30 มี.ค. 2023 เวลา 05:31 • ประวัติศาสตร์

เยอรมนี ฮิตเลอร์ เงินเฟ้อจากผู้แพ้สู่ผู้ชนะเศรษฐกิจโลก

วิกฤตเศรษฐกิจเยอรมัน หลังจากการเป็นผู้แพ้สงครามโลกถึง 2 ครั้ง
สร้างความบอบช้ำให้ประเทศเยอรมนีเป็นอย่างมาก
แต่อะไรทำให้เยอรมนี “ล้มแล้วลุกได้อีกครั้ง” ?
ย้อนกลับไปช่วงต้นศตวรรษที่ 20
เยอรมัน สังเกตแล้วว่า พวกอังกฤษพยายามเข้าไปขุดหาน้ำมันในตะวันออกกลาง
โดยพวกอังกฤษต้องอ้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวอาระเบียเข้าไปในอิหร่าน เพื่อขุดน้ำมัน สำหรับนำไปใช้กับยุทโปกรณ์
เพราะ ประสิทธิภาพของยุทโธปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากถ่านหิน จะด้อยกว่าน้ำมัน
เช่น เรือแล่นด้วยถ่านหินจะแล่นได้ช้า เรือดำน้ำ ใช้ถ่านหินก็จะดำได้ไม่นาน
อังกฤษจึงมองว่า จำเป็นต้องมีน้ำมัน
โดยชาวอังกฤษที่จุดประกายไอเดียเรื่องนี้ คือ Winston Churchill
นายกราชนาวีแห่งจักรวรรดิบริเทน ในเวลานั้น​
 
ไอเดียของอังกฤษในเวลานั้น คือ ถึงเยอรมันมีเทคโนโลยีเยอะ แต่ถ้ายังใช้ถ่านหิน
ก็วิ่งได้แค่นั้น เราจำเป็นต้องไปหาแหล่งน้ำมันเพิ่มเติมเรือให้แล่นได้เร็วที่สุด
พอเยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศเล็กในยุคนั้นรู้เข้า เลยอาศัยบารมีของลูกค้าสำคัญในการซื้อยุทโธปกรณ์ อย่างออตโตมัน ดินแดนใหญ่ แต่ไม่มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีของตัวเอง
โดยเยอรมัน เลยบอกทางออตโตมันว่าต้องการเข้าถึงแหล่งน้ำมัน ให้เร็วไม่แพ้พวกอังกฤษ จึงเป็นต้นกำเนิดของทางรถไฟที่ชื่อว่า Berlin-Baghdad Railway
โดยเส้นทางจะเริ่มจากคอนสแตนติโนเปิล ตุรกี เข้าไปที่ซีเรีย และเมโซโปเตเมีย คือ อิรัก เพื่อเข้าไปขุดน้ำมัน
ที่ต้องไปทางรถไฟ เพราะทางน้ำอังกฤษครองหมด
โดยผู้ที่ให้เงินกู้ในการสร้างทางรถไฟ คือ Deutsche Bank ให้เงินกู้ออตโตมัน (ตุรกี) ในการสร้างทางรถไฟ เพื่อขนส่งน้ำมันจากเมโซโปโตเมีย ซึ่งก็อยู่ใต้อำนาจของออตโตมัน โดยส่งไปให้กองทัพตุรกีและเยอรมนี
ปัญหา คือ อังกฤษรู้ทัน เลยมีการระเบิดทางรถไฟ
สุดท้าย แผนนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ขณะเดียวกันในเวลานั้นพระเจ้า Kaiser Wilhelm ที่ 2 แห่งเยอรมนี รู้ดีว่า ถ้าจะเป็นเจ้าโลก ต้องมีทั้งทหารบกและทหารเรือ
เยอรมนีเริ่มเลยสร้างกองทัพเรือ ทั้งที่เยอรมนีมีทางออกทะเลแค่ทางเดียว คือ Hamburg กับ Bremen เลยพยายามสร้างกองทัพกับเรือดำน้ำ
แต่เพราะตอนรบ เยอรมันเป็นกองหนุนออตโตมัน
การแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ของเยอรมนีไม่สาหัสเหมือนครั้งที่ 2
แต่ถึงผลจากสงครามจะไม่ได้บอบช้ำมาก
สิ่งที่แย่ คือ ถูกผู้ชนะสงคราม อย่าง ฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐฯ รุมกินโต๊ะเยอรมนี
มีการเรียกค่าปฏิกรรมสงคราม เป็นเงินมากมายมหาศาล
หลังแพ้สงคราม​ พระเจ้า Kaiser สละราชบัลลังก์ไปแล้ว ก็ลี้ภัยไป และสวรรคตที่เนเธอร์แลนด์
พอไม่สามารถจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม เศรษฐกิจทรุด
สหรัฐฯเลยให้เงินกู้ เรียกว่า Dawes Plan หรือ แผนการในการให้เยอรมนีสามารถชำระหนี้สงครามได้
ทำให้เยอรมนีหลุดจากปัญหาเงินเฟ้อมหาศาล หรือ Hyper Inflation
ถามว่า พอประเทศอยู่ในสภาพ Hyper Inflation เป็นอย่างไร
ต้องบอกว่า ตอนนั้นเยอรมนีไม่มีสภาพคล่องเลย ประเทศไม่มีทองและเงินเหลือ เพราะต้องจ่ายเงินให้คู่สงคราม
เรียกว่า เงินเฟ้อ หลัก 1,000,000% เงินไม่มีค่าอีกแล้ว
สุดท้ายผ่านมาได้ เพราะ Gustav Ernst Stressemann นายกรัฐมนตรี ต้องยกเลิกสกุลเงินเดิมทั้งหมด และสร้างสกุลเงินในช่วงเปลี่ยนผ่าน คือ Rentenmark
เช่น 1 Rentenmark และขนมปังได้ 3 ก้อน ปลากระป๋อง 2 กระป๋อง เป็นต้น
ขณะเดียวกันบริษัทใหญ่ในเยอรมนี หลังได้เงินอัดฉีดจากสหรัฐ เริ่มฟื้นตัว คนมีงานทำ
สหรัฐฯ ก็สั่งสินค้าจากเยอรมนีไปขาย
ใช้เวลาประมาณ 8 ปี ในการกลับมาแบบไม่ใช่ประเทศร่ำรวย แต่สถานการณ์ดีขึ้น
จนปี 1929 ที่พึ่งหลักอย่างสหรัฐ เกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตก Wall Street : The Great Inflation
หมายความว่า ลูกค้าไม่มีเงินซื้อของ ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกก็ตกต่ำ เพราะอเมริกาไม่สามารถซื้อสินค้าได้ เงินที่อเมริกาที่จะช่วยเยอรมนี ช่วยไม่ได้แล้ว
เยอรมนีเลยกลับมาอยู่ในสภาพ Hyper Inflation เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 10 ปี
ช่วงเวลานั้น คนเยอรมนี บอกว่า พรรคประชาธิปไตยทั้งหลายไม่ได้พาเราไปไหล ลองทางเลือกใหม่ดีกว่า พรรคนั้น คือ ​Nazi Germany ของฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์ไม่ได้รู้เรื่องเศรษฐกิจ
แต่ชูเรื่องอุตสาหกรรมสงครามเป็นตัวนำ แสดงท่าทีว่าอยากทำสงคราม
กระตุ้นการสร้างงาน จ้างงาน ด้วยการทำระบบไฟฟ้า ทำรถถัง กระสุนปืน ผลิตเครื่องบิน
ถามว่าเอาเงินจากไหน?
ทองคำจำนวนมากที่ฮิตเลอร์มี ส่วนหนึ่งได้มาจากชาวยิว ซึ่งมีทองและฐานะ
ฮิตเลอร์จับคนตระกูล Rothschild เป็นตัวประกัน
พอฮิตเลอร์ขึ้นมา ขวัญกำลังใจคนดีขึ้น มีงานทำ
นอกจากนี้ฮิตเลอร์ยังชักดาบ ไม่จ่ายหนี้อังกฤษและฝรั่งเศส
มาถึงหลังจบสงคราโลกครั้งที่ 2
ถึงจะแพ้สงคราม แต่การปฏิบัติกับเยอรมนีแตกต่างออกไป
ไม่มีใครเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงคราม
เพราะรู้ว่าถ้าทำแบบนั้น เยอรมนีจะดุขึ้นและกลับมาอีก
ไม่สู้ให้เยอรมนีฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่าน Marshall Plan
เยอรมนีได้เงินก้อนนี้เยอะสุด เพราะจ่ายตามสัดส่วนประชากรที่เหลืออยู่หลังสงครามโลก
เงินก้อนที่เยอรมนีได้มา ถูกใช้จ่ายอย่างมหัศจรรย์
มีการเรียงลำดับความสำคัญ คิดแบบยุทธศาสตร์ คือ ไม่ได้ทำทุกอย่าง
แต่เริ่มจากทำโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ที่อยู่อาศัย
เพราะเส้นทางคือเส้นเลือดในการขนส่ง เพื่อให้อุตสาหกรรมรถยนต์ตามมา
พูดง่ายๆว่า เขาเริ่มจากอุตสาหกรรมใหญ่ก่อน เช่น รถยนต์
เพราะเป็นการการต่อยอดอุตสาหกรรมอาวุธ ที่เป็นเครื่องเครื่องกลเดิมที่มีอยู่
ทำให้เขาฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว
จนมีช่วงหนึ่งเยอรมนีส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ
เพราะมุมมองในการส่งออกของเยอรมนี ไม่ได้มองแค่ B2B แต่มอง B2C
เขาส่งออกเครื่องจักรสำหรับผลิตสินค้า ควบคู่ไปกับการส่งออกรถยนต์
ในฝั่งแรงงาน คนเยอรมนีตายในสงครามเยอะ เลยนำเข้าแรงงานจาก ตุรกี กรีซ อิตาลี
สุดท้ายนี้ ถ้าถามว่า ทำไมเยอรมนีถึงลุกขึ้นมาได้ ก็เพราะ
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและการมีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระบบ ทำให้อุตสาหกรรมหลักของประเทศเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงประชากรที่มีคุณภาพ จึงทำให้เยอรมนีกลับมาเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกจนถึงปัจจุบัน
 
ที่เห็นได้ชัด คือ พวกเขาเป็นชาติที่เรียนรู้จากความผิดพลาด แม้แต่บทเรียนจากสงคราม หรือตราบาปอย่างฮิตเลอร์
ในขณะที่ญี่ปุ่นเลือกจะไม่พูดถึง แต่เยอรมนีเลือกที่จะสอนให้รู้ทุกอย่าง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีก
ที่มา : Global Economic Background EP.10
โฆษณา