27 ก.ค. 2023 เวลา 00:30 • ประวัติศาสตร์

Richard Feynman กับ Manhattan Project: ตอนที่สอง เจ้าสาวที่เจ้าบ่าวไม่อาจจุมพิต

หลังจากที่จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดฐานทัพที่เกาะ Pearl Harbor ของสหรัฐอเมริกา ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม 1941 จนเครื่องบินมากกว่า 180 ลำได้รับความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,400 คนเป็นเครื่องหมายการประกาศทำสงครามกับสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ทำให้สหรัฐอเมริกาที่ในเวลานั้นไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง ตัดสินใจเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรในวันถัดมา
ก่อนหน้านั้น การค้นพบนิวเคลียร์ฟิชชั่นในเยอรมันในปี 1938 ประกอบกับในปี 1939 Albert Einstein และ Leo Szilard ได้ลงนามในจดหมายแจ้งให้รัฐบาลเห็นถึงภัยอันตรายจากระเบิดนิวเคลียร์ หากเยอรมนีสามารถสร้างระเบิดได้ก่อน ทำให้ประธานาธิบดี Frank D Roosevelt สั่งให้ทำการศึกษา และเริ่มกักตุนแร่ยูเรเนียมในปี 1940
การโจมตีนี้เองเป็นเหมือนขนวนระเบิดที่ทำให้การดำเนินโครงการ Manhattan ได้เวลาเอาจริง ในเวลานั้น มีการศึกษาวิธีการนำแร่กัมมันตภาพรังสีไปใช้งานให้ได้ในหลายมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกาตามแต่ที่แต่ละมหาวิทยาลัยถนัด หลังการทิ้งระเบิด ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาทบทวนว่า การทำแบบนี้น่าจะได้ผลลัพธ์ไม่ทันการแน่ จึงเริ่มที่จะจัดงบประมาณมหาศาล และทำทุกวิถีทางเพื่อให้ทำระเบิดได้สำเร็จ
ในเวลาเดียวกันนั้นเอง Richard Feynman ที่เพิ่งรู้ว่าได้ไม่นานถึงอาการป่วยของแฟนสาวของเขา ก็ได้ถูก Robert R. Wilson ชวนเข้าร่วมโครงการ Manhattan Project โดยช่วยค้นหาวิธีแยก isotope ของ Uranium โดยการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งในตอนแรกเขาก็ไม่ได้สนใจมากนัก แต่เขาก็ร่วมโครงการในที่สุดในระหว่างที่พยายามเรียนให้จบ เพื่อที่จะได้แต่งงานกับ Arline
ในวันหนึ่ง เขาได้เขียนจดหมายถึงเธอว่า
I guess maybe it is like rolling off of a log — my heart is filled again & I’m choked with emotions — and love is so good & powerful — it’s worth preserving — I know nothing can separate us — we’ve stood the tests of time and our love is as glorious now as the day it was born — dearest riches have never made people great but love does it every day — we’re not little people — we’re giants … I know we both have a future ahead of us — with a world of happiness — now & forever.
ในวันที่ 29 มิถุนายน 1942 สองอาทิตย์หลังจากที่เขาเรียนจบ ทั้งสองก็ได้แต่งงานกันในที่สุดโดยไม่มีปัญหาจากเงื่อนไขของมหาวิทยาลัยอีกต่อไป งานแต่งงานถูกจัดขึ้นในศาลากลางใน Staten Island โดยไม่มีแขกเหรื่อใด ๆ แม้กระทั่งญาติ แถมเขายังไม่สามารถจุมพิตเธอที่ปากได้เหมือนคู่บ่าวสาวทั่วไป เพราะอาจจะติดวัณโรคจากเธอได้ ได้เพียงแต่จูบเธอที่แก้มเท่านั้น
หลังจากแต่งงาน เขาได้พาเธอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล Deborah ใน New Jersey ทันที และไปเยี่ยมเธอทุกสุดสัปดาห์
แล้วในปี 1943 หลังจากที่ Oppenheimer ได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าทีม Manhattan Project เขาก็เริ่มที่จะรวบรวมนักวิทยาศาสตร์ทั่วสหรัฐอเมริกาให้มาทำงานที่เดียวกันที่ Los Alamos Laboratory ในรัฐ New Mexico และหนึ่งในคนที่เขาหมายตาไว้ก็คือ Richard Feynman แต่เขารู้ว่า ปัญหาก็คือ ภรรยาที่ป่วยอยู่นั่นเอง และคงจะไม่ย้ายไปทำงานที่ Los Alamos โดยไม่มีเธอแน่ ๆ
วันหนึ่งในฤดูหนาวในปี 1943 Oppenheimer จึงได้โทรหา Richard Feynman และบอกว่า เขาสามารถหาที่พักฟื้นสำหรับผู้ป่วยโรควัณโรคให้กับเขาได้ในเมือง Albuquerque ซึ่ง Richard Feynman ก็รู้สึกซาบซึ้ง และยอมตกลงที่จะย้ายไปทำงานที่ Los Alamos ทั้ง ๆ ที่การย้ายเธอที่สุขภาพอ่อนแอมาก ๆ ไปที่ New Mexico ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
รออ่านต่อตอนสามครับ ขอไปทำงานก่อนครับ ไม่งั้นเดี๋ยวจะไม่ได้นอน
อ่านตอนแรกได้ที่ :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา