Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บันทึกของชุ้น
•
ติดตาม
22 ก.พ. 2023 เวลา 09:58 • ไลฟ์สไตล์
◉ ตามหาชิ้นส่วนที่หายไปกัน ◉
เรามาลองหากันไหม ชิ้นส่วนที่หายไป ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือผู้คน
การเดินทางของเราไม่ว่าใกล้หรือไกล ขึ้นชื่อว่า “เดินทาง” ก็อาจทำให้เราหลงทางได้ทุกเมื่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะทาง สำหรับชุ้นเข้าใจว่าอย่างนั้น แม้ว่าจะสักสองสามก้าว หรือสี่ห้าก้าว หากเราลืมว่าเราจะไปไหน อยากทำอะไร เพื่อใคร เป้าหมายแท้จริงของเราคืออะไร
ขงจื้อ กล่าวไว้อย่างน่าฟัง ชีวิตนี้แสนเรียบง่าย แต่คนเรานั้นทำให้ซับซ้อนวุ่นวายกันไปเอง ... ชุ้นเลยว่า ชีวิตง่ายตรงไหน ... เนี่ย คำตอบคือ ที่ใจ เป็นแน่แท้ .. เพื่อนเถียงเบา ๆ .. นั่นไม่ง่าย.. และความจริงเป็นเช่นนั้น แต่ความจริงก็เป็นแบบเดียวกันอีก คือ จุดเดียวกัน ที่ว่า ง่าย และจุดเดียวกัน ที่ว่า ไม่ง่าย คือ จุดเริ่มต้นจากจุด ๆ เดียว คือ ที่ใจ..
ฟังแล้วเหมือนคล้าย ๆ ว่า ใจเรานั่น พาเราหลงทางเสียเอง ชิ้นส่วนที่หายไป เป็นการเดินทางของใจ ใช่หรือไม่ งั้นหากใจเดินทาง เราไม่ได้เดินทางแล้ว ร่างกายไม่ได้ขาด แต่เป็นใจที่ขาดแทน ซึ่งตอนนี้ เราทุกคนอาจหลงทางอยู่ในหมู่ผู้คน ในความฝันของตนเอง ในการหาทางกลับบ้าน ในความคิดของตน ในความคิดถึงที่อาจส่งไปไม่ถึง ในความล้มเหลว ในความเหงา ในความอ่อนล้า ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย หรือในเรื่องราวจากจินตนาการที่สร้าง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งจากผู้คน เหตุการณ์ หรือแม้กระทั้ง ในความเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น คำว่า “ชีวิต” อีกนัยความหมายหนึ่งที่ขงจื้อกล่าวถึงอาจเป็น เรื่องของ “ใจ” ของเรานี่เอง เพราะใจเราทำให้ใจเองหลงทางยุ่งยากซับซ้อนสับสนวกวน
วิธีของชุ้นง่ายมากในการตามหา “ชิ้นส่วนที่หายไป” ลองทำแบบนี้ดูนะคะ
1. แยกอารมณ์ออกจากปัญหา เพราะบางที อาจจะมีภาวะที่แทรกซ้อน ในจิตใจของเราได้ เพราะอารมณ์อาจกลายเป็นเครื่องปิดกั้นเหตุผล เป็นมานะทิฎฐิสำคัญ ที่ทำให้เราพลาดกับสิ่งดี ๆ ได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน คำเสนอแนะที่ดีๆ กำลังใจสำคัญจากคนรอบข้าง ทำให้เรามองความหวังดีของคนอื่นเป็นความหวังร้ายก็เป็นได้เช่นกัน เห็นมิตรเป็นศัตรู หรือแม้แต่การพัฒนาตนเอง เลยทำให้มองไม่เห็นหนทาง ที่ยังสามารถที่จะใช้ หรือไปต่อได้เสมอ
2. หามุมมองอื่น ๆ มองหาความเป็นไปได้จากเรื่องที่เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างทางเลือกใหม่ ๆ จากทางเดิม หรือถ้ามันใช้ไม่ได้ ก็สร้างทางใหม่เสียเองเลย
3. นึกถึงเป้าหมาย/ความตั้งใจแรกเริ่ม การวางแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้เรามีหลักในการยึด เหมือนการขึ้นบันได ความจริง จะสร้างไม่มีราวบันไดก็ย่อมได้ แต่หากไม่มีราวก็จะไม่อะไรให้เกาะเพื่อที่กันพลาดเวลาที่เราล้ม เป้าหมายก็เช่นกัน หากเราไม่มี เราจะเดินไปอย่างคนตามบอด เหมือนนักเดินทางที่ไม่มีเข็มทิศเช่นกัน
4. ไม่อาลัยอาวรณ์ในสิ่งที่พลาดไป หรือสิ่งที่สำเร็จแล้ว หากลองคิดให้ดี เมื่อวานเหมือนความฝัน วันนี้ขณะนี้เท่านั้นที่แก้ไขได้ คือ รูปธรรม ที่สามารถจับต้องได้ และแก้ไขทุกอย่างได้ แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้ดั่งที่ตั้งใจไว้ แต่อย่างน้อยก็ไม่ซ้ำเติมให้สถานการณ์มันเลวร้ายจนยากจะแก้ใช่หรือไม่ ส่วนที่สำเร็จแล้ว ก็อย่าเพิ่งไปหลงจนลืมไปว่ายังมีบททดสอบอีกหลายอย่างที่อยู่ตรงหน้า
ภาพ pinterest
จงเก็บไว้เป็นใจอีกดวงที่คอยบันดาลแรง จำไว้ว่า ไม่ว่าฝันดีหรือฝันร้ายย่อมต้องมีวันตื่นเสมอ... การอาลัยอาวรณ์ คือการหลงทางแบบหนึ่งเช่นกัน เพราะทั้งเรื่องดี เรื่องไม่ดี ล้วนต้องเป็นอดีต หากจมอยู่แต่ความผิดพลาด ก็คงไม่มีแรงก้าวเดิน หากมั่วแต่ปลื้มอยู่กับความสำเร็จ ก็จะประมาทหลงตัวเองว่าเก่งแล้วดีแล้ว ไม่ยอมก้าวเดิน มองหามุมมองใหม่ ทำให้พลาดสิ่ง ๆ ดีที่จะเข้ามาในชีวิต
5. มองไปไกลยังเป้าหมาย แต่เวลาเดินให้มองเหมือนเดินจงกรม เพราะเราจะสามารถเห็นทางที่เราจะเดินไปว่าทิศไหนที่เราจะเดินไป เช่น ทิศใต้ ออก หรือตก นั้นคือ เป้าหมายที่เราต้องการความสำเร็จ แต่เวลาเดินนั้นให้ดูแลในแต่ละก้าวที่เราเดิน เพื่อที่จะได้เดินอย่างระมัดระวัง ในทุก ๆ ก้าว รอบคอบในความคิด
หากเกิดความพลาดพลั้งใดก็แก้ไขตามนั้น หากเดินไปแล้วมองไกลไป ก็เหนื่อยเปล่า จะเอาแต่ถามตัวเองอีกว่า “เมื่อไรจะสำเร็จ” จริงไหม ชุ้นละคนหนึ่ง เลยเปลี่ยนมาเป็นแต่ละก้าวที่ก้าว หรือ แค่ก้าวที่สองที่สามแค่นั้น เหมือนเวลาที่พระท่านสอนเดินจงกรม (ก็เท่ห์ดีนะ 55)
หวังว่าบทความน้อย ๆ นี้ อาจจะช่วยทุกท่านเติมเต็ม และตามหาส่วนที่หายไปกลับคืนมาได้บ้างนะคะ ในความรู้สึกลึก ๆ ส่วนลึกของชุ้น ๆ มีความรู้สึกว่า มันไม่หายไปไหน เราแค่อาจหลงลืมไปตามกาลเวลา ตามก้าวที่เราเริ่มเดิน แต่เมื่อเรารู้แล้ว ก็แค่ตามชิ้นส่วนที่หายมันกลับมา แค่นั้น
หากไม่เจอ ก็ไม่เป็นไร ทุกอย่างย่อมมีเหตุผลของมันเสมอ มุมมองใหม่ ๆ อย่าลืมตรงนี้นะคะ หากเรารู้ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของเราในทุก ๆ การกระทำของเราคืออะไรแล้วละก็ เราก็จะรู้สึกว่า “เราถึงบ้าน” นั่นก็คือ ใจของเรา เรานั่นเองคะ เอามือทาบอกเบา ๆ นะคะ เสียงที่ได้ยิน มันกำลังบอกอะไรกับคุณบ้าง???
สำหรับชุ้น “ใจคือบ้าน”
บ้านที่สงบ คือ "ใจที่สงบ" เป็นชีวิตที่เรียบง่ายที่สุด
ภาพ คิลานธรรม/@กลุ่มอาสาคิลานธรรม
ก่อนจากกัน ชุ้นเอาบทความดี ๆ มาฝากทุกท่านก่อนจากวันนี้นะคะ เป็นส่วนหนึ่งของบทความคำ : เหอไหลไจ 何來哉 ถอดคำ : วิภาดา กิตติโกวิท
◉ ปัญญาแห่งการไม่เปรียบเทียบ ◉
........
ภูหนึ่งมองอีกภูที่สูงกว่า ไม่มีวันพอใจ
กินข้าวในชามจ้องแต่ในหม้อ
มีเพียงความโลภตลอดกาล
.
ไม่แก่งแย่ง ตัวเบา
ไม่เปรียบเทียบ ทางปลอดโปร่ง
.
ใจไม่โลภ ชีวิตสงบ เป็นคนรู้พอสุขเสมอ
ธำรงครอบครัวให้มั่นคง จริงใจต่อมิตรสหาย
ให้จิตใจเปี่ยมปีติยินดี กระตือรือร้นต่อชีวิต
คำ : เหอไหลไจ 何來哉
ถอดคำ : วิภาดา กิตติโกวิท
คนบ้าหนังสือ - Madman Books
สุดท้าย You are my missing piece>> ขอบคุณที่มาเติมเต็ม เติมแรง เติมใจให้กันนะ ให้กับชุ้นนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบ >_<
เครดิตภาพสวย ๆ เจ้าของภาพ
#บันทึกของชุ้น
#ตามหาส่วนที่หายไป
#ใจที่สงบเป็นชีวิตที่เรียบง่ายที่สุด
เรื่องเล่า
ความคิดเห็น
สติ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทของฝัน
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย