27 เม.ย. 2023 เวลา 03:42 • ปรัชญา
ตรงไปตรงมาคือ การแถลงความผิดต่อสาธารณชน ไม่จำเป็นว่าจะต้องสำนึกผิดเสมอไป การแถลงความผิดต่อสาธารณชนนั้น ทำได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณ และเพื่อประโยชน์แห่งคดี โดยนัยนี้จึงมีความสลับซับซ้อนในทางรูปคดี ซึ่งจะมีผลต่อการทำคดีของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ที่สำคัญ การนำตัวแถลงข่าวต่อสาธารณชนนั้น มีความซับซ้อนอ่อนไหว ในประเด็นว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งตัวผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน ผู้ถูกกล่าวอ้าง อ้างถึง และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางคดี แต่ขณะเดียวกัน การจำกัดการนำเสนอข่าวของสื่อ ก็จะทำให้สื่อไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการเสนอความจริงได้ และอาจหมายถึงการไม่เคารพสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนด้วยเช่นกัน
การแถลงความผิดต่อสาธารณชน
จึงต้องมีการเตรียมการเป็นอย่างดี
ต่างจากการสำนึกผิด
ที่ไม่ต้องเตรียมการอะไร (หรือเปล่าคะ?)
โฆษณา