2 เม.ย. 2023 เวลา 12:39 • ปรัชญา

นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 19 เรื่อง “พญาเหยี่ยวบินข้ามความตาย”

ณ วัดแห่งหนึ่งมีพระวัยกลางคนรูปหนึ่งที่มีความขยันหมั่นเพียรมาก และเคร่งการปฏิบัติเหลือเกิน แต่ปรากฏว่าพระรูปนี้ยังรู้สึกตัวเองว่าไปไม่ถึงไหนเลย ยังไม่รู้แจ้งเสียที ซ้ำร้ายยังสู้บรรดาพระหนุ่มรุ่นน้องไม่ได้ด้วยซ้ำ และเมื่อได้ลองตรึกตรองดูก็คิดว่า ตนไม่มีความเป็นพระเสียเลย แม้แต่ทำใจให้สงบก็ไม่ได้ สติปัญญาไม่เอาไหน
1
ดังนั้นพระรูปนี้เลยเห็นว่า เป็นเช่นนี้แล้วตนก็น่าจะลองออกไปธุดงค์หรือเดินทางไปปฏิบัติธรรมในที่อื่นที่ลำบากดูบ้าง เผื่อว่าบางทีอาจจะทำให้พบหนทางแห่งการรู้แจ้งเสียที และก่อนจากไปพระรูปนี้ก็ได้มาร่ำลาพระอาจารย์ ซึ่งก่อนไปพระวัยกลางคนก็ได้กล่าวกับท่านพระอาจารย์ว่า
ท่านอาจาร์ยขอรับ ศิษย์นี่ช่างไม่ได้เรื่องจริงๆ ตลอดเวลาที่อยู่กับอาจารย์มากกว่า 10 ปี อาจารย์ได้เมตตาสั่งสอนอะไรมากมายให้กระผม แต่กระผมโง่เขลานัก กลับไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรเลย กระผมเองก็รู้ตัวว่าไม่ได้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับความเป็นพระเลย ดังนั้นวันนี้กระผมเลยอยากขอลาไปธุดงค์ เพื่อแสวงหาธรรมจากที่อื่นบ้าง จึงเกิดบทสนทนาระหว่างทั้งคู่ดังนี้
อยู่ที่นี่แล้วไม่รู้แจ้ง อย่างนั้นก็เลยไปหาความรู้แจ้งจากที่อื่นรึ
พระอาจารย์
ก็คงเป็นเช่นนั้นแหละขอรับ เพราะกระผมอยู่ที่นี่แล้วแม้จะตั้งใจฝึกเพียงใด แต่ก็ดูเหมือนไม่ได้อะไรเลย ขณะที่เพื่อนคนอื่นเขาดูเหมือนจะไม่ได้ทำอะไรนัก ไม่ได้เคร่งครัดเสียด้วยซ้ำ แต่เขากลับพัฒนาและไปได้ดีกว่าตัวกระผมมากนัก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วกระผมก็เลยรู้สึกว่า ‘เบื่อแล้ว’ เลยคิดว่าน่าจะออกไปธุดงค์ที่อื่น เพื่อพบกับความยากลำบาก เผื่อว่าจะได้พัฒนาขึ้น
พระวัยกลางคน
3
พอฟังเช่นนั้น พระอาจารย์ท่านเลยสอนพระรูปนี้ไปว่า
เจ้ารู้ไหมว่า การรู้นั้นเป็นเรื่องที่หาคำจำกัดความไม่ได้ การรู้ไหลมาเองจากจิตของเรา ทั้งยังไม่อาจให้คนอื่นได้ เมื่อเรายังไม่รู้จะเร่งรีบให้รู้มันก็ไม่ได้อีกเช่นกัน การที่เจ้าปฏิบัติธรรมมันก็เป็นการรู้ของเจ้า การที่เขาปฏิบัติธรรมมันก็เป็นการรู้ของเขา จะเอามาเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ แล้วทำไมเจ้าจึงมารวมเป็นเรื่องเดียวกันเล่า
พระอาจารย์
1
พระรูปนี้จึงตอบท่านอาจารย์ด้วยเสียงน้อยเนื้อต่ำใจไปว่า
นั่นเพราะพระอาจารย์ไม่รู้สิขอรับว่า ทุกวันนี้กระผมช่างต่ำต้อยนัก เปรียบแล้วตัวกระผมก็เหมือนกับนกกระจอก ขณะที่พระรูปอื่นเหมือนพญาเหยี่ยว
พระวัยกลางคน
พระอาจารย์เลยถามกลับไปว่า
ต่ำต้อยแล้วไง ยิ่งใหญ่แล้วไง
พระอาจารย์
พระรูปนี้ก็เลยตอบท่านอาจารย์ไปว่า
ก็นกกระจอกนั้นบินได้ใกล้ๆเท่านั้น แต่พญาเหยี่ยวนี้บินได้ไกลเกินกว่าที่จะจินตนาการ
พระวัยกลางคน
เมื่อพระรูปนี้พูดจบ พระอาจารย์ก็กล่าวแต่เพียงสั้นๆ แต่ฟังแล้วจุกอกว่า
แม้พญาเหยี่ยวสามารถบินได้ไกลเกินจินตนาการ แต่มันบินข้ามความตายได้หรือเปล่าล่ะ
พระอาจารย์
1
เครดิตภาพ: Pixabay
  • สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
  • “เรียนรู้ช้า แต่ก็ยังมีวันรู้” ในนิทานเรื่องนี้พระอาจารย์สอนพระวัยกลางคนว่า การเรียนรู้ไม่มีเร็วไม่มีช้า ความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าใคร แต่อยู่ที่เราได้เรียนรู้อะไรมากกว่า ถึงช้าแต่หากมีความเพียรพยายาม สักวันเราก็ต้องได้รู้เช่นกัน
บางคนเรียนรู้ด้วยการจดจำ บางคนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ซึ่งทั้งสองทางนี้นำมาซึ่งปลายทางเหมือนกันได้ (ถ้าการเรียนก็คือได้ปริญญา) แต่คนที่เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมักจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า เพราะว่าความเข้าใจคือการเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่ใช่การจดจำเพียงอย่างเดียว
3
เรามักคิดว่าเราเรียนรู้จนหมดครบแล้ว แต่ความจริงคือเราแค่คิดบนบรรทัดฐานของตัวเอง โลกในความเป็นจริงความรู้ยังเปิดกว้างให้เรียนรู้อยู่ตลอด มีเรื่องมากมายที่เรายังไม่รู้ หากเราปิดกั้นเราย่อมไม่มีทางรู้เรื่องเหล่านั้น ดังนั้นเราควรตั้งอยู่บนพื้นฐานความพร้อมในการเรียนรู้อยู่เสมอ
2
  • “ไม่ควรเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น” เราควรจะแข่งกับตนเองเพราะตัวเรานี่แหละที่นับเป็นศัตรูตัวฉกาจที่สุด หากเราเอาชนะตัวเองไม่ได้แล้ว เราจะไปเอาชนะคนอื่นได้อย่างไร
2
นอกจากนี้การที่เราไม่ใส่ใจเอาชนะคนอื่นจนเกินไป ก็ทำให้เราไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร เราจะได้พิจารณาเห็น ข้อดี-ข้อเสีย ของเราเอง ไม่ใช่ของคนอื่น และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น การมองคนอื่นเรามักจะจับผิดแต่ข้อเสียของเขา นำมาสู่ด้านลบในความสัมพันธ์อีกด้วย
3
เครดิตภาพ: Pixabay
  • ที่มาของนิทาน:
หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
หนังสือ วิถีแห่งปัญญา : เพียงอ่านนิทานเซน ก็เปลี่ยนชีวิตเราไปตลอดกาล, อารมณ์เซน, Feel Good Publishing, 2565, ISBN 978-616-578-665-2
<เครดิตภาพปก: River Han/fineartamerica.com>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา