17 เม.ย. 2023 เวลา 12:30 • ประวัติศาสตร์

อีฟว์ แซ็งโลร็อง ( Yves Saint Laurent ) ค.ศ. 1936

แฟชั่นเดี๋ยวเดียวก็จางหาย สไตล์สิยืนยงคงนิรันดร์ (“Fashions fade. Style is eternal.”) เป็นประโยคคลาสสิคของเขาที่มักจะถูกกล่าวถึงในแวดวงแฟชั่นเสมอมาถือเป็นวาทกรรมคลาสสิกที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมาก โดยในบทความนี้เราจะย้อนไปดูที่มาของคนที่ฟันฟ่าอุปสรรคจนกระทั้งได้วาทกรรมประโยคนี้มา
แบรนด์ YSL มีต้นกำเนิดมาจาก Yves Henri Donat Mathieu-Saint-Laurent (อีฟว์ อ็องรี ดอนา มาตีเยอ-แซ็ง-โลร็อง) เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1936 ณ เมืองออราน ประเทศแอลจีเรีย เป็นคนสัญชาติแอลจีเรียโดยกำเนิด
คุณพ่อของโลร็องสืบสายเลือดมาจากบารอน มาตีเยอ เดอ โมเวียร์ คุณเเม่เป็นลูกสาววิศวกรชาวเบลเยี่ยมและภรรยาชาวสเปน โดยโลร็องเป็นลูกชายคนโตของบ้าน และมีน้องสาวอีกสองคน ซึ่งคุณแม่เป็นผู้ถ่ายทอดสายเลือดทางแฟชั่นให้แก่โลร็อง
Yves Saint Laurent
ในช่วงวัยเด็กสิ่งที่โลร็องชอบทำ คือ การพับตุ๊กตากระดาษ พอถึงช่วงวัยรุ่นเขาเปลี่ยนจากการพับตุ๊กตากระดาษ มาเป็นการตัดเย็บเสื้อผ้า และแน่นอนว่าคนที่โลร็องออกแบบและเย็บให้คนแรก คือ คุณแม่ ถัดมาก็เป็นน้องสาวอีกสองคนของเขาเอง
เมื่อปี ค.ศ. 1953 โลร็องได้ส่งแบบร่างเสื้อผ้าสไตล์ของตัวเองเข้าประกวดโครงการ Young Fashion Designers ซึ่งจัดโดย International Wool Secretriat จำนวน 3 รูป ซึ่งโลร็องได้รับ “รางวัลชนะเลิศอันดับสาม” มาครอง และเขาถูกเชิญเข้าร่วมพิธีการรับรางวัลที่ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคมของปีนั้น
ในระหว่างคุณแม่และโลร็องเดินทางไปที่ประเทศฝรั่งเศส พวกเขาทั้งคู่ก็ได้พบกับ Michel de Brunhoff ซึ่งเขาคือบรรณาธิการของ นิตยสารชื่อดัง Vogue ฉบับฝรั่งเศส
เขาชอบผลงานทั้ง 3 รูปของโลร็องมาก และได้แนะนำโลร็องเข้าไปสมัครเรียนที่ Chambre Syndicale de la Couture ที่ขึ้นชื่อว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่โด่งดังในด้านการออกแบบเสื้อผ้าในยุคนั้น
Chambre Syndicale de la Couture
เมื่อโลร็องอายุได้ 18 ปีบริบูรณ์ เขาได้ย้ายเข้าไปในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เข้าไปสมัครเรียนที่ Chambre Syndicale de la Couture ตามคำแนะนำของ Brunhoff เป็นที่เรียบร้อย เมื่อเวลาผ่านไปโลร็องก็ก็ได้ค้นพบตัวเองว่าเขาไม่ได้ชอบเรียน ณ ที่นี้จึงได้ตัดสินใจลาออก
แต่ในขณะเดียวกันนั้นโลร็องก็ได้ส่งผลงานอีกครั้งในโครงการเดิม แต่รอบนี้โลร็องคว้า “รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง” และไม่นานโลร็องก็ได้นำผลงานของตนเองไปให้ Brunhoff ดูทำให้ Brunhoff ตะลึงในผลงานว่าคล้ายคลึงกับ Dior และโลร็องก็ได้ส่งผลงานเขานั้น ให้แบรนด์ Dior ดู
และดันไปเข้าตาดีไซน์เนอร์ชื่อดังและยิ่งใหญ่ในยุคนั้น นั่นคือ คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) เขายังพูดอีกว่า “ดิออร์” เป็นผู้สอนและแนะนำเขาให้รู้จักศิลปะการออกแบบของตนเอง และเขาได้ร่วมงานกับดิออร์ในช่วงเวลาต่อมา
บูติกที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐ
ภายหลังดิออร์ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1957 โลร็องก็ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าดีไซน์เนอร์ห้องเสื้อ Christian Dior นอกจากนี้ โลร็องยังช่วยกอบกู้วิกฤตกิจการของดิออร์ ที่ได้เจอกับความล้มเหลวทางเศรษฐกิจเอาไว้ได้อีกด้วย
หลังจากที่ประสบความสำเร็จได้ไม่นานนัก โลร็องก็ได้ไปเข้าร่วมในการรบภายใต้กองทัพฝรั่งเศสในสงครามรบในประกาศอิสรภาพของแอลจีเรีย แต่โลร็องอยู่ในกองทัพได้เพียงแค่ 20 วันเท่านั้น
เขาก็ต้องประสบปัญหาภาวะตึงเครียดอย่างหนักทางจิตใจจากความกดดัน รวมทั้งมีข่าวร้ายจากห้องเสื้อดิออร์ ที่ถึงขั้นมีคำสั่งที่ต้องสั่งปลดตำแน่งหัวหน้าดีไซน์เนอร์และเลิกจากกันเลยที่เดียว ทำให้โลร็องต้องได้เข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดสภาพจิตใจในโรงบาลของกองทัพ ซึ้งเขาถูกบำบัดด้วยยา จะถึงขั้นการช็อตไฟฟ้า
เมื่อในปี ค.ศ. 1960 โลร็องก็ได้รับการปล่อยตัวจากสถานบำบัด และได้ทำการฟ้องร้องเรียนค่าเสียหายจากห้องเสื้อดิออร์ ในเรื่องการละเมิดสัญญาการว่าจ้างงานและผลคือ โลร็องชนะคดี
หลังจากนั้นโลร็องก็ได้พบรักกับปิแยร์ แบรก์แซ่ และทั้งสองคนจึงได้ทำการเริ่มต้นธุรกิจห้องเสื้อของตัวเองในนาม Yves Saint Laurent โดยโลร็องได้รับเงินสนับสนุนในการทำธุรกิจนี้จากมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน
Le Smoking (ค.ศ. 1996)
เจ. มิค โรบินสัน (J. Mick Robidson) ถึงแม้ต่อมาโลร็องและปิแยร์จะเลิกรากันไปแต่ทั้งสองยังคงเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกันเหมือนเดิม
ในส่วนผลงานชิ้นสำคัญของโลร็องนั่นก็คือ Le Smoking (ค.ศ. 1996) ชุดทักซิโดสูทเข้ารูปของคุณสุภาพสตรี ที่ดีไซน์ออกมาแบบ เฟมินิสต์ เป็นผลงานที่ดึงดูดและความสนใจในโลกของวงการแฟชั่นเป็นอย่างมาก
รวมไปถึงแม้กระทั่งวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นสไตล์ที่บุกเบิก สื่อถึงการแต่งกายไร้เพศ แต่สง่างามสำหรับสตรี ที่เป็นแบบเดียวกับชุด Power Suits และ Pantsuit ของปัจจุบัน
ซึ่งสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงพร้อมกับเปิดโอกาสให้สตรีได้สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมือนสุภาพบุรุษที่มีอำนาจและทรงอิทธิพลในโลก ที่สุภาพบุรุษเป็นใหญ่ โดยมี เฮลมุท นิวตัน ช่างภาพชื่อดังได้ถ่ายภาพสะท้อนพลังอำนาจของชุดนี้ออกมาให้โลกและวงการแฟชั่นได้เห็นเป็นครั้งแรก
หนังที่สร้างเรื่องจริงซึ่งอิงจากประวัติของ อีฟว์ แซ็งโลร็อง
ประโยคคลาสสิคที่โลร็องพูดเสมอมา คือ “Fashions fade. Style is eternal” (แฟชั่นเดี๋ยวก็จางหาย สไตล์สิ คงยืนนิรันดร์) ในแวดวงแฟชั่นนี้มักจะได้ยินประโยคนี้บ่อยที่สุด และโลร็องเป็นดีไซน์เนอร์ที่มีชีวิตอยู่คนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติจาก Metropolitan Museum Of Art ด้วยการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวให้
พร้อมกับเขายังได้รับเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์จากปธานาธิบดี ฌาคส์ ซีรัค และประธานาธิบดี นิโกลาส์ ซาร์โกซี แต่หลังจากปี 2002 อีฟว์ แซ็งโลร็องก็ได้อำลาวงการแฟชั่นที่เขารักและเก็บตัวอยู่อย่างสันโดษกับสุนัขของเขาในบ้านที่นอร์มังดีและโมร็อคโค
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference อีฟว์ แซ็งโลร็อง ( Yves Saint Laurent ) :
โฆษณา