Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Lesson
•
ติดตาม
4 เม.ย. 2023 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
จุดเริ่มต้น Brexit ทำไมอังกฤษต้องถอนตัวจากสหภาพยุโรป?
ใครติดตามสถานการณ์ต่างประเทศ ต้องคุ้นหู คำว่า Brexit หรือเหตุการณ์ที่สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU)
แต่หลายคนอาจไม่รู้ความเป็นมา ว่าทำไม สหราชอาณาจักร ถึงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ EU
เรื่องนี้ต้องย้อนไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ชาติยุโรปต่างเหนื่อยหน่ายกับการทำสงคราม เพราะหลังสงครามสิ้นสุดลง แต่ละประเทศก็แทบล้มละลาย
โชคดีที่สหรัฐฯ ให้เงินช่วยเหลือผ่าน Marshall Plan
ในเวลานั้น ยุโรปเริ่มหันมามองหน้ากัน และคิดว่า พวกเขาน่าจะเดินหน้าไปด้วยกัน โดยมีกลไกที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม สามารถอยู่ร่วมกัน และพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีสมานฉันท์
ในที่สุด 6 ปี หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1951
6 ชาติในยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก รวมกันเรียกว่า Inner Six
ต่อมาอีก 4 ปี ในปี 1955 ก่อตั้งชุมชนถ่านหินและเหล็กแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community – ECSC)
ในปี 1957 ก่อตั้ง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งยุโรป (European Economic Community -EEC)
คำถามคือ สหราชอาณาจักรหายไปไหน?
ต้องบอกว่า ในเบื้องต้นสหราชอาณาจักรไม่ได้ถูกเชิญจาก Inner Six
แต่สหราชอาณาจักรก็มองว่า การรวมกลุ่มน่าจะเป็นประโยชน์กว่า
ปี 1960 เลยไปรวมตัวกันอีก 7 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีมและโปรตุเกส
รวมกลุ่มชื่อ EFTA (European Free Trade Association) หรือ Outer SEVEN
ต่อมา ในปี 1963 สหราชอาณาจักร ภายใต้นายกรัฐมนตรี Herold Macmillan จากพรรคอนุรักษ์นิยม อยากรวมตัวกับ Inner Six เลยพยายามขอไปรวมกลุ่ม
แต่ปัญหา คือ แม้ 5 ชาติในกลุ่ม Inner Six เห็นพ้องว่าอยากได้สหราชอาณาจักรมาร่วม
แต่ผรั่งเศส ซึ่งอยู่ภายใต้ ประธานาธิบดี Charles de Gaulle กลับค้านหัวชนฝา
เพราะมองว่า สหราชอาณาจักรเป็นร่างทรงของอิทธิพลอเมริกันในยุโรป
นอกจากนี้ยังกลัวว่า หากเปิดโอกาสให้สหราชอาณาจักรเข้ามา จะกระทบกับโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
แม้ความพยายามครั้งแรกจะถูกปัดตก แต่ฝั่งอังกฤษไม่ละความพยายาม
ปีต่อมา ก็เสนอจะเข้าร่วมอีก
แต่ก็เจอประธานาธิบดี Charles de Gaulle เบรกอีก
โดยให้เหตุผลที่ต่างออกไปว่า เศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ฟื้นตัวกว่าชาติอื่นในยุโรปมาก เลยกลัวว่าเข้ามาแล้วจะเข้ามาถ่วง EEC ทำให้เจอปัญหาไร้เสถียรภาพ
กระทั่งปี 1969 ประธานาธิบดี Charles de Gaulle ลาออกจากตำแหน่ง หลังสูญเสียคะแนนนิยม คนที่ขึ้นมาแทนคือ Georges Pompidou
เขาเห็นต่างจาก Charles de Gaulle โดยเลือกที่จะอ้าแขนต้อนรับให้สหราชอาณาจักรเข้ามาเป็นสมาชิกของ EEC
ทำให้ในปี 1972 สหราชอาณาจักร ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของ EEC
ตอนนั้น เกิดกลุ่ม Euroscepticism ที่ตั้งข้อสงสัยว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิกEEC จะทำให้สหราชอาณาจักรเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจในหลายๆ เรื่องหรือเปล่า
ความเคลือบแคลงนี้ดำเนินมาจน ในปี 1974 Harold Wilson ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ต้องจัดทำประชามติ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เพื่อเป็นการสลายข้อกังขาในสังคมอังกฤษว่าควรเป็นสมาชิกของ EEC หรือไม่
ผลคือ 67.23% อยากให้สหราชอาณาจักรอยู่กับยุโรปต่อไป
หลังจากนั้น ยุโรปมีความพยายามจะนำเงินสกุลตราเดียว หรือ เงินยูโร (European Single Currency) ออกมาใช้ แต่นักการเมืองอังกฤษส่วนใหญ่กดดัน
นาง Margaret Thatcher นายกฯอังกฤษในขณะนั้น เพราะ ไม่อยากให้เอาเงินปอนด์ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ European Currency
ที่สุด Margaret Thatcher ตัดสินใจให้สหราชอาณาจักรเข้าไปอยู่ในยุโรปครึ่งก้าวก่อน
ด้วยการเข้าไปร่วมในกลไกที่เรียนกว่า European Exchange Rate Machanism (ERM)
และหลังจากนั้น 1 เดือน Margaret Thatcher ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกฯหลังอยู่ในตำแหน่งมา 11 ปี
ต่อมาปี 1992 เงินปอนด์ถูกกลุ่ม Hedge Fund โจมตี จนค่าเงินร่วง ทำให้อังกฤษค่าเงินปรับตัวลง จนถูกบับให้ถอนตัวออกจาก ERM แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของ EEC
พอในปี 1993 ยุโรปมีการประชุมที่ Maastricht เพื่อยกระดับความร่วมมือ
EEC กลายเป็น EU
ตลอดเวลาที่ผ่านมา สหราชอาณาจักร มีความลังเลในสถานภาพของตัวเองมาตลอด ถึงแม่จะมีข้อดี คือ มีการค้าทีเ่ป็นเนื้อเดียวกันกับยุโรป ไม่มีพรมแดน ไม่มีศุลกากร
แต่พวกเขาเชื่อว่า ด้วยระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก EU ที่สุดจะทำให้สหราชอาณาจักรประสบกับปัญหาหลายอย่าง
เศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่า จะหันมาใช้เงินภาษีของสหราชอาณาจักรทำให้เสียมากกว่าได้
ขณะที่กลุ่มที่ต่อต้าน EU เชื่อว่า สหราชอาณาจักรต้องจ่ายเงินมหาศาลในกิจกรรมของ EUและมองว่าการรวมตัวดังกล่าวเป็นการเอื้อต่อนักธุรกิจ และชนชั้นสูงที่ได้ประโยชน์จากการรวมตัวของตลาด ในขณะที่ต้นทุนทั้งหลายถูกผลักไปอยู่ที่งบประมาณสำหรับผู้ที่ฐานะไม่ดีหรือยากจน
ความเคลือยแคลงนี้ ทำให้เดวิด คาเมรอน อดีตนายกรัฐมนต เคยให้คำมั่นว่า ถ้าชนะการเลือกตั้ง จะทำประชามติให้ประชาชนได้โหวตว่าสหราชอาณาจักรอยากอยู่กับ EU ต่อไปหรือไม่
ผลในปี 2016 ออกมาพลิกล็อก 51.89 ต้องการให้สหราชอาณาจักรแยกออกจากยุโรป
แต่การจะเดินออกมา ต้องมีการทำข้อตกลง ทั้งเรื่องภาษีศุลากร การเคลื่อนย้ายพลเมืองระหว่างกันจะเป็นอย่างไร
หลังใช้เวลา 4 ปีเต็ม ในเดือนมกราคม 2020 ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกัน
สหราชอาณาจักรจึงได้ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่นั้น..
ที่มา : WEALTH HISTORY EP.22
ความรู้รอบตัว
การเงิน
การลงทุน
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สรุปความรู้ที่ได้จาก Podcast Wealth History
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย