Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
28 ก.พ. 2023 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ชาวเกาหลีใต้ทุกข์ยาก จากพิษปัญหาเศรษฐกิจ
ชาวเกาหลีใต้กำลังเผชิญกับความตึงเครียดทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถานการณ์เงินเฟ้อและอัตราการว่างงานที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน
ดัชนี Misery Index ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจที่คำนวณมาจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานอยู่ที่ 8.8% ในเดือนมกราคม
ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการรณ์
โดยในเดือนมกราคมปี 2023 ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศเกาหลีใต้พุ่งสูงถึง 5.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 5% ซึ่งเกินกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 4.95%
ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมกราคมนี้เป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 3 เดือน
ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นมา 4.6% และ ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นมา 6.2% ในขณะที่ราคาพลังงานลดลงมาเล็กน้อยที่ -2.8%
ในการต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความต่างทางดอกเบี้ยนโยบายจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางแห่งเกาหลีใต้ได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 basis points สู่ระดับ 3.5% ในเดือนมกราคม ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2008
อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งล่าสุด ธนาคารกลางแห่งเกาหลีใต้ได้หยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบปี เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะซบเซา
ในขณะที่ตัวเลขอัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.6% เมื่อเดือนที่ผ่านมา
เนื่องจากการจ้างงานเติบโตช้าที่สุดในรอบ 22 เดือน
และจำนวนผู้ว่างงานทะลุ 1 ล้านคนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2022
ถึงแม้ว่าในเดือนมกราคมจะเป็นเดือนที่มีอัตราการว่างงานสูงกว่าเดือนอื่น ๆ อยู่แล้ว
แต่ตัวเลขที่เกิดขึ้นในปี 2023 ก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจ
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้นอยู่ในช่วงขาขึ้น
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในอนาคต
โดยปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ทำให้ความพึงพอใจของผู้คนนั้นอยู่ลำดับเกือบต่ำสุดในกลุ่มประเทศ OECD
จากรายงาน Statistics Korea's report Quality of Life Indicators ในปี 2022 พบว่า
ความพึงพอใจในชีวิตของชาวเกาหลีใต้อยู่ลำดับที่ 36 จากทั้งหมด 38 ประเทศ ซึ่งดีกว่าแค่ ตุรกี และ โคลอมเบียเท่านั้น
โดยเกาหลีใต้ได้คะแนนไปที่ 5.9 จาก 10 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 6.7 คะแนน
และที่ลำดับนี้ทำให้เกาหลีใต้มีดัชนีความพึงพอใจในชีวิตต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นที่ได้ไป 6 คะแนน
ในขณะที่ระดับคะแนนของปี 2021 เพิ่มขึ้นจาก 6 เป็น 6.3 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า
โดยกลุ่มผู้มีรายได้น้อย (รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 1 ล้านวอน ประมาณ 27,000 บาท) ให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิตเพียง 5.5 คะแนนในปี 2021 ในขณะที่ผู้มีรายได้ระหว่าง 1-2 ล้านวอน (27,000-54,000 บาท) ให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิตที่ 6 คะแนน
นอกจากนี้ในรายงานยังระบุอีกว่า อัตราการฆ่าตัวตายในเกาหลีสูงขึ้นเช่นกัน
โดยจากการวิจัยพบว่า อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นอีก 0.3% ในปี 2021
ในส่วนของดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจก็แสดงให้เห็นว่า
ประเทศเกาหลีใต้ยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิดได้อย่างเต็มที่
จากข้อมูลก็พบว่า การจ้างงานนั้นปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย
โดยในปี 2022 อัตราการจ้างงานอยู่ที่ 62.1%
ในขณะที่อัตราการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่อยู่ที่ 67.7%
1
ตัวเลขรายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัวก็ปรับตัวดีขึ้นมาเล็กน้อยเช่นกัน
โดยรายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นอีก 1.79 ล้านวอนสู่ระดับ 39.49 ล้านวอน (ประมาณ 1,054,275 ) ในปี 2021
แต่อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นมา 8.7 percentage points จากปี 2020 สู่ระดับ 206.5% ในปี 2021 ซึ่งอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา จากระดับ 138.5% ในปี 2008
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
●
https://www.koreatimes.co.kr/www/biz/2023/02/488_345930.html
●
https://www.koreatimes.co.kr/www/biz/2023/02/488_345956.html
●
https://www.koreaherald.com/view.php?ud=20230220000606
เกาหลีใต้
เศรษฐกิจโลก
งาน
7 บันทึก
15
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
7
15
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย