16 พ.ค. 2023 เวลา 06:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เสถียรภาพทางการเงินของประเทศไทย

เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อนๆอาจจะผ่านหูกันมาบ้าง ทำไมเป็นสิ่งจำเป็น ต่อประเทศไทย
เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ คือ สภาวะที่ระบบการเงินสามารถ "ทนต่อแรงกระแทกและทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
เสถียรภาพทางการเงิน นั้นมีสำคัญอย่างยิ่งต่อ การเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ
ระบบการเงินที่มั่นคง จะช่วยดึงดูดการลงทุน ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสร้างงาน
นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องผู้บริโภค และธุรกิจจากความสั่นสะเทือนทางการเงิน จำเป็นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจาก "ภาวะถดถอยและการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ และการเงินต่างๆ"
  • มีหลายปัจจัยที่สามารถนำไปสู่ความไม่มั่นคงเสถียรภาพทางการเงิน
- หนี้ในระดับสูง
เมื่อครัวเรือนและธุรกิจต่าง ๆ มีหนี้ในระดับสูง พวกเขาก็มีความเสี่ยงที่จะ เกิดภาวะช็อกทางการเงินมากขึ้น
หากเกิดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เงินเฟ้อ หรือเศรษฐกิจชะลอตัว ประชาชนอาจชำระหนี้ได้ยาก ซึ่งอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้และการล้มละลายได้
- ฟองสบู่ของสินทรัพย์
ฟองสบู่ของสินทรัพย์เกิดขึ้น เมื่อราคาของสินทรัพย์ เช่น หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงระดับที่ไม่ยั่งยืน
เมื่อฟองสบู่แตก ราคาสินทรัพย์อาจร่วงลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียทางการเงิน สำหรับนักลงทุนและธุรกิจ
- โรคติดต่อทางการเงิน
โรคติดต่อทางการเงินเกิดขึ้นเมื่อ วิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศหนึ่ง แพร่กระจายไปยังประเทศอื่นๆ
สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ในประเทศต่างๆ เชื่อมโยงถึงกัน
หากธนาคารหนึ่งล้มเหลว มันสามารถสร้างแรงกดดัน ให้กับธนาคารอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ความล้มเหลวเป็นลำดับ
ความเสี่ยงทางการเมือง และด้านกฎหมาย ก็นับเป็นความเสี่ยง เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ สามารถที่เกิดจากนโยบาย หรือการดำเนินการของรัฐบาล
ตัวอย่าง
รัฐบาลออกกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมต่อธุรกิจหรือต่อบุคคล หรือทำตามอำเภอใจ สิ่งนี้อาจทำให้ธุรกิจดำเนินกิจการหรือผู้คนอาศัยและทำงานในประเทศได้ยากขึ้น
การทุจริตในรัฐบาลอาจนำไปสู่ความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ การขาดความโปร่งใส ในกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สิ่งนี้อาจทำให้ธุรกิจหรือบุคคลเข้าใจ ภาระหน้าที่ของตนได้ยาก ว่าควรปฏิบัติอย่างไรต่อไป
แต่ประเทศไทยของเราเอง ก็มีสิ่งที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพ ระบบการเงินอยู่หลายประการ
มีหลายหน่วยทำงานกำกับดูแลร่วมกัน อย่าง ก.ล.ต. และ คปภ.โดยส่วนใหญ่แล้ว หน้าที่ใหญ่จะเป็นของ "ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)"
ตัวอย่าง
- การกำกับดูแลธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ๆ ในประเทศไทย ธปท. มีเครื่องมือมากมาย เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคาร มีการดำเนินงานอย่างปลอดภัยและเหมาะสม
เช่น กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนอย่างต่ำร้อยละ 8.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น
ซึ่งหมายความว่า ธนาคารพาณิชย์จะต้องถือครองเงินกองทุนอย่างน้อย 8.5% ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมดที่ธนาคารพาณิชย์ถือครองอยู่ เป็นกันชนที่ช่วยให้ธนาคารดูดซับการสูญเสีย ซึ่งสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลว เป็นต้น
- การจัดการวิกฤตการเงิน
มีแผนรองรับวิกฤตการเงิน ประกอบด้วย มาตรการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน หรือเสริมสภาพคล่องให้กับธนาคาร และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนและธุรกิจ
เช่น การปรับดอกเบี้ยนโยบายระหว่าง ธปท. กับ ธนาคารพาณิชย์ หรือ การกำหนดให้ธนาคารต้องรักษา "อัตราส่วนสภาพคล่องอย่างน้อย 100%" ของกระแสเงินสดไหลออกสุทธิใน 30 วัน (Liquidity Coverage Ratio)
ซึ่งหมายความว่า ธนาคารต้องมีสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างน้อยเท่ากับกระแสเงินสดไหลออกสุทธิใน 30 วัน (สินทรัพย์สภาพคล่องคือ สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น) เป็นต้น
เรามี ก.ล.ต. กำกับดูแลภาคธุรกิจหลักทรัพย์ การระดมทุน และประกอบธุรกิจในตลาดทุน ให้เป็นไปตามระเบียบโปร่งใส เป็นธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่ง ความเชื่อมั่นของตลาดทุน และความปลอดภัยของทรัพย์สิน
เรามี คปภ. กำกับดูแลตลาดธุรกิจประกันภัย ที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศและประชาชนโดยตรง
ธนาคารในประเทศไทย ยังมีปริมาณเงินฝาก ที่ถือว่ามีสภาพคล่องสูงประมาณ "15 ล้านล้านบาท"
และประเทศไทยนั้นยังมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง "282,172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอันดับที่ 13 ของโลก"
จากที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังมีกฎระเบียบอีกหลายฉบับ ที่ช่วยป้องกันความไม่มั่นคงของเสถียรภาพทางการเงิน
กฎระเบียบเหล่านี้ ครอบคลุมขอบเขตที่หลากหลาย รวมถึงข้อกำหนดด้านเงินทุน ข้อกำหนดด้านสภาพคล่อง และแนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังประเมินอีกว่าหากประเทศไทยยังคง
"มีเสถียรภาพทางการเงินแบบนี้บวกกับเวลา" เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
จะยังฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 แนวโน้มดูดีกว่าครึ่งแรกของปีนี้
ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ
- GDP คาดว่าจะเติบโต 4.3% จากครึ่งแรก 2.9%
- ส่งออก คาดว่าจะพลิกบวก 4.2% จากครึ่งแรก -7.1%
- นักท่องเที่ยว คาดว่าจะเติบโต 16 ล้านคน จากครึ่งแรก 12 ล้านคน
รายได้
- การบริโภค คาดว่าจะเติบโต 3.7% จากครึ่งแรก 4.4%
- รายได้นอกภาคเกษตร คาดว่าจะเติบโต 6.2% จากครึ่งแรก 7.6%
- รายได้เกษตรกร คาดว่าจะ -6.1% จากครึ่งแรก 1.6%
เงินเฟ้อ
- เงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะลดลงเหลือ 2.5% จากครึ่งแรก 3.3%
- เงินเฟ้อพื้นฐาน คาดว่าจะทรงตัวที่ 2.4%
- เงินเฟ้อพื้นฐานภาคบริการ คาดว่าจะทรงตัวที่ 1.0%
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังบอกอีกว่า ปัญหาการเงินของโลกก็ยังไม่น่าวางใจ ไม่ลงง่าย ยังต้องติดตามและ ดำเนินนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป
จะเห็นได้ว่า การที่ประเทศไทยมีเสถียรภาพทางการเงินนั้น สำคัญต่อการเป็นอยู่ของประชาชน และธุรกิจมากขนาดไหน
ทำไมเราถึงควร พยายามรักษาให้ประเทศไทย ยังคงมีเสถียรภาพทางการเงินให้ได้ต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา