Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvestWay
•
ติดตาม
26 ก.ค. 2023 เวลา 23:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การ "ขาดดุล" ของการคลัง อาจจะสามารถทำให้เกิด "เงินเฟ้อ" ได้
อัตราเงินเฟ้อและการขาดดุลของรัฐบาล การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน
อัตราเงินเฟ้อและการขาดดุลของการคลังเป็น "แนวคิดทางเศรษฐกิจ" ที่สำคัญสองประการ ที่มักจะดึงดูดความสนใจของผู้กำหนดนโยบาย นักเศรษฐศาสตร์ และประชาชนทั่วไป
เมื่อเวลาผ่านไป ทฤษฎีและการถกเถียงต่างๆ ได้เกิดขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทั้งสองนี้
บางคนโต้แย้งว่าการขาดดุลของกระทรวงการคลัง เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของอัตราเงินเฟ้อ
ในขณะที่บางคนอาจจะโต้แย้งว่าความสัมพันธ์อื่น นั้นเหมาะสมที่จะอธิบายเงินเฟ้อมากกว่า
วันนี้จะพาเพื่อนๆ มาสำรวจความซับซ้อนของการขาดดุล ของกระทรวงการคลังที่มี "อิทธิพล" ต่ออัตราเงินเฟ้อและชี้ให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
●
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงินเฟ้อ
โดยทั่วไปแล้วอัตราเงินเฟ้อ หมายถึง การ "เพิ่มขึ้น" อย่างต่อเนื่องของระดับราคาทั่วไปของสินค้า และบริการภายในระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่ง
มัน "กัดกร่อน" อำนาจซื้อของเงินทำให้สินค้าและบริการแพงขึ้น
ธนาคารกลางและรัฐบาล มักมุ่งรักษาอัตราเงินเฟ้อให้คงที่ เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพด้านราคา
●
ปัจจัยที่เอื้อต่ออัตราเงินเฟ้อ
ก่อนที่จะสำรวจความสัมพันธ์ ของการขาดดุลของรัฐบาลกันเงินเฟ้อ สิ่งสำคัญคือ ต้อง "เข้าใจ" ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อก่อน
- อัตราเงินเฟ้อจากอุปสงค์ที่มากเกินไป
เกิดขึ้นเมื่ออุปสงค์รวมแซงหน้าอุปทานรวม ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคแข่งขันกัน เพื่อซื้อสินค้าและบริการที่มีจำกัด
- อัตราเงินเฟ้อที่ผลักดันต้นทุน
เกิดขึ้นเมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างหรือราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาเพื่อรักษาอัตรากำไร
- ปัจจัยทางการเงิน
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน อาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้มีเงินมากขึ้นในการไล่ตามสินค้าจำนวนเท่าเดิม ทำให้ราคาสูงขึ้น
- กฎพื้นฐานอย่างอุปสงค์และอุปทาน
หากสิ่งหนึ่งมีปริมาณมากเกินกว่า ความต้องการที่แท้จริงของมัน มูลค่าของสิ่งนั้นก็จะลดลง
●
บทบาทของการขาดดุลการคลังของรัฐบาล ที่อาจจะส่งผลกับเงินเฟ้อ
การขาดดุลการคลังของรัฐบาลเกิดขึ้น เมื่อรัฐบาล "ใช้จ่ายมากกว่าที่จะเก็บเป็นรายได้"
อธิบายง่ายๆ คือ รัฐบาลหารายได้ไม่ทันการใช้จ่ายของตนนั่นเอง
รัฐบาลเลยมักจะกู้ยืมเงิน โดยการออกตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล
นักเศรษฐศาสตร์บางคนโต้แย้งว่ากระบวนการออกตราสารหนี้ อาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ ภายใต้สถานการณ์เฉพาะเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น
- การใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นมากเกินไป
เมื่อรัฐบาลขาดดุลและเพิ่มการใช้จ่ายในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โครงการเพื่อสังคม หรือนโยบายสาธารณะอื่น ๆ จะสามารถนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อได้
กล่าวคือ พอพวกเขาใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่หาได้ พวกเขามักจะใช้วิธี "ยืมเงินในอนาคต" อย่างการออกพันธบัตรรัฐบาลมาขายนักลงทุน และนำเงินไปใช้จ่าย
เมื่อเลือกใช้วิธีนี้ หากพวกเขาไม่สามารถนำเงินที่ได้ มาสร้างผลผลิตที่ก่อให้เกิดรายได้เข้าการคลัง สิ่งนี้จะก่อให้เกิดเงินเฟ้อ
เพราะมันเหมือนกับว่า เป็นการเพิ่มอุปทานหรือปริมาณของเงินขึ้นมาในระบบเปล่าๆ โดยไม่ก่อเกิดรายได้ เงินจึง "ด้อยค่า" ลงนั่นเอง
ยกตัวอย่างเหตุการณ์บางส่วน
การทำ QE ปริมาณ "มหาศาล" ของสหรัฐฯ ในช่วงโรคระบาดปี 2020 การกระทำนี้ทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ทุกข์ยาก และเศรษฐกิจที่เสียหายจากการหยุดชะงัก
1
แม้สิ่งนี้จะเป็นเรื่องที่ดีและช่วยให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจ กลับมาฟิ้นตัวอีกครั้ง
แต่ปริมาณเงินที่ใช้จ่ายไปนี้ ส่วนใหญ่ทำเพื่อ "ช่วยเหลือ" ไม่ได้สร้างผลผลิตที่ก่อให้เกิด "รายได้อย่างแท้จริง" มากพอเมื่อเทียบกับหนี้ที่ก่อขึ้น
มันจึงทำให้หนี้ต่อ GDP และการขาดดุลของการคลังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่นำไปสู่เงินเฟ้อจน Fed ต้องทำการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อปราบปรามเงินเฟ้อ
นอกเหนือจากนี้ ปริมาณเงินจากการทำ QE ยังไหลเข้าสู่ระบบธนาคารของสหรัฐฯ
ทำให้สภาพคล่องของพวกเขาสูงขึ้น จนทำให้เกิดการแข่งขันกัน "ยื่นข้อเสนอเงินกู้" ให้กับผู้กู้
แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ เงินที่ปล่อยกู้ไปจากเงื่อนไขที่ค่อนข้างเสี่ยงนั้น หลายส่วนเป็น "หนี้เสีย" จนกลายเป็นปัญหาหนี้ของธนาคารในบางแห่ง
ทำให้ธนาคารเหล่านั้นได้รับ "แรงกดดันอย่างหนัก" เมื่อ Fed ทำการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
ซึ่งเป็นอีกสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้หลายธนาคารล้มละลายหรือเสี่ยงต่อการล้มละลาย
นำไปสู่มาตรการช่วยเหลือจากหลายหน่วยงาน รวมถึงกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งก็เป็นการทำให้การคลังของสหรัฐฯ ขาดดุลเพิ่มขึ้นไปอีก
เท่านั้นยังไม่พอการที่ Fed ทำการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ก็ส่งผลทำให้หนี้ของการคลังที่ต้องจ่าย "เพิ่มขึ้น" ด้วยเช่นกัน
และการทำ QE ยังเป็นการผลักดันราคาสินค้าและบริการ เพราะความต้องการและอำนาจการใช้จ่ายของประชาชนที่สูงขึ้น จากการช่วยเหลือของรัฐบาล
1
ซึ่งก็สามารถส่งผลให้เงินเฟ้อได้เช่นกัน จากราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น
- นโยบายการเงินที่ทำในบางกรณี
รัฐบาลอาจขาดดุลการคลังโดยการ "กู้ยืมเงิน" จาก "ธนาคารกลาง" ของตน
กระบวนการนี้เรียกว่า "การสร้างรายได้จากหนี้"
1
มันเป็นวิธีเพิ่มปริมาณเงินอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อได้เหมือนกัน
หากไม่ได้มีการจ่ายหนี้ที่กู้ยืมมาให้กับธนาคารกลาง หรือมีการจัดการอย่างระมัดระวัง
ซึ่งข้อนี้จะเหมือนกับข้อแรก แค่วิธีสร้างเงินแตกต่างกัน
สถานการณ์ต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นเหล่านี้ เป็นสถานการณ์ที่ทำให้เป็นการยากที่กระทรวงการคลังจะหารายได้เพิ่ม และนำมาใช้หนี้ที่ก่อขึ้น
ซึ่งก็จะนำไปสู่วิธีการหาเงินมาใช้จ่ายแบบเดิมๆ ก็คือ การออกพันธบัตร ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระหนี้มากขึ้น และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง
1
ถ้ายังคงสร้างเงินในระบบขึ้นมาแล้ว ไม่สามารถสร้างผลผลิตที่ก่อเกิดรายได้อย่างแท้จริง
วงจรการขาดดุลการคลังก็จะกลับมาซ้ำๆ และมันจะกลายเป็นเงินเฟ้อหรือฐานของเงินเฟ้อในอนาคตต่อไป
1
จากการเพิ่มปริมาณเงินแล้ว ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่มากพอเมื่อเทียบกับหนี้ และหนี้ต่อ GDP ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยสรุปแล้ว อธิบายง่ายๆ คือ พอกระทรวงการคลังใช้จ่ายมากเกินไปจนเกิดการขาดดุล และถ้าไม่สามารถหารายได้เพิ่มได้
พวกเขาก็มักจะ "กู้ยืมเงิน" โดยวิธีที่มักใช้กันคือ การออกพันธบัตรมาขายนักลงทุน และหากเงินที่ได้มาไม่สามารถก่อเกิดให้เกิดรายได้ที่แท้จริงได้อีก
พวกเขาก็จะใช้วิธีเดิมๆ อย่างการออกพันธบัตรมาขายแล้วนำเงินมาใช้จ่าย
ซึ่งมันจะเพิ่มทั้งเงินในระบบเศรษฐกิจจากนโยบายของรัฐบาล และเพิ่มการขาดดุลการทางคลังด้วย ทำให้หนี้ต่อ GDP สูงขึ้น
สุดท้ายวงจรนี้ก็จะกลายเป็น "ฐานของเงินเฟ้อ" หรือ "เงินเฟ้อ" นั่นเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างการขาดดุลของรัฐบาลกับอัตราเงินเฟ้อนั้นซับซ้อนและมีหลายแง่มุม
แม้ว่าการขาดดุลการคลังของรัฐบาล อาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อภายใต้สถานการณ์เฉพาะ แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเท่านั้น
ตัวอย่างที่ยกมาก็เป็นเพียง "บางส่วน" เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการขาดดุลการคลังกับอัตราเงินเฟ้อเท่านั้น
และความสัมพันธ์นี้ยังแตกต่างกันไป จากปัจจัยเฉพาะของแต่ละประเทศอีกด้วย
เพื่อนๆ หรือนักลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียด ได้ด้วยตัวเอง
References:
https://fred.stlouisfed.org/series/FYFSD
https://www.lemonde.fr/en/united-states/article/2023/03/17/the-us-federal-reserve-lends-12-billion-to-us-banks_6019670_133.html
https://edition.cnn.com/2023/03/12/investing/stocks-week-ahead/index.html
https://www.fdic.gov/
https://www.federalreserve.gov/
https://www.bea.gov/
เศรษฐกิจ
ข่าวรอบโลก
การเงิน
4 บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
INVESTING NEWS AND ECONOMY SERIES by InvestWay
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย