10 ก.ค. 2023 เวลา 16:09 • สุขภาพ

กรดไหลย้อน

ช่วง 2-3 นี้ มีคน สอบถามเข้ามาเรื่องของโรคกรดไหลย้อนเยอะค่ะ วันนี้ มินนี่จึงมาตั้งใจเล่าเรื่องนี้เลยทีเดียว
ภาวะของกรดไหลย้อน (GERD) หมายถึง เกิดจากการที่มีสารจากกระเพาะอาหารย้อนขึ้นมา ทำให้เกิดอาการที่รบกวน เป็นโรคเรื้อรังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนที่เป็นโรคดังกล่าว และอาจทำให้เกิดภาวะแทกซ้อนได้
.
**สาเหตุเกิดจากอะไร
.
- เกิดจาก บริเวณหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร มีการอ่อนแรง ทำให้ความดันของหูรูดต่ำ หรือเปิดบ่อยกว่าปกติ จึงเป็นสาเหตุทำให้ มีการไหลย้อนกลับของอาหาร และน้ำย่อยกลับขึ้นไปสู่หลอดอาหาร
.
- ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนมากขึ้น
.
**อาการของกรดไหลย้อน
.
อาการที่มีความจำเพาะเด่นชัด คือ อาการแสบร้อนบริเวณยอดอก หรือ เรอเปรี้ยว ทั้งนี้ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจจะมีอาการกลืนลำบากได้ แต่พบได้น้อย โดยแบ่งเป็น
กลุ่มอาการของหลอดอาหาร และกลุ่มอาการนอกหลอดอาหาร
.
กลุ่มอาการของหลอดอาหาร ประกอบด้วยอาการแสบร้อนยอดอก หรือเรอเปรี้ยวและอาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่ไม่ได้เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งต้องได้รับการสืบค้นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่า ผู้ป่วยไม่มีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่แพทย์อาจสั่งตรวจเพิ่มได้ ในกรณีผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
.
กลุ่มอาการนอกหลอดอาหาร เช่น ไอ กล่องเสียงอักเสบ หอบหืด และฟันผุ
.
.
**ยาที่ใช้
.
1.ยาลดการหลั่งกรด กลุ่ม PPI (proton pump inhibitor) เป็นยาหลักที่ใช้แพร่หลายมากมายคะ😃 เช่น omeprazole,esomeprazole,pantoptazole, ,rabeprazole
.
ขนาดยาโดยทั่วไป
.
มักจะใช้ยา omeprazole รับประทานวันละ 1 แคปซูล ก่อนอาหารเช้า ประมาณ 4-8 อาทิตย์
ในกรณีที่ เป็นอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือ กลุ่มอาการนอกหลอดอาหาร อาจจะรับประทานนานกว่านี้ได้
และถ้าไม่ดีขึ้น ก็จะเพิ่มเป็นวันละ 2 ครั้งเช้า เย็น หรือเปลี่ยนเป็น PPI ตัวอื่นไปเลยคะ
.
ถ้าหยุดยา แล้ว ยังมีอาการ อาจต้องให้ยาต่อเนื่องเพื่อ ควบคุมอาการไว้
(รายละเอียดยากลุ่ม PPI อยู่ในบทความที่เกี่ยวข้องด้านล่างคะ)
.
2.ยาลดการหลั่งกรด กลุ่ม H2 receptor antagonist เช่น ranitidine famotidine นิยมใช้น้อยลงมาก
ยากลุ่มนี้ อาจให้ในช่วงควบคุมอาการได้ แทน กลุ่ม PPI นาน 6-12 อาทิตย์
หรือ ให้เสริมตอนก่อนนอน เพื่อลดอาการ เพิ่มจากยากลุ่ม PPI ตอนกลางวัน (มินนี่จะพบ แพทย์สั่งยากลุ่มนี้ ให้เสริมก่อนนอนแบบนี้มากกว่า ให้เป็นตัวหลัก)
เช่น Famotidine 20 mg รับประทาน 1 เม็ด เช้า เย็น หรือ 2 เม็ดก่อนนอน
.
3.ยาอื่น เช่น domperidone metoclopramide เชื่อว่าเพิ่มการทำงานของลำไส้ ทำให้กรดไหลย้อนน้อยลง แต่การศึกษาที่สนับสนุนการใช้ยังไม่แน่ชัด
และสามารถ ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง
ขนาดยาที่ใช้
รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด
วันละ 2-3 ครั้ง ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
.
4ยาอื่น เช่นยาลดกรดทั่วไป ที่มีอลูมิเนียมแมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบ รับประทานหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาการแสบร้อนในช่องอก และ
ยา alginic acid (ส่วนผสมในยากาวิสคอน) ก็ใช้ได้ ผลดี ออกฤทธิ์เร็ว ในการบรรเทาอาการแสบร้อนในช่องอก
.
ขนาดยาโดยทั่วไปของ กาวิสคอน
.
แบบยาน้ำแขวนตะกอนเด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไป และผู้ใหญ่ ให้รับประทานครั้งละ 10-20 ml รับประทาน 4 เวลาหลังอาหาร
แบบเม็ด ให้ 2 ถึง 4 เม็ดรับประทาน 4 เวลาหลังอาหาร
ข้อควรระวังของยากลุ่ม 4 !!!
- ใช้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้นค่ะ ไม่แนะนำให้ใช้ต่อเนื่องนานๆ
-ทั้งยาลดกรดและยากาวิสคอน ห้ามรับประทานกับยาลดการหลั่งกรด ที่กล่าวถึงในข้อ 1 และข้อ 2
- ยากาวิสคอนมีส่วนผสมของโซเดียม จึงต้องระวังในผู้ป่วยที่จำกัดโซเดียม เช่นผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือบวมน้ำ
ข้อปฏิบัติตัว (อ่านแบบ skip เร็วๆได้นะคะ )
-หลีกเลี่ยง อาหารที่อาจกระตุ้นเกิดอาการ เช่นของทอด อาหารรสจัด
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุราน้ำอัดลมกาแฟ
กินอาหารให้ครบ 3 มื้อแต่ลดปริมาณลง
หลีกเลี่ยงปริมาณอาหารเยอะในมื้อเดียว
?
ลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน
.
ยกหัวเตียงสูงเวลานอน หรือนอนหมอนสูง
หลีกเลี่ยงการกินแล้ว นอนภายใน 2-3 ชั่วโมง
ดื่มเหล้า งดสูบบุหรี่
.
สรุป โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคเรื้อรัง ที่สามารถรักษาได้ แต่ก็สามารถ กลับเป็นซ้ำได้ ถ้ามี ปัจจัยเสี่ยง หรือ มีปัจจัยกระตุ้น ก็ทำให้อาการกำเริบได้อีกเช่นกัน การรักษาให้ได้ผล จึงไม่ได้เกิดจากยาเท่านั้น แต่เกิดจาก ตัวผู้ป่วยเองที่ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นสำคัญนะคะ
.
.
# เรื่องเล่าจากห้องยา
#ยาที่นิยมใช้ในโรคกรดไหลย้อน
.
ข้อมูลอ้างอิง
.
1.แนวทาง เวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทยพ.ศ 2563 โดยสมาคมประสาททางเดินอาหาร และการเคลื่อนไหว(ไทย)
.
3. short note โรคในร้านยา 2565 โดยอาจารย์ธีรพงษ์ ศรีศิลป์
.
4.กรดไหลย้อนเรื้อรัง ไม่หายขาด ทำอย่างไรดี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา