7 มี.ค. 2023 เวลา 13:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ

BAM: สรุปธุรกิจและรายได้ในไตรมาส 4/2022

BAM: Bangkok Commercial Asset Management PCL
Year End 2022
NPLs (Non-Performing Loans): เป็นหนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ ธนาคารและบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้กับสถาบันการเงินเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป
NPAs (Non-Performing Assets): เป็นทรัพย์สินด้อยคุณภาพหรือทรัพย์สินรอการขาย ที่สถานบันการเงินได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการโอนทรัพย์ชำระหนี้ ส่วนใหญู่มักจะเป็นบ้านหรือคอนโด
🥇 Performance of Year End 2022
- Cash Collection ของปี 2022 ที่ทางบริษัทได้ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 17,488 ล้านบาท ทางบริษัทสามารถดำเนินการเรียกเก็บได้ 16,951 ล้านบาท (คิดเป็น 97% ของเป้าที่วางไว้) +6% YoY
โดยแบ่งเป็น
NPLs 10,115 ล้านบาท (59.6%), +16% YoY | มาจาก การขายทอดตลาด 36% และ มาจากการประนอมหนี้ 64%
NPAs 6,836 ล้านบาท (40.4%), -6% YoY | มาจาก
a. อสังหาริมทรัพย์ 55%
b. ที่ดินเปล่า 28%
c. อาคารพาณิชย์ 15%
d. สังหาริมทรัพย์ 1%
e. โรงแรม 1%
ปริมาณการลงทุนซื้อ NPLs & NPAs ในปี 2022 มีภาระหนี้เงินต้น 15,651 ล้านบาท โดยต้นทุนซื้ออยู่ที่ 8,253 ล้านบาท | โดยเป็น NPLs ภาระหนี้เงินต้น 15,286 ล้านบาท มีต้นทุนที่ 8,079 ล้านบาท และ NPAs ภาระหนี้เงินต้น 385 ล้านบาท มีต้นทุนที่ 174 ล้านบาท ซึ่งจะแบ่งตาม Quarter ได้ดังนี้
⭐ NPLs By Quarter:
▪️ Q1/22: ภาระหนี้เงินต้น 2,066 ล้านบาท (ต้นทุน 1,347 ล้านบาท)
▪️ Q2/22: ภาระหนี้เงินต้น 2,469 ล้านบาท (ต้นทุน 1,391 ล้านบาท)
▪️ Q3/22: ภาระหนี้เงินต้น 895 ล้านบาท (ต้นทุน 379 ล้านบาท)
▪️ Q4/22: ภาระหนี้เงินต้น 9,856 ล้านบาท (ต้นทุน 4,963 ล้านบาท) | สัดส่วนในการเข้าซื้อ แบ่งประเภทสินเชื่อออกเป็นอัตราส่วนดังนี้ SME Loans 30.5%, Housing Loans 57.7%, Corperate Loans 11.8%
⭐ NPAs By Quarter:
▪️ Q1/22: ไม่มี
▪️ Q2/22: ภาระหนี้เงินต้น 7 ล้านบาท (ต้นทุน 4 ล้านบาท)
▪️ Q3/22: ภาระหนี้เงินต้น 76 ล้านบาท (ต้นทุน 49 ล้านบาท)
▪️ Q4/22: ภาระหนี้เงินต้น 302.27 ล้านบาท (ต้นทุน 121.35 ล้านบาท)
🥈 Financial Highlight Year End 2022
- Revenue from Loans Purchase of Receivables: 9,709 ล้านบาท, +3% YoY
- Total Operating Income: 12,780 ล้านบาท, -4% YoY
- Total Operating Expenses: 2,887 ล้านบาท, +6% YoY
- Interest Expenses: 2,637 ล้านบาท, +3% YoY
- Total Expected Credit Losses: 4,049 ล้านบาท, -15% YoY
- Net Profit: 2,725 ล้านบาท, +5% YoY
📌Financial Highlight Q4/22
- Revenue from Loans Purchase of Receivables: 2,481 ล้านบาท, -1% QoQ, -3% YoY
- Total Operating Income: 3,473 ล้านบาท, +6% QoQ, -8% YoY
- Total Operating Expenses: 861 ล้านบาท, +24% QoQ, +10% YoY
- Interest Expenses: 694 ล้านบาท, +3% QoQ, +10% YoY
- Total Expected Credit Losses: 860 ล้านบาท, -18% QoQ, -23% YoY
- Average Cost of Fund: 3.19% จาก Q3/22 อยู่ที่ 3.09% และ Q4/21 อยู่ที่ 2.98%
- D/E Ratio: 2.04x จาก Q3/22 อยู่ที่ 2.01x และ Q4/21 อยู่ที่ 1.94x
- Net Profit: 867 ล้านบาท, +21% QoQ, -12% YoY
⏺️ Financial Cost Management 2021 >> 2022
- หุ้นกู้ (Debenture): 78% >> 85%
- เงินกู้ (Term Loans): 18% >> 12%
- ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note): 4% >> 3%
🔶 Strategies of the Year 2023
🔹 NPLs Management
▪️ สร้างโครงการหรือแคมเปญที่เป็นทางเลือกให้กับลูกหนี้ที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ และพยายามเพิ่มบัญชี ลูกหนี้ TDR ใหม่ (ลูกหนี้ที่เข้ารับการปรับโครงสร้างหนี้) 3,000 บัญชี เพื่อที่ทางบริษัทจะได้รับกระแสเงินสดที่เพิ่มมากขึ้น
▪️ หาแนวทางที่จะเข้าถึง ลูกหนี้ Non-TDR ให้กลับมาปรับโครงสร้างหนี้กับทางบริษัท
▪️ เร่งผลเรียกเก็บกับลูกหนี้ที่มีหลักประกันมูลค่าสูง
🔹 NPAs Management
▪️ Renovate ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เกิดความน่าสนใจ และจะสามารถเกิดการขายหรือเช่า ได้เร็วขึ้น
▪️ นำ Data เข้ามาในการประกอบตัดสินใจในการผลิดแคมเปญ
🔹 Other Key Strategies
▪️ การเลือกซื้อ NPLs & NPAs จะใช้กลยุทธ์แบบ Selective Strategy
▪️ พัฒนาเกี่ยวกับด้าน IT Infrastructure ของบริษัท ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
📌Summary
อย่างที่เรารู้กันว่า ปี 2022 มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น
1. สงครามรัฐเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาพลังปรับสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของหลายบริษัท
2. ค่าเงินบาทที่อ่อน ส่งผลให้การนำเข้า มีต้นทุนทางธุระกิจที่สูงขึ้น
3. ปัญหาเงินเฟ้อที่เผชิญ ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น คนซื้อของได้น้อยลง และเจ้าของกิจการขายของได้น้อยลง สุดท้ายก็ต้องชะลอการขยายกิจการ
ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำเศรษฐกิจภายในประเทศของเราฟื้นตัวได้ช้า หลังจากผ่านวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจะกระทบต่อทางบริษัท คือ แม้ว่าทางบริษัทจะมีทรัพย์ออกมาจำหน่ายสู่ตลาด ก็จะไม่มีผู้เล่นที่เสี่ยงหรือมีความสามารถในการซื้อทรัพย์นั้นได้ และรวมถึงการเรียกเก็บ Cash Collect ก็จะได้น้อยตามไปด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้านำปัจจัยเหล่านี้มาเทียบกับผลงานการดำเนินงานของทางบริษัท ต้องถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้เลยทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์ของบริษัทที่ได้นำมาใช้ สามารถตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี เช่น
1. การเร่งติดตามให้ลูกหนี้มาปรับโครงสร้างหนี้
2. ออกแคมเปญ ที่สามารถให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย
3. การ Renovate สินทรัพย์เกี่ยวกับอสังหา เพื่อเพิ่มมูลค่า และ สามารถปล่อยขายได้โดยเร็ว
4. พยายามเพิ่ม ลูกหนี้ TDR เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดให้กับบริษัท
อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2023 จะมี Momentum เชิงบวก จากการเปิดของประเทศจีนและจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย จึงน่าจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เศรษฐกิจของเรา เริ่มกลับดีขึ้นได้บ้าง แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกันอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2023
และมุมมองของทางเพจเรา คาดว่า ในช่วง Q1/23 ผลงานของทางบริษัท น่าจะ Drop Down เพราะ ช่วง Q1 มักจะเป็นช่วง Low Season ของทางบริษัท ถ้าดูจากปี 2021-2022 มักจะขาย NPLs และ NPA ได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเรียกเก็บ Cash Collection ได้ตามที่หวังไว้
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#BAM
ปล1. จากข้อมูลข้างต้น ไม่มีเจตนาชักชวน หรือให้ซื้อ-ขายตามบทความข้างต้น
ปล2. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาไตร่ตรองการลงทุนว่าจะซื้อหรือขายด้วยตัวท่านเองเท่านั้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา