29 มิ.ย. 2023 เวลา 15:52 • สุขภาพ

H .Pylori เป็นสาเหตุสำคัญของโรคแผลในทางเดินอาหารในปัจจุบัน

และสร้างรำคาญใจให้คนที่เป็นไม่ใช่น้อย เพราะทำให้มีอาการแบบเรื้อรัง หรือเป็นๆหาย
ในบทความวันนี้ Minny จะมาเล่าเรื่อง"ยาปฎิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)"ที่ใช้ให้ฟังแบบง่ายๆนะคะ
.
เชื้อ H.Pylori คืออะไร
.
เป็นเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สามารถพบการปนเปื้อนได้ทั่วไป จากการสัมผัสอุจจาระ น้ำลาย การกินอาหารและดื่มน้ำที่มีเชื้อ และสามารถพบเชื้อนี้ ได้ในกระเพาะอาหารของคนทั่วโลก ประมาณ 50% โดยเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
.
.
กลุ่มผู้ป่วยประเภทไหน ที่ควรตรวจหาเชื้อชนิดนี้
Minny ขออ้างอิงเกณฑ์ที่แพทย์ใช้จาก ref.1
( กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยปี 2015)
- ผู้ที่เป็นโรค peptic ulcer หรือผู้ที่มีรอยถลอก
.
- ผู้ที่ใช้ยาแก้ปวด ลดอักเสบ (NSAIDs) /aspirin ระยะยาวร่วมกับมีประวัติโรค peptic ulcer หรือมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน
.
- ผู้ที่มีอาการ แน่นท้องท้องอืด และไม่ตอบสนองต่อยาต้านการหลั่งกรด
.
- ผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
.
- ผู้ที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
.
- ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิด MALT lymphoma
.
ยาที่ใช้การรักษา
โดยหลักๆจะมี
1.ยายับยั้งการหลั่งกรด กลุ่ม PPI เช่น omeprazole lansoprazole หรือ
2. บิสมัธ ซับซาลิซัยเลท bismuth subsalicylate
ยาในข้อ 1 หรือ 2ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ 2-3 ชนิด ซึ่งมีหลายสูตร เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยา 3-4 เม็ด แต่ในบทความนี้ จะเน้นเฉพาะยาฆ่าเชื้อนะคะ
ตัวอย่างสูตรยาที่ใช้ **อ่านผ่านๆตาได้นะคะ
สูตรพื้นฐาน
ยากลุ่ม PPI + อะมอกซี่ซิลลิน+แคลิโทรมัยซิน 7- 10 วัน หรือ
PPI+แคลิโทรมัยซิน+เมโทรนิดาโซล 10-14วัน
สูตรที่เป็นทางเลือก สำหรับคนที่แพ้ยา หรือทาน ยาสูตรพื้นฐาน แล้วไม่ได้ผล เช่น
.
บิสมัธ+เมโทรนิดาโซล+เตตร้าไซคลีน+ยากลุ่ม PPI 10-14 วัน
ยากลุ่ม PPI+อะมอกซี่ซิลลิน+ลัโวฟลอกซาซิน 10 วัน
ยาปฏิชีวนะที่ใช้
1.อะมอกซี่ซิลลิน(amoxycillin)
นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ในการติดเชื้อต่างๆ ผลข้างเคียงน้อย
ใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้
2.แคลิโทรมัยซิน (clarithromycin)
อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คลื่นไส้พะอืดพะอม แน่นท้อง ท้องอืด การรับรสเปลี่ยนไป
ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์
ในหญิงให้นมบุตร พบยาผ่านทางน้ำนมน้อย แต่เนื่องจากมีข้อมูลจำกัด แพทย์อาจจะต้องประเมินผลดี ผลเสีย จากการใช้ยา
.
3.เมโทรนิดาโชล (metronidazole)
อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ มึนงง เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนพะอืดพะอม
.
ข้อควรระวัง งดการใช้ยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้ยานั้น
หลีกเลี่ยงการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์)
สำหรับหญิงให้นมบุตรยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ อาจจะต้องปั๊มนมทิ้งระหว่างใช้ยา
4.ลีโวฟลอกซาซิน (levofloxacin )
อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ มึนงง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ
.
ข้อควรระวัง ไม่ควรกินยานี้ร่วมกับ ยาที่มีส่วนผสมของแคลเซียม ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม แมกนี เซียมที่ อยู่ในยาลดกรด อาจจะลดการดูดซึมของยาได้ ให้กินห่างจากยา 2 ชั่วโมง
.
หลีกเลี่ยงการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์)
สำหรับหญิงให้นมบุตรยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ อาจจะต้องปั๊มนมทิ้งระหว่างใช้ยา
5.เตตร้าไซคลีน (tetracycline).
.จากประสบการณ์ที่มินนี่ทำในโรงพยาบาล แทบไม่พบการสั่งใช้ยาชนิดนี้แล้ว เนื่องจากมียาตัวอื่นที่ได้ผลดีกว่า
ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ไตรมาส 2 และ 3 ในหญิงให้นมบุตรควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
.
การป้องกันการติดเชื้อ
 
- ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
-ดื่มน้ำสะอาด
-การกินอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยควรใช้ช้อนกลางและแยกภาชนะทุกครั้ง
-ข้อปฏิบัติตัวอื่นๆ เหมือนกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร ทั่วไป คิอ การลดความเสี่ยงเพื่อไม่ให้แผลในกระเพาะมากเกินไป โดยไม่ให้กรดในกระเพาะหลั่งออกมามากเกิน ไป เพราะทำให้เกิดแผล และยอางเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ H.pylori ได้
.
.
สำหรับการติดเชื้อ H.pylori สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ ต้องปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันการเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำ ร่วมกับการใช้ยา ที่เหมาะสม ก็จะทำให้คุณหายได้ค่ะ
 
เครดิตภาพจากอFreepik
3.โรคในร้านยา 2565 โดย ผศ.ภก.ธีระพงษ์ ศรีศิลป์ หน้า 127- 129
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา