13 เม.ย. 2023 เวลา 16:31 • ความคิดเห็น

ใช้ความปราถนาสร้าง/ทำลายนิสัย Atomic Habits กฎข้อ2ทำให้น่าดึงดูดใจ

พฤติกรรมของมนุษย์ มีวงจรทั้ง 4 เป็นส่วนประกอบ ปัจจัยกระตุ้น ความปราถนา การตอบสนอง รางวัล
ครั้งนี้เราจะพูดถึง ความปราถนาซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเกิดพฤติกรรมที่จะสร้างนิสัย หากมีปัจจัยกระตุ้นซึ่งมนุษย์รับรู้ตลอดเวลา(อย่างน้อยก็ทางกาย) แต่ไร้ความปราถนาจะไม่ทำให้เกิดพฤติกรรม
มาเข้าเรื่อง
ปกติเราอาจจะคิดว่าตอนที่เราติดนิสัยบางอย่างเช่น ติดเฟสบุ๊ก ขนาดที่ว่างๆก็เช็คตลอด มันเป็นการตอบสนอง
จริงๆคือมนุษย์มีความต้องการพื้นฐานที่สืบทอดจากวิวัฒนาการที่ถูกเติมเต็มด้วยนิสัยทั้งหลาย เช่น เล่นเกม ติดบุหรี่ กินเยอะ ซื้อของเยอะจัด อาจเป็นเพราะความต้องการคุณคือคลายความเครียด คุณไม่ได้อยากทำสิ่งเหล่านั้นแต่สิ่งเหล่านั้นมันตอบสนองความต้องการที่ว่า
ความต้องการ/ปราถนาพื้นฐาน
-ประหยัดพลังงาน
-ได้รับน้ำ อาหาร
-ความรัก
-ความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับผู้คน
-ความชัดเจน
-อภิสิทธ์
ผมอาจติดเกมเพราะมันเหมือนผมเป็นพระเจ้า(ได้รับอภิสิทธ์) ทั้งที่ความเป็นจริงอาจเป็นแค่คนไม่เอาไหน
คุณอาจติดเฟสบุ๊ก เพราะมันทำให้คุณได้เชื่อมต่อกับผู้คน
เมื่อพฤติกรรมนั้นเติมเต็มความปราถนาจะทำให้เกิด การคาดการณ์
เช่น
  • เครียด(ปัจจัยกระตุ้น)
  • ความปราถนา(อยากแก้เครียด)
  • ***สูบบุหรี่มันแก้เครียด(คาดการณ์)
  • การตอบสนอง(สูบบุหรี่)
  • รางวัล(หายเครียด)
เพราะพฤติกรรมก่อนหน้าทำให้คนตอบสนองต่อความปราถนาที่แตกต่างกัน เช่นคนที่เครียดแต่มีเพื่อนสูบบุหรี่ก็คงสูบตาม คนที่เล่นเกมแก้เครียดแต่เด็กก็คงเล่นเกมแก้เครียดแต่ปลายทางของมันจะตอบสนองความต้องการเหมือนกัน
การคาดการณ์ช่วยทั้งการสร้าง/ทำลายพฤติกรรม
ถ้าคุณเผลอจับเตาตอนร้อน จะคาดการณ์ว่ามันไม่ปลอดภัยเลยหลีกเลี่ยง
ปัญหาของเรื่องนี้คือ ความปราถนาหรือการคาดการณ์
ซึ่งจัดการด้วยวิธีปรับสมองให้ทำหรือเลิกพฤติกรรมด้วย
การปรับการคาดการณ์ซะ
เปลี่ยนคำว่า "ต้อง" เป็นคำว่า "ได้","มีโอกาส"
ในชีวิตเราคงไม่ค่อยชอบการโดนบังคับสินะ แต่เราใช้คำว่า ต้องเข้างานเช้า ไปโรงเรียนแต่เช้า ต้องดูแลครอบครัว ต้องทำข้าวเย็น ต้องทำเกรดให้ดี
มันต่างอะไรกับการบังคับล่ะ
แล้วถ้าลองใช้คำว่า ได้ไปโรงเรียนแต่เช้า รู้สึกฝืนน้อยลงเลยล่ะ จะมีซักกี่คนที่จะได้มาโรงเรียนเช้าแล้วนั่งคุยกับตัวเองในห้องไร้ผู้คนล่ะ ?
ถ้าต้องวิ่งตอนเช้าเป็น ได้เวลาฝึกความอดทน,เพิ่มพลังตัวเองแต่เช้าแล้วล่ะ เพราะจะมีซักกี่คนในวัยรุ่นตอนปิดเทอมที่ตื่นก่อน 6 โมง?
หรือถ้าต้องเจองานใหญ่ต้องพรีเซนต์โปรเจ็กต์ ลองเปลี่ยนทัศนะคติดูนะครับ จาก"เครียดโว้ย" เป็นตื่นเต้นโว้ย ความเครียดตอนนี้มันจะเป็น Energyให้ทำงานสุดตัว
อย่างน้อยทัศนคติจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมนะครับ
คงจะวิเศษมากเลย หากเวลาที่ปกติคุณจะกดดันตัวเอง เป็นรู้สึกสนุกกับมันผลงานที่ได้คงจะต่างกัน
ก่อนจากกันไปมีอีกวิธี
เชื่อมโยงพฤติกรรมกับสิ่งที่ทำให้เพลิน
ตัวอย่าง Ed Latimore ซึ่งเป็นนักมวยและนักเขียน เขาบอกว่าตัวเองเอง
สามารถมีสมาธิได้ทันทีหลังจากสวมหูฟัง
จริงๆแล้วเขาเคยเปิดเพลงที่ทำให้เขารู้สึกมีสมาธิตอนทำงานซ้ำๆ 5-20ครั้ง
พอเวลาผ่านไปทำให้เกิดความปราถนาจะใส่หูฟังซึ่งปัจจัยกระตุ้น(หูฟัง)มีผลให้เขามีสมาธิทันที
เปรียบเทียบเหมือนนักกีฬาที่วอร์มก่อนลงแข่งล่ะครับ ที่จะทำการเตรียมทั้งกายและใจ
อ้างอิง Atomic Habits กฎข้อที่ 2 ทำให้น่าดึงดูดใจ
โฆษณา