25 มิ.ย. 2023 เวลา 15:22 • สุขภาพ

โรคแผลในทางเดินอาหาร

บ่ายแก่ๆวันหนึ่ง มีคนไข้เข้ามารับยา หมอวินิจฉัยว่าเป็น โรคแผลในทางเดินอาหาร (peptic ulcer) ดูคนไข้มีอาการปวดทีเดียว
ซักถามอาการ ที่เจอบ่อยๆก็จะเป็นประมาณนี้
.
ผู้ป่วยเล่าว่า มักมีอาการปวดแสบท้อง บริเวณเหนือสะดือถึงใต้ลิ้นปี่ เป็นๆหายๆมานานแล้ว แต่พอกินยาลดกรดไปก็จะดีขึ้น บางครั้งก็มีอาการอึดอัดแน่นท้อง แล้วก็คลื่นไส้อาเจียนด้วย
.
.
แผลที่เกิดในทางเดินอาหาร พบได้ 2 ตำแหน่ง คือ
.
- แผลที่กระเพาะอาหาร (gastric ulcer=GU)
อาการปวดไม่จำเพาะเจาะจง มักถูกกระตุ้นด้วยอาหาร ปวดหลังจากกินข้าวประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
.
- แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer= DU) มักปวดบริเวณกึ่งกลางลิ้นปี่ ปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ เป็นหลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือเป็นตอนกลางคืน อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร ดื่มนม หรือ กินยาลดกรด
.
จะทราบตำแหน่งแผลได้จากการส่องกล้องเท่านั้นนะคะ
.
.
การรักษาโดยใช้ยา โดยทั่วไปนานประมาณ 4-8 สัปดาห์ ยาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้คะ
1.ยาลดกรด( แอนตาซิด) เป็นยาที่ผสมระหว่างอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ กับแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ใช้กันโดยทั่วไป
ออกฤทธิ์เร็ว ปลอดภัย ให้ใช้ตามอาการเท่านั้น
ใช้ได้กับหญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
1
**ข้อควรระวัง ลดการดูดซึมของยาบางชนิดอย่างเช่น ธาตุเหล็ก ยาฆ่าเชื้อบางกลุ่ม เช่น norfloxacin จึงควรแยกเวลาให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง จะพบข้อความนี้ในฉลากยาบ่อยๆ
2. ยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น omeprazole เป็นยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ควรรับประทานก่อนอาหารประมาณ 15 ถึง 30 นาที ไม่ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร
-ห้ามทานร่วมกับยาแอนตาซิด ในข้อ 1 และยายับยั้งการหลั่งกรดอื่นๆ เช่น **ranitidine famotidine
(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับยากลุ่ม 2ได้ในบทความอ้างอิง 4)
**สำหรับยา ในกลุ่ม ranitidine,famotidine มีการใช้น้อยลง เนื่องจากมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆได้ง่าย
สำหรับยาในกลุ่ม 2 นี้ ใช้ได้อย่างระมัดระวังใน หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้
3.ยาเคลือบกระเพาะอาหาร เช่น sucralfate เป็นเมือกเคลือบปกคลุมแผล นานกว่า 6 ชม
- ควรรับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงและก่อนนอน
- ต้องอาศัยความเป็นกรดในการออกฤทธิ์เหมือนยาในข้อ 2 จึงห้ามให้พร้อมกับพวกยาแอนตาซิด ภายใน 30 นาที ก่อนที่จะให้ยา sucralfate
 
มีปฏิกิริยาลดการดูดซึมยาอื่นๆ เช่น tetracycline, norfloxacin ต้องให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
สามารถให้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ แต่ไม่มีข้อมูลการใช้ในหญิงให้นมบุตร
4.บิสมัธ ซับซาลิไซเลท (bismuth subsalicylate) ออกฤทธิ์จับกับแผล และกระตุ้นการหลั่งเมือก จากเยื่อเมือก และมีผลฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย
มีข้อบ่งใช้สำหรับอาการท้องเสียชอง
คนเดินทางด้วย( Traveller's diarrhea)
.
ผลข้างเคียง หากใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้อุจจาระเป็นสีเทา ดำ และยาน้ำอาจทำให้ลิ้นดำได้
.
มีข้อควรระวังในการใช้สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ไม่มีข้อมูลในการใช้ในหญิงให้นมบุตร
.
.
สำหรับข้อปฎิบัติตัว สำหรับคนเป็นโรคนี้ ก็น่าจะพอรู้ๆกันอยู่แล้ว เช่น
-กินอาหารให้ตรงเวลา
-หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
-งดดื่มสุรา บุหรี่
-ลด หรือ งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาแก้ปวดลดอักเสบกล้ามเนื้อ
-ลดความเครียดกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
เป็นข้อแนะนำที่ต้องทำ ควบคู่กับการใช้ยา เพื่อให้การรักษาได้ผลดี มีประสิทธิภาพ
แต่ถ้ารักษาจนหายแล้ว กลับมาเป็นซ้ำอีก อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H.pyroli ซึ่งหลายๆคน น่าจะรู้จักดี แต่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ จะมาลงเนื้อหาให้ในบทความต่อไปนะค่ะ ขอบคุณที่ติดตามนะคะ 😊😀
#เรื่องเล่าจากห้องยา
#โรคกระเพาะ
เครดิตภาพจาก Freepik
อ้างอิงจาก
1.หนังสือ short note โรคในร้านยา 2565 โดย ผศ. ภก.ธีระพงษ์ ศรีศิลป์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา