15 พ.ค. 2023 เวลา 14:42 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Climate Change (ภาวะโลกรวน)

"ภาวะโลกรวน" คำนี้เราอาจจะเคยได้ยิน และจะได้ยินมากขึ้นในอนาคตเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือรูปแบบสภาพอากาศในระยะยาว ซึ่งเกิดจากปัญหาโลกร้อน สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วโลก
ตั้งแต่ทศวรรษ 1750 เป็นต้นมา "กิจกรรมของมนุษย์" เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยสาเหตุหลักมาจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล มีเทนจากกระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ ไนตรัสออกไซด์จากปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตพืช
ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทำหน้าที่เหมือนผ้าห่มที่ห่อหุ้มโลก ดักจับความร้อนจากดวงอาทิตย์
ทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น และจากรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของ IPCC (หน่วยงานของสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ )
ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2021 พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมนุษย์ทำให้สภาพอากาศอุ่นขึ้นเกือบ 1.1 องศาเซลเซียส ตั้งแต่สมัยก่อนอุตสาหกรรม (เริ่มตั้งแต่ปี 1750) อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลก
คาดว่าจะสูงถึงหรือเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคของโลก
โดยในปี 2015 ทาง The Paris Agreement ประเทศต่างๆ ได้ให้คำมั่นที่จะช่วยกันจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 ควรอยู่ที่ 1.5 เซลเซียส ซึ่งปัจจุบันคาดว่า
"เราไม่สามารถหยุดไว้ที่ 1.5 เซลเซียสได้แล้ว"
  • ตัวอย่างการเกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศ จะส่งผลกระทบกับเราอย่างไร
1. เกิดเปลี่ยนของสภาวะอากาศที่รุนแรงมากขึ้น พื้นที่แห้งแล้งจะแห้งแล้งกว่าเดิม พื้นที่ที่มีฝนตกบ่อยก็จะ มีฝนตกมากกว่าเดิม
2. เกิดเปลี่ยนของสภาวะอากาศที่รุนแรงมากขึ้น พื้นที่แห้งแล้งจะแห้งแล้งกว่าเดิม พื้นที่ที่มีฝนตกบ่อยก็จะ มีฝนตกมากกว่าเดิม
3.การละลายของน้ำแข็งที่ กรีนแลนด์ จากวารสาร Nature นักวิทยาศาสตร์รายงานว่า อุณหภูมิบนเกาะกรีนแลนด์ ไม่เคยร้อนเท่านี้มาเป็นเวลาอย่างน้อย 1,000 ปีแล้ว
มาเรีย ฮอร์โฮลด์ ผู้เขียนนำของการศึกษาและนักธารน้ำแข็งแห่งสถาบัน อัลเฟรด เวเกเนอร์ กล่าวกับซีเอ็นเอ็นว่า “น้ำแข็งกรีนแลนด์" ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากที่สุดในปัจจุบัน”
และปัญหาอีกมากมายที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนสภาพอากาศ จะบอกว่าการที่โลก และสังคมของมนุษย์เราพัฒนา ทำให้เกิดปัญหานี้ จะพูดแบบนั้นก็ได้
จากที่กล่าวมา ทั่วโลกเจอแรงกดดัน ให้มีการตระหนัก ในการแก้ไขภาวะโลกรวนนี้ โดยเฉพาะในประเทศยักษ์ใหญ่ และประเทศที่พัฒนาแล้ว ยุโรป ก็เป็นหนึ่งในนั้น
จากการบังคับใช้ กฎหมายเกี่ยวกับแนวคิด ESG ที่เพิ่มขึ้น (ESG แนวคิดพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน) เช่น ระบบการซื้อขาย การปล่อยมลพิษของสหภาพยุโรป (EU ETS), มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM)
ตัวอย่างที่ชัดที่สุด อย่างเช่น "การเก็บภาษีคาร์บอน" กับบริษัทที่ดำเนินงานธุรกิจภายในยุโรป ทำให้ Demand ของ EU Carbon Permits ปรับตัวสูงขึ้น
ขณะเดียวกันที่ทางภาครัฐ กำลังทำสิ่งที่กลับสวนทางกัน คือ ลดการปล่อย Carbon Permits ให้ธุรกิจภายในยุโรป
ทำให้ Supply ของ EU Carbon Permits กำลังลดลงไปเรื่อยๆ จึงเกิดการการซื้อเพื่อ "กักตุน" ของบริษัทที่ดำเนินงานธุรกิจในยุโรป
หากเปรียบเทียบราคา EU Carbon Permits ใน เดือนพฤษภาคม 2018 ราคาอยู่ที่ 14 ยูโร แต่ปัจจุบันนั้นราคาอยู่ที่ 92 ยูโร "ราคาเติบโตจากปี 2018 ถึง 660%" และคาดว่าจะสูงขึ้นในอนาคต จากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น
บริษัทที่ดำเนินงานธุรกิจในยุโรป จะมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่กักตุน Carbon Permits ไว้ ถึงแม้ว่ายุโรปกำลังเผชิญหน้า กับวิกฤตด้านพลังงานอยู่ก็ตาม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา