18 ส.ค. 2023 เวลา 02:00 • สุขภาพ

รู้ได้ไงว่าเหนื่อยกาย ไม่ใช่เหนื่อยใจ

เคยรู้สึกเหนือยกันบ้างไหม หลาย ๆ คนคงบอกว่าอาการนี้เป็นบ่อยมากจริง ๆ บ่อยเสียจนกังวลว่านี่ถึงกับต้องไปหาหมอเลยไหม
มาถึงตรงนี้ขอขยายความคำว่า “เหนื่อย” ในทางการแพทย์ ภาษาอังกฤษคือ dyspnea มาจากคำว่า dys- ซึ่งแปลว่า ผิดปกติ และ -pnea แปลว่า หายใจ รวมกัน จึงหมายถึง หายใจผิดปกติ หายใจลำบากต้องใช้แรงมากขึ้น
คำว่าเหนื่อยหรือ dyspnea อาจเกิดขึ้นได้ตามปกติ กรณีที่เราต้องออกแรงอย่างหนัก เช่น วิ่ง ยกของหนัก เดินขึ้นบันได แต่ในกรณีที่ผิดปกติ หรืออาจมีโรคอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ เราจะมีอาการเหนื่อยแม้ว่าออกแรงไม่มาก หรือเป็นในขณะพักอยู่ หรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ไม่นานต้องหยุดพักให้หายเหนื่อย รู้สึกหายใจลำบากมากขึ้น ต้องใช้แรงในการหายใจมากกว่าปกติ แม้กิจกรรมจะไม่หนักก็ตาม
บางคนจะใช้คำว่าเหนื่อย แทนคำว่า อ่อนเพลีย ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร เศร้า เครียด ซึ่งถ้าเป็นคำเหล่านี้ จริง ๆ แล้วมิใช่เหนื่อยทางการแพทย์เลย เคยเจอคนไข้มาบอกว่าเหนื่อย แต่เมื่อถามก็บอกว่า ยังเดินปร๋อ ขึ้นลงบันไดรถไฟฟ้าได้ ที่บอกว่าเหนื่อยเพราะเครียดกับงาน นอนพักผ่อนไม่พอ เหล่านี้มิใช่เหนื่อยกายแต่เป็นเหนื่อยใจ
อาการเหนื่อย (dyspnea) มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากโรคหรือภาวะผิดปกติจาก 3 กลุ่มโรคดังนี้
1. โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) นอกจากจะเหนื่อยเวลาออกแรงหรือขณะพักแล้ว อาจมีการนอนราบไม่ได้ ต้องนอนหัวสูง บางคนต้องนั่งหลับ มีอาการขาบวม
2. โรคปอด ตัวอย่างโรคในกลุ่มนี้ เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ปอดบวมติดเชื้อ น้ำในเยื่อหุ้มปอด หลอดเลือดแดงปอดอุดตัน เป็นต้น
3. โรคอื่น ๆ เกี่ยวกับเมตาโบลิสซึม เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะซีด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
ถ้าใครรู้สึกเหนื่อย ลองถามตัวเองว่า เราเหนื่อยง่ายเวลาต้องออกแรง ต้องหยุดพักเร็วขึ้นกว่าปกติไหม ทำอะไรหนัก ๆ ไม่ได้เหมือนเดิม รู้สึกหายใจลำบากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้ คุณน่าจะเหนื่อย (กาย) จริง ๆ ให้มาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุข้างต้นโดยเร็วครับ
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา