Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Lesson
•
ติดตาม
30 มี.ค. 2023 เวลา 05:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ฮ่องกง : ศูนย์กลางการเงินโลก?
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ก่อนหน้านี้เคยมีสถานภาพเป็น British Crown Colony หรือ เมืองขึ้นของอังกฤษ
ประมาณ 130 ปี
ในทางภูมิศาสตร์ มีพื้นที่เพียงกว่าหนึ่งพันตารางเมตร หรือเล็กกว่ากรุงเทพฯ
แต่สามารถผงาดขึ้นมาอยู่บนเวทีเศรษฐกิจการลงทุนของโลกได้อย่างโดดเด่น
ถ้าไปดูตลาดหลักทรัพย์ของฮอ่งกงสามารถระดมทุนได้ ในอันดับที่ 6 ของโลก
ในฝั่งอุตสาหกรรมท่าเรือ การขนถ่ายสินค้า การค้าระหว่างประเทศ
จะพบว่าปริมาณการโหลดสินค้าเข้าออกของเขาอยู่อันดับที่ 7 ของโลก
เขาทำได้อย่างไร? ไปหาคำตอบพร้อมกัน..
ก่อนหน้าอังกฤษจะเข้าไปยึดครองเกาะฮ่องกง หลังสิ้นสุดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ในปี 1842 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 บ้านเรา
จีนเอง ไม่เคยใส่ใจว่าเกาะแห่งนี้จะมีศักยภาพในการค้าขาย มากเท่าวันนี้
จนตอนที่อังกฤษชนะสงคราม และให้จีนยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ
ข้าหลวงชาวจีนถึงกับถามข้าหลวงชาวอังกฤษที่เข้าไปยึดครองพื้นที่ว่า
“ทำไมเลือกพื้นที่ตรงนี้ ที่ไม่มีอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอะไรเลย
นอกจากทำประมงและทำธูปหอมขาย”
ข้าหลวงชาวอังกฤษ ตอบว่า เกาะแห่งมีศักยภาพ
เพราะ Still waters run deeply หรือ กระแสน้ำสงบนิ่งแต่ไหลลึก
หมายความว่า เป็นท่าเรือที่มีน้ำลึกแต่นิ่ง ทำให้เรือที่มีระวางการบรรทุกสูงมาก สามารถเข้าไปยังพื้นที่เพื่อทำการค้าขายได้ โดยไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงของคลื่นลม
ซึ่งตอบโจทย์อังกฤษ ในการใช้เกาะแห่งนี้ เป็นเมืองท่าสำหรับค้าขายกับตะวันออกไกล
ถัดมา 18 ปี ในปี 1860 เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2
จีนในรัชสมัยพระเจ้าเสียนเฟิง ต้องยอมส่งมอบ “เกาลูน” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นแผ่นดินของชายฝั่งมณฆลกวางตุ้ง ที่เชื่อมกับเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ
หลังจากนั้น 5 ปี ในปี 1865 นักการเมืองชาวสก็อตติช Sir Thomas Sutherland ได้ก่อตั้ง HSBC สถาบันการเงินที่ถือว่าเป็นเส้นเลือดทางเศรษฐกิจในการทำการค้าให้กับ British Empire ในภูมิภาคชายฝั่งแปซิฟิก
ต่อมาในปี 1891 นักการเงินชาวอังกฤษอีกกลุ่มหนึ่ง ได้ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ในฮ่องกง เพื่อระดุมทุนสำหรับการทำธุรกิจในตะวันออกไกล
ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดหลักทรัพย์ที่ไดนามิกแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้น อังกฤษยังไม่ได้ตั้งใจจะสถาปนาพื้นที่ฮ่องกงให้เป็นพื้นที่สำคัญทางการเงินของโลก
เพราะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 การเงินของโลกไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนทุกวันนี้
หลักๆ แค่ต้องการใช้พื้นที่ตรงนี้ค้าขาย
จนในปี 1898 สมัยจักรพรรดิ Guangxu หรือ จักรพรรดิองค์รองสุดท้ายของต้าชิง
จีนถูกพันธมิตร 8 ชาติรุกราน และบังคับให้ปล่อยเช่าพื้นที่ต่างๆ ของจีนให้มหาอำนาจ 8 ชาติ โดยต้องมีอายุการให้เช่า 99 ปี
อังกฤษเลือกเช่าพื้นที่ต่อขยายจากเกาลูนเดิม เรียกว่า New Territories (คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของเกาะฮ่องกง)
ในเวลานั้น สิ่งที่อังกฤษและชาติมหาอำนาจคิด คือ จีนไม่น่าจะมีพื้นที่ยืนในเวทีโลกได้อีก
ดังนั้น ตัวเลข 99 ปี จึงเป็นแค่ในเชิงนิตินัย แต่จริงๆ คิดจะยึดพื้นที่แบบถาวร
ต่อมาในปี 1941 หลังจากญี่ปุ่นโจมตี Pearl Harbour ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา
ก็เข้ายึดครองเกาะฮ่องกงอยู่ 4 ปี จนจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945
ถามว่าแล้วอุตสาหกรรมการเงินของฮ่องกงมาโตตอนไหน?
คำตอบคือ หลังจากทศวรรษที่ 1960 ไปแล้ว
อังกฤษหันมาทบทวนว่า สถานะของอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แทบจะไม่เหลืออุตสาหกรรมหลักๆ อะไรแล้ว
จึงตั้งใจสถาปนาจักรวรรดิของตัวเอง ให้เป็น British Second Empire
ด้วยการสร้างประเทศและบรรดาเครือข่ายอาณานิคมที่ยังเหลือให้เป็นเส้นเลือดของการเงินของโลก
โดยอังกฤษ สถาปนากรุงลอนดอนให้เป็นศูนย์กลางการเงินอันดับ 2 ของโลก
และใช้เครือข่ายอาณานิคม หมุนเวียนเงินทุนที่สามารถดึงดูดมาจากทั่วโลก
ฮ่องกงเลยได้รับการสถาปนาจากอังกฤษ ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีความง่าย ไม่ว่าจะเทรดด้วยเงินสกุลไหน
ด้วยระบบการเงินของฮ่องกงมีความยืดหยุ่น กฎระเบียบที่ง่าย ภาษีต่ำ บวกกับการวางรากฐานของอังกฤษ และความน่าเชื่อถือของอังกฤษ ทำให้ฮ่องกงถือเป็นแหล่งระดมทุนที่มีความสำคัญตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960-1980
โดยจุดพีคที่สุดของ Market Capitalisation ในฮ่องกง ตอนปี 2020 มีเงินหมุนเวียนถึง 47 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 15 ล้านล้านดอลลาร์
หมายความว่าฮ่องกงตลาดเดียวระดมทุนได้ถึง 15%ของ GDP โลก
หลายคนอาจจะถามว่าแล้วสิงคโปร์ไปไหน?
ในปี 1950 สิงคโปร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายู
ปี 1960 จึงเพิ่งเป็นยุคเริ่มต้นของสิงคโปร์
โดยสิงคโปร์ก็มองฮ่องกงเป็นต้นแบบ และต้องการพัฒนาตัวเอง เป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้โมเดลคล้ายคลึงกันในการพัฒนา จนสิงคโปร์ กลายเป็นอีกหนึ่งตลาดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ฮ่องกงเป็นตลาดทุนที่สำคัญของอังกฤษ
อังกฤษเลยค่อยข้างห่วงแหนฮ่องกง ไม่ว่าในฐานะเมืองท่าสำคัญในเอเชีย และตลาดระดมทุน จึงมีความพยายามต้องการต่อสัญญาเช่า 99 ปี
เพราะถ้าตามกำหนด สัญญาเช่าจะครบในปี 1977
แต่จีน ซึ่งตอนนั้นเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว หลังการเสียชีวิตของเหมาเจ๋อตุงในปี 1977
พอเติ้งเสี่ยวผิงเข้าสู่อำนาจในปี 1978 จีนเริ่มเห็นความสำคัญของฮ่องกงในการดึงเงินทุนไหลเข้าสู่จีน จึงต้องการนำฮ่องกงกลับสู่อ้อมอกของจีน
โดยมีการเจรจากับอังกฤษในปี 1982 นายกรัฐมนตรีของอังกฤษตอนนั้น คือ นางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ ซึ่งพยายามโน้มน้าวเติ้งเสี่ยวผิง เพื่อให้ฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษต่อไป
แต่การเจรจาล้มเหลว เพราะ เติ้งเสี่ยวผิงยังคงยืนยันที่จะไม่ต่อสัญญา และต้องเอาเกาลูนและฮ่องกง กลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจีนอย่างสมบูรณ์แบบ
เพราะเติ้งเสี่ยวผิงเริ่มต้นเขตเศรษฐกิจใหม่ของจีนที่เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง
มีพื้นที่ติดกับ เกาลูน และ New Territories หวังจะได้เศรษฐีฮ่องกงและนักลงทุนระดับโลกที่มีความเชื่อในชื่อเสียงฮ่อง ดึงดูดเงินลงทุนเข้ามาในจีน เพื่อทำให้เศรษฐกิจของจีนเป็นระบบตลาด
สุดท้ายแล้วฮ่องกงก็กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ฮ่องกงก็ยังคงเป็นสายใยสำคัญของโลกตะวันตกและตะวันออก และเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกในโซนเอเชียตะวันออก เป็นตลาดที่ทั่วโลกให้ความเชื่อมั่นในกฎระเบียบและความมั่นคง
นอกจากนี้ยังเป็นตลาดระดมทุนของบริษัทจีน ที่เรียกว่า H-ShareMarket
ซึ่งเป็นเหมือนสปริงบอร์ดของบริษัทเทคฯจีนในการระดมทุนผ่านตลาดฮ่องกงนั่นเอง
ที่มา : Wealth History EP.28
การลงทุน
ธุรกิจ
การเงิน
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สรุปความรู้ที่ได้จาก Podcast Wealth History
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย