Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าจากห้องยา
•
ติดตาม
12 เม.ย. 2023 เวลา 16:17 • สุขภาพ
Teneligliptin
ในวันที่คนในครอบครัว ได้รับยาตัวนี้มา minny ยอมรับว่า ไม่รู้จักเลย เพราะในโรงพยาบาลที่ มินนี่ทำงานอยู่ ไม่มียาชนิดนี้ ทำให้ต้องไปหาข้อมูลสักหน่อยนะ😀😀
Teneligliptin เป็นยาในกลุ่ม DPP-4 inhibitors(Dipeptidyl peptidase-4 inhibitors)
.
ข้อบ่งใช้ เป็นยาลดน้ำตาลในเลือด เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในผู้ใหญ่
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น Sitagliptin Vildagliptin จะเป็นที่รู้จักมากกว่า
.
ยามีการจำหน่ายในญี่ปุ่น ตั้งแต่ ปี พศ. 2555 และขึ้นทะเบียนในไทย ปี 2563
.
กลไกในการออกฤทธิ์ของยา
1
ช่วยเพิ่มการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน(Incretin) ที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ**GLP 1 **(glucagon-like-peptide )
.
Incretin คืออะไร สำคัญอย่างไรนะ
Incretin คือ ฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาจากทางเดินอาหาร เมื่อมีการรับประทานอาหารเข้าไป และมีผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ โดยเป็นการกระตุ้นที่เกิดขึ้น เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่านั้น และ **GLP1 **ตัวสำคัญ ยังมีผลยับยั้งการหลั่งกลูคากอนจากอัลฟ่าเซลล์ของตับอ่อนด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกอิ่ม และลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร จึงมีผลทำให้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
1
แต่เนื่องจาก GLP1 จะถูกทำลายได้อย่างรวดเร็ว โดยเอนไซม์ DPP-4 ยาจึงเข้าไปยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว ช่วยทำให้ incretin อยู่ในกระแสเลือด และออกฤทธิ์ได้นานขึ้น เป็นผลดีในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
.
**ข้อดีของยาในกลุ่ม DPP-4 inhibitor
เนื่องจากยาในกลุ่มนี้ จะกระตุ้นอินซูลิน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่านั้น จึงไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และมีผลข้างเคียงน้อย
.
รูปแบบยา : 20 mg ต่อเม็ด
.
ขนาดยาที่ใช้ : 20-40 mg ต่อวัน
.
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
.
ท้องผูก แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเสีย มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
.
📌ไม่มีข้อห้าม หรือ ต้องปรับยา ในผู้ป่วยโรคตับโรคไตนะคะ
.
วันนี้ Minny ขอมาเล่าสั้นๆ เกี่ยวกับยาตัวนี้ เพราะคนทั่วไปอาจจะยังไม่ค่อยรู้จัก คราวหน้าจะเป็นเรื่องอะไร ขอไปคิดดูก่อนนะ 555 ท่านผู้อ่าน สนใจเรื่องอะไร เสนอแนะมาได้เลยนะ จะได้เป็นไอเดียเขียนต่อไป
3
และ ในวันหยุดสงกรานต์นี้ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับครอบครัวในช่วงวันหยุดยาวนี้นะคะ😀😊
.
.
ข้อมูลอ้างอิง
1.เอกสารกำกับยา
2. บทความ"การใช้ยาลดระดับน้ำตาลชนิดรับประทาน" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์อมรบุนนาค
https://drive.google.com/uc?export=download&id=1X0T9-PUuiVW2jKK0VhCRV-sL3C-uMpZO
#เรื่องเล่าจากห้องยา
#ส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัย
#ให้คำปรึกษาด้านยา
สุขภาพ
health
2 บันทึก
1
4
2
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย