ อึดอัด ไม่ปลอดภัย เราเชื่อว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แน่นอนเลยค่ะ 🙂
คำว่า Emotionally immature ที่หนังสือเล่มนี้ใช้ประกอบไปด้วยสองคำคือ Emotion ที่แปลว่าอารมณ์ และ immature ที่แปลว่าไม่เป็นผู้ใหญ่ เมื่อรวมกันแล้วก็คือพ่อแม่ที่ยังมีเรื่องทางอารมณ์ของตัวเองที่ยังไม่ได้เติบโตเต็มที่นั่นเอง
3
ในหนังสือเล่มนี้บอกว่าพ่อแม่แบบนี้จะมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
2
1. Emotional parent: กลุ่มพ่อแม่ที่อ่อนไหว กลุ่มนี้จะมีโหมดที่กลับไปกลับมาระหว่างสนใจชีวิตลูกมากๆ ในบางช่วง แล้วอยู่ๆก็ไม่สนใจเลยซะงั้น ปัญหาเล็กๆในครอบครัวก็สามารถกลายเป็นเรื่องหายนะได้ เป็นกลุ่มพ่อแม่ที่มีความกระวนกระวายและวิตกกังวล ทำให้คนในครอบครัวต้องระมัดระวังไปหมดทุกอย่างเพราะกลัวว่าจะทำให้เกิดปัญหา
1
2. Driven parent: พ่อแม่ที่ดูยุ่งตลอดเวลา (และจะยุ่งตลอดไป) ไม่ว่าจะมีงานเยอะหรือน้อยแค่ไหนก็ตาม เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายให้กับตัวเองและครอบครัว อยากให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบเท่าที่จะทำได้ ชอบรายละเอียด ชอบควบคุมชีวิตลูก ทำให้ถึงแม้ว่าอาจจะรักลูกมาก แต่ก็จะไม่ได้แสดงความเห็นอกเห็นใจออกมามากนัก
4
3. Passive parent: พ่อแม่ที่ตามใจและโอนอ่อนผ่อนตามคนในครอบครัว และมักจะปล่อยให้คู่ของตัวเองที่มีสไตล์ชัดเจนกว่าคุมทิศทางในบ้าน ปัญหาคือการยอมทุกคนง่ายๆจะพาไปสู่การทำร้ายจิตใจและร่างกายกันได้ง่าย
4. Rejecting parent: พ่อแม่ที่ไม่ชอบความใกล้ชิดทางอารมณ์กับลูก ภาพที่มักจะเกิดขึ้นคือพ่อแม่ประเภทนี้จะโกรธ สั่ง หรือ แยกตัวออกไปเลยโดยไม่เปิดเผยอารมณ์กับครอบครัว
1
ทั้ง 4 ประเภทนี้จะสร้างปมในใจลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สิ่งนึงที่ทั้ง 4 ประเภทมีร่วมกันคือ “ไม่ได้ให้การสนับสนุนทางอารมณ์และความเห็นอกเห็นใจเท่าที่ลูกต้องการ” ด้วยเหตุนี้เด็กที่เติบโตขึ้นมาก็มีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ insecure กว่าที่ควร
1
แล้วพอลูก Insecure แล้วจะเป็นยังไง? กลไกที่ลูกมักจะใช้มีอยู่ 2 กลไก นั่นคือ
Externalizers - เปรียบเทียบแล้วเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเสียบปลั๊ก เมื่อมีอารมณ์ขึ้นมาก็มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจทำอะไรไปก่อนคิด กล้าแสดงออกถึงความเจ็บปวดและความทุกข์ของตัวเองอย่างชัดเจน และมักจะหาอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาที่เผชิญอยู่ ไม่ค่อยชอบตระหนักถึงปัญหาของตัวเอง มักขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นละก็โทษคนอื่นกับปัญหาของตัวเองด้วย
3
Internalizers - เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแบตในตัว เป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้ขอความช่วยเหลือ ทำให้คนรอบข้างเข้าใจว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ในความเป็นจริงแล้วตรงกันข้ามเลย เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีความอ่อนไหวสูงและช่างสังเกต
2
ทั้งสองวิธีมีปัญหาในแบบของตัวเอง Externalizer ต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเอง ในขณะที่ Internalizer ต้องเรียนรู้ที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม สิ่งที่ลูกมันจะทำคือสร้างภาพจินตนาการที่ชีวิตจะดีขึ้นซักวันนึง ปัญหาในบ้านจะหายไปซักวันนึง หรือจะได้รับความรักในซักวันนึง
นอกจากนี้ ลูกมีแนวโน้มที่จะสร้าง “บทบาทหน้าที่” ของตัวเองในบ้านขึ้นมา เช่น ลูกที่ขี้สงสัยและพูดเก่ง อาจจะสวมบทบาทเป็นคนที่เงียบเฉยและสงบเพื่อทำให้ไม่เกิดปัญหา
5
รู้แบบนี้แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง?
