12 มิ.ย. 2023 เวลา 08:39 • อาหาร
รู้สึกคนบ้านผมมีนิทานเกี่ยวกับเรื่องนี้นะ แต่ผมจำไม่ได้ซะแล้ว..😑 เกี่ยวกับการกินของคน(กิน 3 มื้อ) กับหมา(กิน 2 มื้อ/ชาวบ้านนอกเราจะให้อาหารหมาแค่มื้อเช้ากับมื้อเย็น) และควาย(มันกินตลอดเวลา)
.
แต่ว่า ประเด็นมื้ออาหารนี้น่าสนใจอยู่ น่าสงสัยว่าคนวัฒนธรรมอื่นจะมีมื้ออาหารแบบเราหรือเปล่า?
.
ฝรั่งดูจะมีคำว่า "supper" ที่แยกจาก "breakfast", "lunch", กับ "dinner" ผมไม่มีความรู้เรื่องวัฒนธรรมการกินของฝรั่งซะด้วยซี จึงไม่รู้ว่าเขาแยก "ดินเนอร์" กับ "ซัปเปอร" กันยังไง
.
แต่ยังไง ๆ ก็ตาม มันก็น่าเชื่อถือไว้ก่อนได้ว่า มนุษย์ส่วนใหญ่ในโลกนี้มีมื้ออาหารหลักกัน 3 มื้อ มันอาจจะเป็นได้ทั้งเหตุผลเชิงกายภาพ พอ ๆ กับวัฒนธรรม
ในเชิงกายภาพ หากสังเกตตัวเราเอง ก็ดูจะเป็นจริงอยู่ว่า ตอนเช้านั้นเราต้องการพลังงานเพื่อออกไปประกอบกิจการงานต่าง ๆ ในระหว่างวัน มันอาจจะเป็นขีดจำกัดของกระเพาะของเราที่ไม่สามารถบรรจุอาหารเข้าไปได้มากพอสำหรับทำงานไปได้ตลอดทั้งวัน เราจึงต้องกินอีกในระหว่างวัน กลายเป็นมื้อเที่ยง พอทำงานไปอีกจนตกค่ำ พลังงานหมด เมื่อเหนื่อยล้า ก็เติมพลังกันใหม่ แม้มันอาจจะไม่จำเป็นเพราะเราไม่ได้ทำงานในตอนกลางคืน
.
ผมคิดว่า ในยุคสมัยก่อนการปฏิวัติเกษตรกรรมนั้น เป็นไปได้ที่วัฒนธรรมการกินของเราอาจไม่ได้เป็นแบบนี้ เพราะเรายังแค่อาศัยอาหารจากแหล่งธรรมชาติอยู่ ในแถบที่กันดารมาก ๆ เป็นไปได้ว่าเราอาจไม่ได้กินถึง 3 มื้อ และอาจจะไม่ได้กินทุกวันด้วย! แต่ในแถบที่อุดมสมบูรณ์มาก ๆ ก็เป็นไปได้อีกว่าเราอาจได้กินมากกว่า 3 มื้อเลยทีเดียว ในยุคนั้นคนเราน่าจะยังไม่มี "งานหลัก" ที่ต้องทำตลอดทั้งวัน
เมื่อมีการปฏิวัติเกษตรกรรมเกิดขึ้น มนุษย์เรามีแหล่งอาหารที่มั่นคงแน่นอนขึ้น ขณะเดียวกันเราก็มี "งานประจำวัน" กันเกิดขึ้น คนที่ทำงานในแปรงนานั้นต้องทำตลอดทั้งวัน และเป็นงานที่หนัก ดีไม่ดีอาจจะหนักกว่าการล่าสัตว์ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำงานหนักตลอดทั้งวันได้โดยกินอาหารเพียงมื้อเดียว(ไม่เชื่อลองเองได้ ไม่ใช่เรื่องของการปลับตัวของร่างกายแน่นอน)ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้อีกเช่นกันที่วัฒนธรรมการกิน 3 มื้ออาจจะเริ่มต้นที่ตรงนั้น
.
ก็แค่เดาล่ะครับ แต่เรื่องนี้น่าสนใจจริง ๆ
โฆษณา