21 เม.ย. 2023 เวลา 12:30 • ธุรกิจ

ทิฟฟานี่ แอนด์ โค( Tiffany & Co. ) ค.ศ.1837

Tiffany & Co. เป็นแบรนด์เครื่องประดับหรูสัญชาติอเมริกันที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1837 ในนิวยอร์กซิตี้ โดย Charles Lewis Tiffany และ John B. Young ภายใต้ชื่อ Tiffany, Young และ Ellis
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Tiffany & Co. มีความหมายเหมือนกันกับเครื่องประดับระดับไฮเอนด์ เครื่องเพชร และของขวัญสุดหรู บทความนี้จะเจาะลึกถึงประวัติของแบรนด์อันเป็นสัญลักษณ์ สำรวจวิวัฒนาการของแบรนด์จากร้านเครื่องเขียนเล็กๆ สู่ร้านเครื่องประดับสุดหรูระดับโลก
เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1837 โดยความร่วมมือกันระหว่างช่างทำอัญมณี นามว่าชาร์ลส์ ลูอิส ทิฟฟานี่ (Charles Lewis Tiffany) และเพื่อนของเขา จอห์น บี ยัง (John B. Young) ในเริ่มแรกก่อตั้ง
แคตตาล็อก “Blue Book”
ใช้ชื่อว่า Tiffany & Young เป็นธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องเขียนและสินค้าแฟนซี พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยในปี ค.ศ. 1841 พวกเขาได้มีหุ้นส่วนเพิ่มมาอีก 1 คน นั่นก็คือ เอลลิส (Ellis)
ในปี ค.ศ. 1845 ชาร์ลส์ ลูอิส ทิฟฟานี่ ได้จัดทำแคตตาล็อกสั่งซื้อทางไปรษณีย์ที่เรียกว่า Blue Book โดยใช้เฉดสีฟ้าจางประกายเขียว คล้ายไข่นกโรบินส์ และกลีบดอกไม้ฟอร์เก็ต มี น็อต อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์
หลังจากการตีพิมพ์แคตตาล็อก “Blue Book” แบรนด์ยังคงใช้แคตตาล็อกเป็นกลยุทธ์การโฆษณา ซึ่งเป็นหนึ่งในแคตตาล็อกที่พิมพ์ด้วยสีเต็มรูปแบบ ต่อมาในปี ค.ศ. 1853 ชาร์ลส์ ลูอิส ทิฟฟานี่ ได้เข้ามาควบคุมและดูแลบริษัท แต่เพียงผู้เดียวในและได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น Tiffany & Co. ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา
ในปี ค.ศ. 1870 แบรนด์ได้สร้างอาคารแห่งใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ที่ 15 Union Square West, Manhattan ซึ่งอาคารถูกออกแบบโดย จอห์น เคลลัม (John Kellum) มีมูลค่าราว 500,000 เหรียญสหรัฐ
Tiffany Diamond
ซึ่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส ได้อธิบายเกี่ยวกับอาคารแห่งนี้ว่าเป็น “พระราชวังแห่งอัญมณี” Tiffany & Co ดำเนินกิจการอยู่ที่อาคารแห่งนี้จนถึงปี ค.ศ. 1906
ที่ร้านแห่งนี้กลายเป็นศูนย์รวมด้านแฟชั่นและเครื่องประดับของเหล่าชนชั้นสูงในนิวยอร์ก เอกลักษณ์การออกแบบของ ชาร์ลส์ ลูอิส ทิฟฟานี่ เป็นที่รู้จักจากเครื่องเงินสไตล์ญี่ปุ่น และเครื่องเพชรอัญมณีของ ชาร์ลส์ ลูอิส ทิฟฟานี ก็ได้กลายเป็น “ราชาแห่งเพชร”
ในปี ค.ศ. 1878 ทางแบรนด์ ทิฟฟานี่ แอนด์ โค. ได้ทำการซื้อ Tiffany Diamond มีลักษณะเป็นเพชรสีเหลืองขมิ้น และเมื่อเจียระไนแล้วมีน้ำหนักมากถึง 128.54 กะรัต เรียกได้ว่าเป็นเพชรสีเหลืองขนาดมหึมา ที่ได้มาจากแอฟริกาใต้
แหวนเพชร Diamond Solitaire Ring
ในปี ค.ศ. 1886 ทิฟฟานี่ แอนด์ โค. ได้เปิดตัวแหวนเพชร Diamond Solitaire Ring เมื่อปี ค.ศ. 1889 ผลงานการออกแบบเครื่องประดับของแบรนด์ได้รับรางวัลจากงานนิทรรศการระดับนานาชาติที่จัดขึ้นในกรุงปารีส
ซึ่งชุดเครื่องประดับนี้ออกแบบโดย พอลดิ้ง ฟาร์นแฮม (Paulding Farnham) และในเวลาต่อมาหัวหน้านักอัญมณีศาสตร์ชื่อดังของแบรนด์อย่าง จอร์จ เฟรเดอริก คุนซ์ (George Frederick Kunz) ก็ได้จัดแสดงเครื่องประดับแบบอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วย วัสดุที่ใช้แล้ว อัญมณีและไข่มุก
ตลอดช่วงเวลาในศตวรรษที่ 20 แบรนด์ทิฟฟานี่คือตัวแทนแห่งความหรูหราของชาวอเมริกัน ที่แฝงลงไปในวัฒนธรรมป๊อป จากความดังของภาพยนตร์ Breakfast at Tiffany’s และเป็นแบรนด์เครื่องประดับที่ขายแหวนหมั้นให้กับคู่รักมาแล้วนับไม่ถ้วน
Breakfast at Tiffany’s
แต่แล้วในเวลาต่อมา เมื่อผู้บริโภคหลักในตลาดหรูเริ่มขยับมาเป็นคนกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียล ทัศนคติที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นนี้ มีแนวโน้มที่จะแต่งงานช้า และให้คุณค่ากับแบรนด์หรูที่ต่างจากคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ด้วยเหตุนี้ได้ทำให้แบรนด์ที่มีประวัติอันยาวนานอย่างทิฟฟานี่นั้นแลดูเก่าเกินไปในสายตาคนรุ่นใหม่
เดิมทีโฆษณาของ Tiffany มักโปรโมตด้วยภาพลักษณ์ที่ดูโรแมนติกชวนฝัน เช่นภาพของคู่รักที่ฝ่ายชายจะขอฝ่ายหญิงแต่งงานโดยใช้แหวน Tiffany เป็นสื่อคล้องใจ แต่เมื่อความโรแมนติกแบบเดิมไม่ได้เข้าตาคนชาวคนรุ่นมิลเลนเนียล
ในปี 2017 Tiffany เชิญ Lady Gaga เจ้าแม่เพลงป๊อป มาเป็นผู้นำเทรนด์ให้กับแบรนด์ ในการเปิดตัวคอลเลคชั่นเครื่องประดับชื่อ Tiffany Hardwear (สร้อยข้อมือ)
Lady Gaga ใส่เครื่องประดับชื่อ Tiffany Hardwear
นอกจากการปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยแล้ว การเจาะตลาดไปยังคนทุกเพศก็เป็นสิ่งที่ Tiffany ก็ตั้งใจจะทำให้ได้ นอกจากจะเป็นแบรนด์ที่ขายเครื่องประดับแล้ว Tiffany ยังขายสินค้าน้ำหอมอีกด้วย
ซึ่งล่าสุดในเดือนตุลาคมปี 2019 Tiffany เปิดตัวน้ำหอมคอลเล็กชั่น ‘Tiffany & Love for Him & for Her’ โดยเรียนเชิญเหล่าคู่รักหลากหลายคู่ ได้มาเล่าถึงมุมมองความรักแบบสมัยใหม่ และตัวตนของคู่รักตัวเองผ่าน
hashtag ‘#LoveYourWay’ มีคู่รักทั้งชายและหญิง และแน่นอนว่าต้องรวมไปถึงคู่รักเพศเดียวกันอย่างเกย์และเลสเบี้ยนที่ได้มาเล่าประสบการณ์ในแคมเปญครั้งนี้
Tiffany & Love for Him & for Her
Tiffany นับว่าเป็นอีกแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจหรู ที่ไม่ได้ตั้งตนเองให้เป็นแบรนด์สำหรับคนกลุ่มน้อย แต่กลับเลือกที่จะพยายามเข้าหาคนให้ได้มาก โดยยังยืนอยู่บนประวัติศาสตร์ของตนเอง และตีความหมายของ ‘ความหรู’ (luxury) ในแบบที่แตกต่าง
น่าสนใจว่าก้าวต่อไปของ Tiffany ภายใต้การครอบครองของ LVMH นั้นจะดำเนินไปในทิศทางแบบไหน แต่สิ่งที่แน่ชัดจากตัวอย่างของ Tiffany ก็คือ ธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้ทันเสมอเมื่อเผชิญกับอุปสรรคที่รายล้อม
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ทิฟฟานี่ แอนด์ โค( Tiffany & Co. ) :
โฆษณา