2
ถ้าตอนที่เราเป็นเด็ก เราก็คงจะทำอะไรได้ไม่มาก แต่ตอนนี้พวกเราทุกคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราเองก็เป็นผู้ใหญ่คนนึงในครอบครัวและในความสัมพันธ์เช่นกัน ต่อให้พ่อแม่เราจะ Immature แต่เราสามารถที่จะ Mature ได้ ในหนังสือเล่มนี้แนะนำวิธีที่เรียกว่า “Maturity Awareness Approach”
1
เมื่อต้องมีความสัมพันธ์กับพ่อแม่ แทนที่จะสื่อสารเพื่อตอบโต้ ลองเปลี่ยนเป็นสังเกตพฤติกรรมต่างๆแทน เมื่อเราสังเกต เราจะมองสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นกลางและสงบมากขึ้น มีหลายวิธีที่จะทำได้ เช่น หายใจเข้าออกลึกๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือคิดถึงภาพที่สงบสุข สามารถทำเหมือนกับว่าตัวเองเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังทำการทดลองและสังเกตความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น เมื่อเราทำแบบนี้ได้แล้วก็พร้อมที่จะเริ่มขั้นตอนแรกแล้วค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 - สื่อสารความรู้สึกแล้วก็ช่างมัน
บอกพ่อแม่ของคุณว่ารู้สึกอย่างไร โดยที่ไม่ต้องหวังให้เขาเข้าใจ ไม่ว่าพ่อแม่จะแสดงอาการอย่างไรกับความรู้สึกที่เราพูดก็ปล่อยไป
ขั้นตอนที่ 2 - โฟกัสไปที่โมเมนต์นั้นๆ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ภาพรวม
ตั้งเป้าหมายในการสื่อสารให้เล็กและอยู่ในระดับที่สามารถทำได้จากการพูดคุยครั้งนั้นๆ ไม่ต้องตั้งเป้าหมายใหญ่โตที่อาจจะทำไม่ได้ทันที เพราะมันจะยิ่งบั่นทอนความรู้สึกของเรา เพราะการแก้ไขความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าจะทำได้ในวันเดียว และที่สำคัญคือไม่สามารถทำได้จากคุณคนเดียวอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 3 - บริหารความสัมพันธ์ ไม่ใช่อินอยู่ในความสัมพันธ์
การที่เราอินอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีคนใดคนนึงยังไม่เติบโตทางอารมณ์มากนัก มันเหนื่อยมาก ดังนั้นแล้วแทนที่เราจะอิน ให้ลองเปลี่ยนเป็นบริหารความสัมพันธ์แทน ใช้ความสุภาพ และตระหนักว่าคุณอาจต้องพูดถึงปัญหาเดิมๆหลายครั้งก่อนที่จะได้คำตอบ
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ไม่ได้บอกให้เราจำยอมหรือต่อต้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ไม่ได้บอกให้เราโกรธพ่อแม่และหวังให้เขาเปลี่ยนแปลง เพราะพ่อแม่เองก็ทำดีที่สุดเท่าที่เวลาและปัจจัยจะเอื้ออำนวย ตัวเราเองไม่สมบูรณ์แบบ พ่อแม่เองก็เช่นกัน
2
ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นเรื่องซับซ้อน และในขณะเดียวกันนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญด้วย ดังนั้นเราสามารถเลือกได้ว่าเราอยากจะ Immature หรือ Mature ให้กับพ่อแม่ของเรา เพราะเราไม่สามารถควบคุมการกระทำของคนอื่นได้ แต่เราสามารถควบคุมการกระทำของตัวเองได้ค่ะ 🙂
1
—————————————————————
ตอนนี้รีวิวทุกอย่างที่อ่านออกมีถึง 6 ช่องทางแล้วนะคะ 🥳
เอาใจทั้งสายอ่าน สายฟัง สาย Podcast
ขอขอบคุณทุกคนที่ติดตามกันมาตลอดนะคะ :D
โฆษณา