28 ก.ค. 2023 เวลา 02:00 • สุขภาพ

เลแคนีแมบ ยาความหวังสำหรับโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น

การศึกษาวิจัยใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลก New England Journal of Medicine เมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า
ยา “เลแคนีแมบ” (Lecanemab) ซึ่งเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoconal antibody) ที่มุ่งเป้าไปที่สารอมัยลอยด์ (amyloid-beta: สารชนิดนี้เกิดจากการพับตัวของแผ่นโปรตีนอย่างผิดปกติและสะสมในเนื้อสมอง เป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์) ในสมอง สามารถช่วยชะลอการการเสื่อมของสมองในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้(Alzheimer’s disease โรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการสะสมของสารอมัยลอยด์ในเนื้อสมอง มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ)
ยาเลแคนีแมบถือเป็นยาตัวแรก ๆ บนโลก ที่สามารถใช้รักษาโรคนี้ได้ โดยที่ก่อนหน้าแทบไม่มียาตัวไหนทำได้ดีเช่นนี้มาก่อน
การศึกษาวิจัยนี้ มีผู้เข้าร่วมวิจัย 1,795 คนซึ่งมีอาการของโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น อายุ 50-70 ปี ได้รับการจัดสรรแบบสุ่มให้รับยาเลแคนีแมบ หรือ ยาหลอก โดยให้ยาทุกสองสัปดาห์เป็นเวลา 18 เดือน
ผลการศึกษาพบว่า เลแคนีแมบ สามารถชะลอการเสื่อมของสมองได้ดีกว่ายาหลอก นอกจากนี้ยาเลแคนีแมบยังสามารถลดการสะสมของสารอมัยลอยด์ในเนื้อสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ยาเลแคนีแมบ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น การแพ้ยา หรือความผิดปกติจากภาพรังสีของสมอง เช่น มีภาวะเลือดออกเล็ก ๆ ในเนื้อสมอง แต่ไม่รุนแรง
ในอนาคตอันใกล้นี้ ยาเลแคนีแมบ อาจเป็นการรักษาใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมและติดตามผู้ป่วยไปในระยะยาวต่อไป
อ้างอิง
van Dyck CH, Swanson CJ, Aisen P, Bateman RJ, Chen C, Gee M, Kanekiyo M, Li D, Reyderman L, Cohen S, Froelich L, Katayama S, Sabbagh M, Vellas B, Watson D, Dhadda S, Irizarry M, Kramer LD, Iwatsubo T. Lecanemab in Early Alzheimer's Disease. N Engl J Med. 2023 Jan 5;388(1):9-21. doi: 10.1056/NEJMoa2212948. Epub 2022 Nov 29. PMID: 36449413.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา