6 เม.ย. 2023 เวลา 17:19 • ความคิดเห็น

เราพึ่งพาแรงผลักดันมากเกินไป

Anne Thorndike แพทย์จากโรงพยาบาลมัสซาชูเสต เมืองบอสตันเชื่อว่าเธอสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคน้ำอัดลมของคนภายในโรงพยาบาลได้โดยไม่ต้องบอกให้ดื่มน้ำเปล่า วิธีการคือทางโรงพยาบาลได้เพิ่มน้ำเปล่าไปในตู้เย็นที่ใกล้กับเคาเตอร์ที่โรงอาหารมากขึ้นและให้นำตะกร้าใส่ขวดน้ำดื่มวางไว้ใกล้เคาเตอร์ทั่วโรงอาหาร
ผลคือ 3 เดือนต่อมา มีการบริโภคน้ำเปล่าเพิ่มขึ้น 25.8% และการบริโภคน้ำอัดลมลดลง 11.4%
ที่สำคัญคือที่ไหน มากกว่า อะไรและทำไม
ถ้าเราเจอขนมที่ครัวหรือของเราที่ซื้อไว้คงจะกินโดยไม่คิดอะไรมากแล้วถ้าในออฟฟิศหรือที่ทำงาน ถ้ามีขนมวางไว้เราจะหยิบมากเท่ากับที่บ้านรึเปล่า ?
เวลาเราคุยกับใครที่บ้านกับระหว่างประชุม เสียงเราจะดังเท่าเดิมมั้ย ?
แล้วเราจะสร้างสภาพแวดล้อมที่จะสร้างนิสัยยังไง ?
ปี 1936 Kurt Lewin นักจิตวิทยาได้คิดสมมติฐานว่า พฤติกรรม(B) คือฟังก์ชันระหว่างตัวบุคคล(P)กับสภาพแวดล้อม (E) B=f(P,E)
ต่อมามีการใช้งานในปี 1952 Hawkins Stern นักเศรษฐศาตร์ ที่ใช้แนวคิด "การซื้อเพราะถูกแนะนำ" เป็นการที่ผู้ซื้อเห็นสินค้าและคิดถึงความจำเป็น แต่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการ"
ตัวอย่างร้านขายของแบรนด์จะนำเอาสินค้าที่อยากทำกำไรไว้ในระดับสายตาให้มองเห็นเพื่อให้มีโอกาสถูกเลือกมากกว่า แบบเดียวกับคนในโรงพยาบาลที่พอเห็นน้ำอัดลมเยอะ โอกาสดื่มน้ำอัดลมก็มีมากกว่า
เคยเป็นแบบผมไหมบอกว่าจะอ่านหนังสือแต่เก็บไว้ที่มุมห้องแล้วพอจะอ่านก็ไม่อยากลุกไปเปิดคอมที่อยู่ใกล้ๆบอกเดี๋ยวอ่านบน PDF เข้าGoogle ออเช็คFacebookแป๊ปนึงแล้วก็ไหลยาวๆ
แต่ทางกลับกันตอนนี้ผมเล่นเอาโน้ตบุ๊กตัวเองเก็บใส่กระเป๋าไว้ใต้เตียงทุกวันและเอาออกมาแค่ตอนปั่นบทความและวางหนังสือAtomic Habits ไว้ที่หมอน จะช่วยให้อ่านได้ง่ายขึ้นเพราะมันอยู่ใกล้แค่นี้
สรุปคือถ้าอยากให้นิสัยทำได้มากขึ้น ทำให้ตัวกระตุ้นมันชัด
อยากเล่นกีตาร์ลองวางไว้ใกล้ๆดู
ต้องกินยาก่อนนอนวางไว้ที่หัวเตียงได้
อยากอ่านหนังสือแต่ไม่อ่านวางไว้บนหมอนเหมือนผมเลยก็ได้
บริบทมีผลต่อนิสัย
นักวิทยาศาสตร์ทดลองให้คนที่มีปัญหานอนไม่หลับไปนั่งอีกห้องและรอให้ตัวเองง่วงและค่อยกลับมา ผลคือคนกลุ่มนั้นสามารถหลับได้ง่ายขึ้น
เรามีความนิสัยผูกกับสิ่งของและบริบทต่างๆ เช่น เก้าอี้นวมบางคนใช้สำหรับการอ่านหนังสือในขณะที่บางคนใช้สำหรับการดูทีวีและนั่งกินขนม
เช่นเดียวกับห้องนอนหากคุณเคยชินกับการที่ลงเตียงแล้วหลับได้ในเวลาอันสั้นสมองจะจำว่านี่คือที่นอนเหมือนผมที่มีแนวโน้มเล่นเกมกับคอมที่ผมกำลังพิมพ์อยู่มากกว่าปั่นบทความถึงขั้นต้องลบรหัสและเกมทิ้ง และห่างจากคอมไปครึ่งปีจนอาการอยากเกมหายไป
แต่ว่าเราสร้างสภาพแวดล้อมทั้งหมดไม่ได้สินะ หนังสือเลยแนะนำให้เราแบ่งส่วนการใช้งาน ห้องนอนมีไว้นอนถ้าอยากเล่นมือถือไปห้องนั่งเล่นดีกว่า แล้วหากเราชินนิสัยจะเกิดขึ้นอัตโนมัติเมื่อเราตอบสนอง อย่างถ้าทำงานที่ห้องทำงาน เวลานั่งโต๊ะเราสมาธิจะมาอัตโนมัติ อีกอย่างไม่แนะนำให้ทำหลายอย่างในบริบทเดียวเหมือนโต๊ะที่ผมนั่งตอนนี้ใช้ปั่นบทความกับอ่านหนังสือ
ถ้าอยากลองกินอาหารที่ดีแต่ติดนิสัยซื้ออาหารจากร้านเก่าลองเปลี่ยนร้านและมันจะช่วย อย่างน้อยก็สร้างความเคยชินกับการซื้ออาหารใหม่กับการไม่รู้ว่า Junk Food อยู่ไหน ผมลองเปลี่ยนให้เล่นเกมผ่านโทรศัพท์และทำงานผ่านคอมในห้องส่วนตัว แต่ตอนนี้ติดปัญหาที่ผมนอนไม่หลับ ;w;
สรุปทุกอย่างนะ
1. ยิ่งเราเห็นตัวกระตุ้น ง่ายเท่าไหร่ใกล้เท่าไหร่เรามีโอกาสทำมันมากขึ้น
เช่น ถ้าอยากอ่านหนังสือ ลองวางไว้ใกล้ๆ อยากฝึกกีตาร์วางไว้ในที่ที่มองเห็น
2.เรามีนิสัยต่อบริบท เมื่อมีบริบทสภาพแวดล้อมที่คาดเดาได้พฤติกรรมจะคาดเดาได้ แนะนำให้สร้างนิสัยในสภาพแวดล้อมและบริบท เช่นถ้าอยู่บ้านก็แบ่งส่วน ทำงาน นอน พักผ่อน ทำงานในห้องทำงาน นอนในห้องนอน พักในห้องรับแขก
นักเขียนบางคนใช้โทรศัพท์ทำงาน ใช้ไอแพดอ่านหนังสือ
ขอบคุณที่อ่านถึงตรงนี้
อ้างอิง Automic Habits แปลไทย กฎข้อที่ 1 ทำให้ชัดเจน
โฆษณา