15 มี.ค. 2023 เวลา 00:09 • ปรัชญา

"ไม่มีความรับผิดชอบก็เท่ากับได้นำพาความล้มเหลวมาสู่ตัว"

หลายๆคนก็มักจะคุ้นๆกับคำว่า “รับผิดชอบ” เป็นคำที่ทุกคนเคยได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็กๆ จนโต ก็ยังต้องได้ยินกับคำนี้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในการทำงาน ทุกคนในองค์กรจะต้องรับผิดชอบในงานของตนเอง
องค์กรทุกแห่งต้องการให้คนทุกคน ทุกระดับ มีความรับผิดชอบ แต่ก็ยังมีคนที่แสดงพฤติกรรมที่ยังไม่รับผิดชอบต่องานอยู่เสมอ มีพฤติกรรมอะไรบ้างที่เรียกว่าเป็นคนไม่มีความรับผิดชอบ
1.โทษคนอื่น พฤติกรรมแรกเลยที่มักจะเห็นในคนที่ขาดความรับผิดชอบก็คือ เวลาทำงานผิดพลาดทั้งๆ ที่เป็นงานในหน้าที่ของตนเอง แต่กลับชี้นิ้วไปยังคนอื่น หรือ สิ่งอื่นๆ รอบตัว ว่าเป็นคนที่ทำผิด เพราะสิ่งเหล่านี้ผิด ก็เลยทำให้เขาทำงานผิด ดังนั้น เขาไม่ผิดนะ
2.มีข้ออ้างตลอดเวลา เวลาทำงานพลาด หรือไม่ถูกต้อง ก็มักจะมีข้ออ้างตลอดว่า เขาไม่ได้ตั้งใจ แต่มีเหตุสุดวิสัยที่เข้ามาทำให้เขาต้องทำงานพลาด และมักจะหาข้ออ้าง หรือ พยายามที่จะมีเหตุมีผลตามมาว่าทำไมถึงทำงานไม่สำเร็จ พยายามที่จะทำตัวมีเหตุผล เพื่อเอาเหตุผลนั้นมาเป็นข้ออ้างว่า ตนไม่ต้องรับผิดชอบ
3.ปกปิดความผิดพลาด นี่ก็เป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งที่พบเจอเสมอ เวลาที่พนักงานที่ขาดความรับผิดชอบทำงานผิดพลาดขึ้น ก็จะพยายามปกปิดสิ่งที่ผิดพลาด พยายามที่จะไม่ให้นาย และเพื่อนๆ รู้ว่าเขาทำผิด เวลามีคนถามถึงความผิดนี้ ก็จะทำเป็นไม่รู้เรื่องอะไร
4.หลบเลี่ยง พฤติกรรมนี้ เหมือนกับนกกระจอกเทศที่มุดหัวลงไปในรู โดยที่คิดว่า ไม่มีใครเห็นตัวเองแน่ๆ คนที่ขาดความรับผิดชอบ ก็จะเป็นลักษณะเดียวกันก็คือ จะพยายามหลบเลี่ยง ไม่พบหน้าคนอื่น ไม่นัด ไม่ตอบ ไม่แสดงตัว ฯลฯ พยายามเบี่ยงเบนความสนใจของคนอื่นไปที่เรื่องอื่นๆ หรือไม่ก็หายตัวไปเลย โดยที่ติดต่อไม่ได้
5.ร้องเอะอะโวยวายเสียงดัง เพื่อจะปกปิดความผิด หรือเบี่ยงเบนความสนใจของคนอื่น บางคนก็เอาเสียงเข้าข่ม ใช้อำนาจที่มีอยู่ทำให้คนอื่นรู้ว่า อย่าเข้ามายุ่งในเรื่องนี้ มิฉะนั้น จะมีเรื่อแน่นอน โดยที่ตัวพนักงานที่ขาดความรับผิดชอบคนนี้
ก็จะแสดงถึงอิทธิพลที่ตนมี โดยกันให้คนอื่นออกไป
การกระทำทุกอย่างข้างต้น ล้วนแต่ไม่ได้ทำให้ความผิดพลาดมันหายไป มันยังคงอยู่นั่นแหละ เพียงแต่อาจจะยังไม่ถึงเวลาระเบิดออกมา เมื่อไหร่ที่ปิดบัง หลบเลี่ยงไปนานๆ เข้า พอถึงจุดหนึ่ง สุดท้ายความผิดมันก็ปรากฏชัดเจนอยู่ดี
ดังนั้น การที่เราจะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องงาน เราต้องพัฒนาตนเองให้เปิดใจรับผิดได้อย่างเปิดอก เพื่อที่จะรีบแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดไป จะดีกว่า การยอมรับความผิดพลาดว่าเป็นของตนเองนั้น จะทำให้คนอื่นรู้สึกให้อภัย และเข้ามาช่วยกันแก้ไข
เหมือนกับนายที่รับผิดแทนลูกน้อง เพราะอยู่ในความรับผิดชอบของนาย แบบนี้ลูกน้องก็จะให้ความเชื่อถือ และจะมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นตามนายด้วย เพราะเห็นตัวอย่างที่ดี
ช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงที่สังคมต้องการให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้อื่น เพื่อให้เราผ่านวิกฤตโรคร้ายนี้ไปให้ได้เร็วที่สุด
เราทุกคนจึงต้องรับผิดชอบต่อตนเอง คนรอบข้าง และสังคมที่เราอยู่ เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
"คนเก่ง" กับ "คนดี" ถ้าให้เลือกมาทำงานด้วยเราจะเลือกคนแบบไหน?
เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่านิยามของคำว่า “คนเก่ง” และ “คนดี” คืออะไรในมุมมองของคนสรรหา คำว่า “คนเก่ง”คือ คนที่มีทั้งความรู้ ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ในตัวเองที่ตรงกับตำแหน่งงานที่สรรหา ส่วนคำว่า “คนดี” คือ คนที่มีบุคลิกภาพ ทัศนคติ แรงจูงใจ สไตล์การทำงานที่เหมาะสม และเข้ากับวัฒนธรมมองค์กรได้ จะเห็นว่าคุณสมบัติของทั้งคนเก่งและคนดีนี้ก็คือ Competency นั่นเอง
ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นได้ด้วยตา ถ้าเทียบคนกับภูเขาน้ำแข็งตามแนวคิดของ Dr. David McClelland แล้ว ก็เหมือนกับว่ามีบางส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา และมีบางส่วนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้น้ำที่คาดเดาได้ยาก ว่าจะมีรูปร่างลักษณะอย่างไร ใหญ่โตขนาดไหน เป็นต้น
สรุปก็คือ ถ้าเราต้องการคนเก่ง คุณสมบัติของคนเก่งจะสามารถมองเห็นได้ง่ายกว่าคนดีเพราะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือน้ำ และคนดีคือคนที่เหมาะสมกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความชอบ สไตล์การทำงาน เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้น ซึ่งจะมองเห็นได้ยากกว่า
ดังนั้น ถ้าเราต้องการทั้งคนเก่งและคนดี คนสรรหาจำเป็นต้องมองทั้งสิ่งที่อยู่เหนือน้ำและสิ่งที่อยู่ใต้น้ำด้วย เพราะถ้าเลือกแต่สิ่งที่เห็นก็จะได้แต่คนเก่งแต่อาจอยู่กับองค์กรไม่ได้เพราะไม่ได้มองเรื่องความเหมาะสมและเข้ากับองค์กรได้หรือไม่ ซึ่งเป็นส่วนที่ซ่อนอยู่ภายในของคนนั่นเอง นอกจากการสรรหาคนเก่งแล้วการบริหารคนเก่งก็มีความสำคัญเช่นกัน
เพราะการเป็นคนดีคนจะเคารพและนับถือ
การเป็นคนเก่งจะนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าเติบโต 😊
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
ขอบคุณข้อมูล, เครดิต :
โฆษณา