5 มี.ค. 2023 เวลา 23:17 • ประวัติศาสตร์

13 มีนาคมเป็นวันช้างไทย

ช้างมีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน ในสมัยโบราณช้างเป็นพาหนะคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัย แต่ในปัจจุบัน ช้างกลับมีคุณค่าลดน้อยลง จนกลายเป็นสัตว์เร่ร่อนและบาดเจ็บล้มตายกันมากขึ้น ดังนั้น ทางคณะรัฐมนตรี จึงมีมติเห็นชอบให้ทุกๆวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยเห็นความสำคัญ ในการดำรงอยู่ของช้างไทย และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้คนทุกคนหันมาช่วยกันอนุรักษ์ช้าง
1
ที่มาของวันช้างไทย เกิดจากการที่คณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานองค์การภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ช้างไทย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นว่าถ้าสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้คนไทยหันมาสนใจช้าง รักช้าง ให้ความสำคัญ และเกิดการอนุรักษ์ช้างมากขึ้น คณะอนุกรรมกาจึงพิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกคิดจะเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา
แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทยไปแล้ว จึงพิจารณาหาวันอื่นแทน และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ประเทศไทยใช้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์นั้นมีความเหมาะสม จึงนำมติดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เเละได้รับความเห็นชอบ โดยให้ใช้วันที่ 13 มีนาคมเป็น "วันช้างไทย" ต่อมา สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
ผลลัพธ์จากการก่อตั้งวันช้างไทย ถือว่าเป็นการยกย่องและให้เกียรติว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติที่ช้างเคยได้รับในอดีต เช่น ใช้ช้างเผือกเป็นตราสัญลักษณ์ของธงชาติและประเทศ ใช้เป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
*ห้ามนำบทความไปดัดแปลง แก้ไข หรือทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต
ที่มาของแหล่งข้อมูล.
ช่องทางติดตามเรา.
#ประวัติศาสตร์ช้าง
#ตำนานช้าง
#เรื่องเล่าช้าง
#นิทานช้าง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา