17 ก.ค. 2023 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์

ซูสีไทเฮา (Dowager Cixi, Empress) ผู้บริหารงานหลังม่าน

สมเด็จพระจักรพรรดินิเสี้ยวชิงเสี่ยน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินินีฉือสี่ พระพันปีหลวง หรือที่รู้จักกันในไทยว่า "ซูสีไทเฮา" เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1908 มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายราชวงศ์ชิงในประเทศจีน การขึ้นสู่อำนาจของเธอ กลยุทธ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมในความพยายามสร้างความทันสมัยของจีน การรวมอำนาจของเธอ ความพยายามในการปฏิรูป ความท้าทายที่สำคัญที่เธอเผชิญ เราจะมาเจาะลึกกันในบทความนี้
ชีวิตในวัยเด็กและการเข้าสู่พระราชวังต้องห้าม :
ซูสีไทเฮา เป็นสมาชิกของตระกูลแมนจูและได้รับเลือกให้เข้าสู่พระราชวังต้องห้ามในฐานะบาทบริจาริกาเมื่ออายุได้ 16 ปี ความงามและความเฉลียวฉลาดของเธอทำให้จักรพรรดิเสียนเฟิง หลงใหล และเธอก็กลายเป็นหนึ่งในนางสนมที่เขาโปรดปรานอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ.1856 นางได้ให้กำเนิดบุตรชายซึ่งนางตั้งชื่อว่า ไจ้ชุน และการเกิดของเขาได้เพิ่มอิทธิพลแก่นางในวัง
จักรพรรดิเสียนเฟิง
การรัฐประหารและการรวมอำนาจ
จักรพรรดิเสียนเฟิงได้สวรรคตลงเนื่องทรงทราบว่าหมู่พระราชวังและเมืองปักกิ่งได้ถูกชาวต่างชาติรุกรานและทำลาย พร้อมทั้งต้องลี้ภัยไปที่มณฑลเหอเป่ย์ ด้วยความเสียใจ มีรับสั่งให้ถวายน้ำจันฑ์และพระโอรสฝิ่นมิได้ขาด ยังผลให้พระพลานามัยเสื่ยมทรามลงตามลำดับ ก่อนสวรรคตได้เรียกประชุมรัฐมนตรีจำนวน 8 คน และโปรดเกล้าให้เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เนื่องจากรัชทายาทไจ้ชุนมีพระชันษาเพียง 5 ชันษาเท่านั้น นอกจากนี้ยังโปรดให้สมเด็จพระอัครมเหสีเจิน (ซูอันไทเฮา) และพระนางซูสีไทเฮาทั้งสองร่วมมือกันอภิบาลดูแลสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์น้อย พร้อมทั้งพระราชทานตราประทับให้ทั้งสอง เพื่อคอยตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วย
สมเด็จพระจักรพรรดิ​นี​เซี่ยวเจินเสี่ยนฮองเฮา (ซูอันไทเฮา)ในฉลอง​พระองค์​ชุดพระราชพิธีช่วงเช้า
ขณะที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กำลังเตรียมการเคลื่อนย้ายพระศพกลับกรุงปักกิ่งนั้น ซูสีไทเฮาก็เตรียมการยึดอำนาจ แต่ไม่สะดวกและไม่ชอบด้วยกฏหมายที่จะใช้อำนาจ ทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ก็ยังทรงเล็กนัก ไม่อาจใช้เป็นกลไกในการยึดอำนาจราชการแผ่นดินได้ ดังนั้นซูสีไทเฮาจึงไปเกลี้ยกล่อมซูอันไทเฮาให้ทรงพระดำริถึงประโยชน์ที่ทั้งสองพระองค์จะได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกัน ซึ่งซูอันไทเฮาก็ทรงเห็นด้วย
เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง ซูสีไทเฮาทรงรวบรวมไพร่พลเป็นการลับ ซึ่งประกอบด้วยบรรดารัฐมนตรี ข้าราชการทหารหลายฝ่าย และผู้ที่ไม่พอใจคณะผู้สำเร็จราชการ เมื่อขบวนอัญเชิญพระศพถึงกรุงปักกิ่ง ผู้สำเร็จราชการทั้ง 8 คนก็ถูกจับกุม โดยซูสีไทเฮาได้ออกประกาศว่าบุคคลทั้ง 8 ได้คบคิดกับชาวต่างชาติ เป็นต้น และพระราชทานโทษประหารชีวิตทั้ง 8 คนนั้น ทั้งนี้ซูสีไทเฮาไม่ทรงเห็นชอบกับการ "ฆ่าล้างโคตร" ของครอบครัวทั้ง 8 ซึ่งเป็นประเพณีของทางราชสำนักชิง
ภาพถ่ายของเจ้าหญิงและบรรดาราชนิกูลในราชวงศ์ชิง
ซูสีไทเฮาได้ประกาศสถาปนาพระองค์เองและซูอันไทเฮาขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยออกว่าราชการอยู่หลังม่าน ซึ่งเป็นการขัดจารีตประเพณีของราชวงศ์ชิงที่ห้ามไม่ให้ราชนารีมาเกียวข้องกับการเมือง ซูอันไทเฮาจึงทรงเป็นราชนารีพระองค์แรกและพระองค์เดียวในราชวงศ์ชิงที่ออก "ว่าราชการอยู่หลังม่าน"
กบฏนักมวยกับปลายรัชกาล :
เมื่อพระจักรพรรดิตุงฉือ(ไจ้ชุน)มีอายุได้ 19 ปี ซึ่งถือว่าได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ต้องให้ซูอันไทเฮาและซูสีไทเฮาช่วยว่าราชการ แต่พระชนมายุของพระจักรพรรดิตุงฉือสั่นนัก พระองค์ทิวงคต ด้วยโรคซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคสำหรับผู้ชายที่มีการร่วมประเวณีกับผู้ที่ป่วยโรคนี้ เนื่องจากพระจักรพรรดิตุงฉือทรงแต่เที่ยวใช้ชีวิตสำราญและมักจะออกไปนอกวังเพื่อไปเที่ยวตาม โรงหญิงนครโสเภณีตลอดคืน ด้วยเหตุนี้ทำให้ซูสีไทเฮาต้องกลับมาดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ภาพของกบฏนักมวยในเมืองเทียนจิน
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จีนเผชิญกับการรุกรานจากต่างชาติที่เพิ่มขึ้นและความไม่สงบภายในประเทศ ในปี ค.ศ.1899 กบฏนักมวยได้ปะทุขึ้น ซึ่งต่อต้านอิทธิพลต่างชาติในจีน ซูสีไทเฮาได้ให้การสนับสนุนกฏนักมวย ในที่สุดซูสีไทเฮาก็ประกาศสงครามกับมหาอำนาจต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การแทรกแซงทางทหารโดยพันธมิตรแปดประเทศ ความพ่ายแพ้ของจีนในความขัดแย้งทำให้ซูสีไทเฮาต้องลงนามในพิธีสารบ็อกเซอร์ในปี ค.ศ.1901 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการเอาเปรียบต่อจีนอย่างมาก
รัชกาลของสมเด็จพระจักรพรรดินิเสี้ยวชิงเสี่ยน หรือ ซูสีไทเฮา สิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ.1908 และราชวงศ์ชิงก็ล่มสลายหลังจากนั้นไม่นาน เรื่องราวของเธอยังคงเป็นประเด็นถกเถียง นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่านโยบายอนุรักษ์นิยมและการต่อต้านการปฏิรูปอย่างรอบด้านมีส่วนทำให้ราชวงศ์ชิงเสื่อมถอย
พระนางซูสีไทเฮาจับมือกับภรรยาของเอกอัครราชทูตสหรัฐ Edwin H. Conger
อย่างไรก็ตาม มีนักวิจารณ์บ้างส่วนที่เห็นชอบกับพระนางในความพยายามที่จะพัฒนาจีนให้ทันสมัยแม้ว่าจะเผชิญกับอุปสรรคสำคัญก็ตาม รัชสมัยของพระนางจุดชนวนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของสตรีในการเมือง ความพยายามในการทำให้ทันสมัย และความสัมพันธ์ของจีนกับประเทศตะวันตก
ชีวิตและการปกครองของพระนางซูสีไทเฮา หล่อหลอมแนวทางของประวัติศาสตร์จีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ตั้งแต่ก้าวเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามในฐานะนางบำเรอจนถึงขึ้นเป็นผู้ปกครองโดยพฤตินัย พระนางได้เผชิญกับความท้าทายทางการเมืองที่ซับซ้อนและพยายามทำให้จีนทันสมัย รัชกาลของพระนางได้เห็นความพยายามในการปฏิรูป ความขัดแย้งกับมหาอำนาจต่างประเทศ
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ซูสีไทเฮา (Dowager Cixi, Empress) :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา