21 มี.ค. 2023 เวลา 04:19 • ธุรกิจ

9 ขั้นตอน ในการเลือกเส้นทางอาชีพ (พร้อมตัวอย่าง)

พวกเราทุกคนต่างก็มีทักษะที่พัฒนากันไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อทางเลือกในเส้นทางอาชีพที่เหมาะสม
ถ้าเราตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพที่สร้างความรู้และประสบการณ์ เพื่อผลสำเร็จในสายงานที่เลือก สิ่งที่สำคัญที่เราต้องไตร่ตรองคือเป้าหมายในการทำงานและอาชีพที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินในชีวิตของเราได้ เช่น การเริ่มเลือกที่เรียน โรงเรียนที่เหมาะสมกับเรา งานที่เหมาะสมกับระดับของคุณ หรือแม้แต่การเลือกที่จะเรียนด้านเฉพาะทาง (อนุปริญญา อาชีวะ หรือ อื่นๆ)
ในบทความนี้ B Work Story เราอยากจะให้คำจำกัดความว่า เส้นทางอาชีพคืออะไร พร้อมคำแนะนำทั้ง 9 ขั้นตอน ที่เกี่ยวกับวิธีการเลือกเส้นทางอาชีพโดยขึ้นอยู่กับเฉพาะบุคคล และอาชีพในอุตสาหกรรมต่างๆ
เส้นทางอาชีพ (Career Path) คืออะไร?
เส้นทางอาชีพคือแผนที่มาพร้อมรายละเอียดในเส้นทางสายงานของคุณเองและเป้าหมายทางความก้าวหน้าของงาน เช่น จุดเริ่มต้นของเส้นทางสายอาชึพของเราเองคือ ใบปริญญา เพราะหลังจากที่เราได้รับความรู้และทักษะเพิ่มเติมมากจากรั้วมหาลัย ความก้าวหน้าที่เดินไปสู่ตำแหน่งระดับสูง หรือแม้แต่การย้าย ปรับเปลี่ยนสายงานอาชีพที่บทบาทงานมีความแตกต่างกันไปตามสิ่งที่เราเชี่ยวชาญ แต่นั้นก็สามารถเป็นบทเริ่มต้นใหม่ของเส้นทางสายอาขีพได้
แต่เราจะเลือกเส้นทางอาชีพของเราได้อย่างไร? มันจะง่ายไหมกับการเริ่มต้นเลือกเส้นทางอาชีพไปสู่อนาคตใหม่ของตัวเองแล้วบุคลิกภาพของราจะเข้ากับงานหรือเปล่า? เรามาดูกันว่า 9 ขั้นตอนในการเลือกเส้นทางอาชีพมีอะไรบ้าง
อย่างที่ 1 เลยคือ สรุปเป้าหมายในอาชีพของคุณ (Career Goals)
ก่อนสิ่งอื่นใด เราก็ควรต้องรู้และทบทวนกับตัวเองก่อนว่าเราต้องมีการสร้างตัวเลือกของสายอาชีพขึ้นมาและค่อยมาเลือกให้มันแคบลงเพื่อให้มันเกิดความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น แล้วถามกับตัวเองว่า:
1. เราต้องการอะไรจากอาชีพนี้
2. ค่านิยมหลักๆ ของเราเลยคืออะไร
3. กิจกรรมที่ชอบมากทั้งในเวลทำงานและเวลาว่างคืออะไร
4. เราสนใจอะไร
5. จุดแข็งหรือความถนัดของเราคืออะไร
6. เราต้องการที่จะเชี่ยวชาญในทักษะทางเทคนิคหรือเราชอบบทบาทการจัดการมากกว่าหรือไม่
ถ้าเราสามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ เราก็สามารถค้นหาเส้นทางอาชีพที่มีศักยภาพได้ดีขึ้นสำหรับตัวเอง เพราะสิ่งสำคัญที่เราควรทบทวนอยู่เสมอคือเป้าหมายที่แท้จริงในสายงานอาชีพที่เราเลือก และเมื่อเลือกไปแล้ว โอกาสการเติบโตทั้งด้านอาชีพหรือแม้แต่เรื่องส่วนตัวของเรา มันจะยังคงบรรลุผลไปในทิศทางที่สอดคล้องกับตัวเราอยู่หรือไม่
2. สร้างแผน 5 และ 10 ปี (Plans)
เมื่อเราจัด scope ของตัวเลือกให้แคบลง มันก็จะง่ายแก่การพิจารณาว่าอะไรสำคัญบ้างในสายอาชีพนี้ มีการ survey ค้นหาข้อมูลของผู้อื่นในสายงานเดียวกันว่าในอีก 5 ถึง 10 ปีเนี่ย เรามีแผนแนวทางการดำเนินงานในสายอาชีพนี้อย่างไร เห็นความก้าวหน้าในอนาคตกับงานตรงนี้ไหม เราสามารถทำงานตรงนี้ไปแล้วบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ และการตั้งคำถามตรงนี้ สิ่งที่ก็ดูจะตอบโจทย์เราอยู่ คงเป็นการเข้าโปรแกรมฝึกอบรม และค้นหาสิ่งที่เราสมควรต้องรับผิดชอบหรือดำเนินการต่อตามตำแหน่งอย่างจำเป็นต่อไป
เพราะด้วยการที่เรากำหนดเป้าหมายในสายอาชีพได้อย่างชัดเจน มันจะง่ายต่อการวางแผนในขั้นตอนถัดไปที่เป็นตัวกำหนดความคาดหวังในอนาคตของทุกปี เพื่อเป็นการสะท้อนถึงอาชีพและเป้าหมายของตัวเราเอง
3. ค้นพบประเภทบุคลิกภาพของคุณ (Personality Type)
รู้ไหมว่า ประเภทบุคลิกภาพสำคัญต่อการเลือกเส้นทางอาชีพของเราในส่วนหนึ่ง บุคลิกภาพที่แตกต่างกันของเรานั้น สามารถจัดเป็นกลุ่มได้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีมากในการค้นหาประเภทบุคลิกภาพ และหลายวิธีก็มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองของเราต่อสถานการณ์ต่างๆ ประเภทบุคลิกภาพที่แตกต่างกันอาจมีความสนใจที่แตกต่างด้วยเช่นกัน พร้อมพัฒนาจุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเราเองที่ต่างจากคนอื่นๆ ในสายงาน
ซึ่งการทดสอบนั้นจะแสดงตัวเลือกอาชีพทั่วไปสำหรับบุคลิกภาพแต่ละประเภท และสามารถแสดงให้เราเห็นว่าเราสามารถมีอาชีพเดียวหรือสองอาชีพได้ บางแบบทดสอบก็แสดงให้เห็นถึงอาชีพเฉพาะเจาะจงไป
เครื่องมือยอดนิยมที่เราสามารถใช้เพื่อระบุประเภทบุคลิกภาพ ได้แก่ :
  • ตัวบ่งชี้ประเภท Myers-Briggs: เป็นแบบสอบถามที่รายงานด้วยตนเองซึ่งมีคำถามเชิงไตร่ตรองเพื่อระบุความชอบทางจิตวิทยาของตัวเราเอง ระบบตัวบ่งชี้ประเภทนี้จะจัดประเภทบุคคลโดยอิงจากขั้วหลักสี่ขั้ว ทำให้เราสามารถระบุประเภทบุคลิกภาพของตัวเราเองจาก 16 ตัวเลือก (เข้าไปเช็กกันเพิ่มเติมได้ในบทความก่อนหน้านี้ เรื่อง "เข้าใจการทำงานได้เต็มประสิทธิภาพด้วย MBTI หรือ 16 บุคลิกภาพ")
  • Keirsey Temperament Sorter: แม้ว่าแบบสอบถามประเมินตนเองนี้จะเหมือนกับตัวบ่งชี้ประเภท Myers-Briggs แต่จะระบุบทบาทที่ตรงกับอารมณ์แต่ละประเภทได้ใกล้เคียงมากขึ้น แบบสอบถามมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมและนิสัยใจคอมากกว่าความชอบ
  • Jungian Type Index: แบบทดสอบ Jungian Type Index เป็นการประเมินตนเองที่สามารถสรุปประเภทบุคลิกภาพและอาชีพที่แนะนำโดยการระบุฟังก์ชันความรู้ความเข้าใจของ Jungian หรือคำอธิบายที่อยู่เบื้องหลังความชอบทางจิตวิทยาบางอย่าง
4. ทบทวนประสบการณ์เดิมของตัวเรา (Previous Experience)
บทบาทหน้าที่ที่ตัวเราเองได้ทำไปก่อนหน้านี้ ที่สร้างความพึงพอใจในงานมันก็สามารถช่วยชี้แนะทางเลือกสายอาชีพของเราได้ เราก็ระบุถึงแนวโน้มในตำแหน่งก่อนหน้าที่เราเคยทำ เช่น การมุ่งเน้นทักษะทางเทคนิคเฉพาะ และตรวจสอบประวัติงานให้แน่ชัดแล้วก็ทบทวนถึงเนื้องานที่ทำแล้วสำเร็จ
5. เปรียบเทียบ requirement ของงานกับการศึกษาของเราเอง (Educational comparison)
งานส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะมีข้อกำหนดด้านการศึกษาเฉพาะสำหรับผู้ที่พึ่งสมัครหรือผู้ถูกจ้างงานใหม่ เราสามารถตรวจสอบได้จากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย การสำเร็จหลักสูตรปริญญาตรี หรือปริญญาโท เพราะบางตำแหน่งก็ยังกำหนดให้ผู้สมัครมีวุฒิการศึกษาในสาขาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้นๆ เราจึงสมควรที่จะต้องตรวจสอบข้อกำหนดด้านการศึกษาสำหรับงานที่เราสนใจด้วยและสมัครงานที่ยอมรับระดับการศึกษาปัจจุบันที่เราจบมาเช่นกัน
6. ประเมินทักษะปัจจุบันของตัวเรา (Assess Skills)
การประเมินผลความสามารถและทักษะปัจจุบันของตัวเราเองก็สำคัญ บางครั้งอาจมีการได้รับใบรับรองในสาขาความเชี่ยวชาญของตัวเราเองก็เป็นได้ ซึ่งเรายังสามารถหาคำติชมจากเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับทักษะด้านเฉพาะทางอย่างเช่น ทักษะความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการบริหารบุคคล การประเมินผลเหล่านี้ สามารถช่วยให้เราค้นหาสายงานอาชีพที่ตรงกับประสบการณ์ของเราจริงๆ ได้
7. บันทึกความสนใจของคุณ (Interests)
เราต่างคนต่างก็หลากความสนใจ โดยเฉพาะความสนใจที่เหมาะกับอาชีพต่างๆ เป็นพิเศษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคลิกของเรา งานอดิเรก ประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่สามารถระบุกิจกรรมที่เราชอบได้ ถึงแม้ว่าข้อมูลนี้จะอยู่นอกบริบททางวิชาชีพ แต่การสร้างลิสต์กิจกรรมความสนใจเหล่านี้ สามารถช่วยให้เรารู้ scope เส้นทางอาชีพของเราได้ เช่น เราอาจสนุกกับงานสายอาชีพ Cyber Security เพราะเราชอบไขปริศนาในเชิงตรรกะ หรือ การที่เราชอบงานขาย และสามารถเดินทางไปพบปะกับผู้คนใหม่ๆ อยู่เสมอๆ
8. ระบุค่านิยมหลักของตัวเอง (Core Values)
ค่านิยมของตัวเราสามารถช่วยทำให้เรามุ่งความสนใจไปยังสายอาชีพที่เรารู้สึกเติมเต็มได้ นอกจากเราจะยังสามารถหาความสนใจเฉพาะของตัวเราเองได้แล้ว เราสามารถที่จะลองลิสต์รายการคุณสมบัติของเราที่สามารถให้ความสำคัญกับองค์กรหรือพนักงานเองได้และยังสามารถใช้ลิสต์ เพื่อค้นหาบริษัทและรายละเอียดงานที่มีค่านิยมเหล่านี้เหมือนกัน
9. พิจารณาเงินเดือนของเรา (Salary Needs)
เส้นทางอาชีพที่แตกต่างกันมันก็สามารถมีรายได้ที่หลากหลายได้เช่นกัน นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกำหนดจำนวนเงินเดือนที่เราอาจได้รับในตอนแรกเข้าทำงาน และรวมถึงศักยภาพในการสร้างรายได้ของเราด้วย หลังจากที่เราได้รับ พร้อมกับประสบการณ์ในระดับหนึ่ง แม้ว่าเงินเดือนจะไม่รับประกันว่าจะได้งานที่น่าพึงพอใจ แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อวางแผนเส้นทางอาชีพของตัวเราเอง
ตัวอย่างเส้นทางอาชีพในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น
  • ด้านการศึกษา: ครู → ผู้ประสานงานหลักสูตร → ผู้ช่วยครูใหญ่ → ครูใหญ่
  • ด้านขายปลีก: พนักงานขาย → แคชเชียร์ → ผู้ช่วยผู้จัดการ → ผู้จัดการร้าน → ผู้จัดการภูมิภาค
  • ธุรกิจร้านอาหาร: พนักงานล้างจาน → คนเตรียมวัตถุดิบ/เครื่องปรุง → ไลน์กุ๊ก → ผู้ช่วยเชฟ → เชฟเดอควิซีน → เชฟใหญ่
  • งานบรรณาธิการ: นักศึกษาฝึกงาน → ผู้ช่วยบรรณาธิการ → ผู้ช่วยบรรณาธิการ → บรรณาธิการ → บรรณาธิการอาวุโส → บรรณาธิการบริหาร → หัวหน้าบรรณาธิการ
  • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR): ผู้ช่วยฝ่ายทรัพยากรบุคคล → ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบคคล → ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล → ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • ฝ่ายการตลาด: ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ → ตัวแทนประชาสัมพันธ์ → ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ → ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร
สรุป : ปัจจัยทั้ง "9 ขั้นตอน ในการเลือกเส้นทางอาชีพ" สามารถพิจารณาได้ตามการพัฒนาของตัวเราในการเป็นพนักงาน เพราะเรื่องสายงานอาชีพนั้นก็มีผลกับองค์กรด้วยเช่นกัน ซึ่งเราควรได้รับการวางแผนอย่างสอดคล้องกันกับความเชี่ยวชาญทักษะต่างๆ
เมื่อเรามีการตระหนักรู้ในการสร้างตัวเราเอง เพื่อไปสู่สายงานอาชีพที่เข้ากับเรา มันก็สร้างแรงบันดาลใจ กำลังใจ และความสมัครใจในการทำงานต่อซึ่งมีส่วนที่จะทำให้เราไม่ Burn Out เช่นเดียวกัน ถ้าเรารู้อยู่แล้วว่าเราเข้ากับงานนี้ได้อย่างแท้จริง
เพื่อนๆ ชาว Blockdit คิดอย่างไรกันบ้างกับบทความในวันนี้ที่เรามานำเสนอ ถ้ามีความคิดเห็นที่ต่างกันออกไป หรือต้องการที่จะเพิ่มเติมข้อมูลในด้านไหน ก็สามารถเข้ามาแชร์ คอมเมนต์กันได้ใต้บทความนี้ B Work Story ฝากกดติดตามและแชร์บทความนี้ด้วยนะคะ
โฆษณา