10 มี.ค. 2023 เวลา 04:13 • ปรัชญา

ทำไมความคิดว่าสิ่งนั้นง่ายถึงให้ผลลบกับเราในบางครั้งกันนะ

ผมขอเริ่มต้นบทความแรกด้วยความหวาดกลัวโดยจะหยิบยกตัวอย่างที่ผู้อ่านอาจเคยประสบพบเจอกันมาบ้างจะน่าสนใจและช่วยเปิดมุมมองใหม่ให้เราแค่ไหน มาติดตามกันครับ!!
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่าเป็นเรื่องง่ายทำได้สบาย แต่ทำไมผลลัพธ์ถึงออกมาไม่ดีกันนะ ถ้าเทียบกับสิ่งที่คิดว่ายากแล้วบางครั้งผลลัพธ์ของสิ่งที่คิดว่ายาก ยังออกมาดีกว่าอีก!!
เหตุผลก็เพราะว่าหากเราคิดว่าทุกอย่างมันเป็นเรื่องง่าย เช่น การสอบ ความสร้างความสัมพันธ์ งานต่างๆรวมไปถึงการสร้างลักษณะนิสัยใหม่ๆ เช่นการหยุดผัดวันประกันพรุ่ง จะส่งผลให้เราขาดการคิดวิเคราะห์อย่างที่ควรจะเป็น และเมื่อล้มเหลวก็จะรู้สึกแย่โกรธ สับสนมากเป็นพิเศษ และเมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ก็จะทำให้เราพยายามแก้ปัญหาทุกวิถีทางเพื่อขจัดความรู้สึกลบดังที่กล่าวข้างต้น
โดยวิธีการนั้นอาจจะไม่สมเหตุสมผลและอาจลามไปถึงเป็นเรื่องความรุนแรง โดยตัวผู้เขียนเองก็เคยมีประสบการณ์ที่มั่นใจมากว่าว่าข้อสอบนั้นง่ายมาก จึงไม่ได้ทบทวนอ่านหนังสือ คิดว่าความรู้ที่มีในห้องก็เพียงพอแล้ว เมื่อถึงเวลาสอบผู้เขียนก็รู้สึกว่าเราทำได้ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมากลับเป็นคะแนนที่ไม่ได้ตามคาดหวัง ย่ำแย่กว่าที่คิด ส่งผลให้เรารู้สึกทางลบ ว่า "โถ่ ทำไมเป็นแบบนี้!!" และอาจลงเอยด้วยการมีอารมณ์ขุ่นเคืองและไปลงกับสิ่งต่างๆทั้งมีและไม่มีชีวิต
โดยผู้เขียนเกิดอารมณ์ความเครียดขึ้นจึงพูดจึงพูดจาโดยใช้อารมณ์กับเพื่อนเมื่อโดนถามคะแนนสอบ ว่า " ทำไมล่ะ จะอยากรู้ไปทำไม จะบอกว่าได้มากกว่าหรอ " ด้วยน้ำเสียงประชดประชันซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ก็ส่งผลให้ความสัมพันธ์ที่ไม่ได้ต่อเพื่อน เพราะเขาถามเพียงความอยากรู้ทั่วไปเท่านั้นเอง ผู้เขียนก็ได้ขอโทษเขาในภายหลัง เมื่อกลับมามีสติ
ความเชื่อมั่นในตนเอง
ตรงข้ามกับสิ่งที่คิดว่ายาก ความยาก จะส่งผลให้เราเกิดความกลัวขึ้น และหากเราคาดว่า สึก เราก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพราะความกลัวจะช่วยให้เราคิดได้ว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งนั้น และเมื่อถึงเวลาที่ต้องเผชิญเราก็จะเข้าถึงมันด้วยความระมัดระวัง จนในบางครั้ง ข้อสอบที่คิดว่ายาก คิดว่าทำไม่ค่อยจะได้ กลับได้คะแนนออกมาดีกว่าที่คาดหวังไว้ซะอีก!!
โดยผู้เขียนก็จะยกประสบการณ์ส่วนตัว ด้วย การสอบคณิตศาสตร์ ผู้เขียนเป็นคนที่ไม่มีหัวทางด้านการคำนวณเอาเสียเลย เวลาเรียนก็พยายามอย่างมากแต่ความเข้าใจกับตรงกันข้าข้ามกับความพยายามของผู้เขียน เมื่อถึงเวลาสอบ ผู้เขียนก็ตั้งใจทบทวนดูเนื้อหา จากในยูทูปและวิธีคิดจากแหล่งต่างๆเพิ่มเติม เมื่อถึงเวลาสอบผู้เขียนก็รู้สึกว่ายากมากๆและคิดว่าตกแน่นอน แต่ผลลัพธ์กับเกินคาด(ซึ่งก็ไม่ได้ดีนะครับ) ได้ 14 เต็ม 20!
ซึ่งก็ทำให้ผู้เขียนเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความคิดในเรื่องนี้ จนในตอนนี้ผู้เขียนได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมาแล้วและต้องการที่จะนำเสนอในความคิดดังกล่าวให้ผู้อื่นได้รับรู้และอาจเชื่อมโยงกับผู้อ่านได้ และผู้เขียนต้องอธิบายเพิ่มเติม ว่าการมีความกลัวที่มากเกินจน
ส่งผลให้เราคิดหาเหตุผลมากจนเกินไปจนเหตุผลนั้นอาจะเป็นเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล ก็อาจทำให้เราไม่ได้ทำสิ่งนั้นหรือได้ผลลัพธ์ไม่ดีด้วยเช่นกัน เช่น "การคิดว่าข้อสอบนี่มันยากมากเลยนะ ตอนเรียนก็ไม่เข้าใจ อาจารย์สอนไม่ดีหรือเรากันนะที่ไม่สามารถเข้าใจได้ ทำไมเพื่อนทำได้เราถึงทำไม่ได้ งั้นช่างมันละกัน ปล่อยมันไป ช่างมันไป!!"
และสุดท้ายคะแนนก็ออกมาแย่แบบสุดๆทั้งๆที่หากพยายามสักหน่อยเราก็จะพอทำข้อสอบนั้นๆได้บ้างแล้ว ผู้เขียนพยายามยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในรั้วโรงเรียนเพื่อให้เข้าถึงผู้อ่านได้ทุกช่วงวัย
กล่าวโดยสรุปแล้วการรับรู้ความกลัวส่วนใหญ่ของเรานั้นมักถูกฝังมาให้เห็นแต่เพียงแง่ลบ แต่จริงๆแล้วยังมีแง่ดีที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นแล้วความกลัวก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไปหากเราเข้าใจมันได้อย่างถูกความหมาย เพราะความกลัวก็พัฒนามานานตั้งแต่สมัยยุคก่อน
ประวัติศาสตร์ที่พอเกิดการ เผชิญหน้า ก็จะกลัวและคิดว่าต้องหนีหรือสู้ เพียงแต่ในปัจจุบันนั้นเหตุการณ์แบบในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีลดน้อยลงอย่างมากมายมหาศาลแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนเป็นบริบทต่อสิ่งที่ต้องเผชิญในยุคใหม่แทน ความคิด เหตุผล ตรรกะของเราก็พัฒนามาอย่างช้านานด้วยเช่นกัน
สรุปแล้วความกลัวคือสิ่งที่เราต้องเผชิญและรับมือกับมันเพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครที่จะอยู่ได้อย่างไม่มีความหวาดกลัว สุดท้ายแล้วเรามาเผชิญหน้าและกล้าริเริ่มทำสิ่งที่อยากทำกันเถอะ! และอย่าลืมคิดอย่างรอบครอบด้วยนะแล้วเราจะพัฒนากันไปได้ไกลอีกแสนไกล
Can do!
ความกล้าหาญคือสิ่งที่ต้านความกลัว มีชัยชนะเหนือความกลัว แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความกลัวสูญหายไป
-มาร์ก ทเวน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา